“สับปะรดห้วยมุ่น” ของดีจากตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ดินแดนแห่งผลไม้รสดีหลายชนิด ซึ่งสภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขาและเป็นดินทรายเหมาะกับการปลูกสับปะรด สับปะรดห้วยมุ่นจึงมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด และมีชื่อเสียงไม่แพ้สับปะรดภูเก็ตและสับปะรดภูแล แต่ละวันจะมีพ่อค้าจากทั่วประเทศไปรับซื้อถึงไร่ เพื่อส่งขายตามตลาด และส่งโรงงานแปรรูป
สับปะรดห้วยมุ่น คือ สับปะรดพันธ์ปัตตาเวียที่ถูกนำเข้าไปปลูกในตำบลห้วยมุ่นประมาณ 50 ปีมาแล้ว(บ้างก็ว่า 100 ปีแล้ว) จนกลายเป็นพันธุ์ท้องถิ่น และมีคุณลักษณะแตกต่างไปจากพันธุ์ดั้งเดิมโดยเฉพาะ รสชาติหวานอร่อย เนื้อหนานิ่ม ตาตื้น เนื้อมีสีเหลืองอมน้ำผึ้ง รสชาติหวานฉ่ำ ตาไม่ลึกทำให้มีส่วนของเนื้อมาก ผลค่อนข้างเล็ก รับประทานแล้วไม่ระคายคอ เพียงปอกเปลือกบางๆ ก็หมดตาแล้ว และสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้านั้น คือเนื้อสับปะรดสีเหลืองฉ่ำ ได้ชิมสักครั้ง จะต้องยอมยกให้ “สับปะรดห้วยมุ่น” เป็นสุดยอดสับปะรดในดวงใจอย่างแน่นอน
ในบรรดาผลไม้ทั้งหลาย จะมีผลไม้ที่มีรูปลักษณ์ภายนอกแปลก สวย ศิลป์ และมีชื่อสื่อ ความหมาย อย่างเช่น สับปะรด สักกี่อย่าง ศิลปะการวางลวดลายผิวรายรอบผล คือ ตาผล จะรับประทาน ต้องปอกปาดทิ้ง มีจุกหรือตะเกียงคล้ายมงกุฎจักรพรรดิดูเข้มขลังน่าเกรงขาม ขนาดผลเล็กใหญ่ตามสายพันธุ์ มีปลูกอยู่ทั่วทุกภาค คนรู้จักกันทั่วทุกทิศ เป็นผลไม้ประจำโรงแรมทั่วประเทศ สับปะรดห้วยมุ่น มีปลูกกันมากที่ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด และแพร่ขยายไปตำบลอื่น อำเภออื่น ๆ เฉพาะที่ตำบลห้วยมุ่น มีพื้นที่ปลูก 13,000 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 8,000 กิโลกรัม/ไร่ มีเกษตรกร ปลูก 550 ครัวเรือน และมีกระจายไปตำบลอื่น ๆ และอำเภออื่น เช่น อำเภอบ้านโคกแถบตำบลนาขุมและ ตำบลบ้านโคก มีพื้นที่ปลูก 118 ไร่ ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิต ช่วงในฤดูเดือนพฤศจิกายน – มกราคม และกลางเดือนเมษายน กรกฎาคม ราคาจะถูกเพราะมีผลผลิตมาก ช่วงนอกฤดู เดือน กุมภาพันธ์ เมษายน ราคาจะแพงผลผลิตมีน้อย การปลูกสับปะรดของเกษตรกรจะปล่อยให้เกิดผลตามธรรมชาติไม่ใช้สารเร่ง เมื่อเริ่มผลผลิตจะใช้เศษวัชพืชหุ้มทำให้ผิวผลสวยมีรสชาตินุ่มนวล หวานฉ่ำ
เทคนิคการปลูกสับปะรดห้วยมุ่น
การเตรียมดิน
การ เลือกพื้นที่เพาะปลูกสัปปะรดนั้นต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายน้ำได้ดี พื้นที่จะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง การเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูกสัปปะรดมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
วิธีการปลูก
คัดหน่อ หรือจุกให้มีขนาดเท่ากัน
ต้องปลูกแถวคู่ ระยะห่างระหว่างต้น 20-30 ซม. ระหว่างแถว 50-60 ซม. ระหว่างแถวคู่ 80-90 ซม.
การใส่ปุ๋ย
การเร่งตา
หลังจากดอกสับปะรดเริ่มโรยลงให้ใช้ปุ๋ยทางใบ ขนาดของตากว้างประมาณ 18 เซนติเมตร จะประมาณการได้ว่าสับปะรดจะมีน้ำหนักประมาณลูกละ 1.5 กก.ขึ้นไป
วิธีห่อลูกสับปะรด
ใช้กระดาษหนังสือพิมห่อ
การให้ปุ๋ยหลังจากสับปะรดออกหัว
ระยะที่สับปะรดเป็นหัวห้ามใช้ปุ๋ยไนเตรทอื่นๆ เพราะจะทำให้มีสารตกค้างอันตรายต่อผู้บริโภคให้ใช้ปุ๋ยพ่นทางใบ เช่นปุ๋ยหวาน
การให้น้ำ
สับปะรดเป็นพืชที่ทนแล้ง แต่ก็ต้องการน้ำไปช่วยการเจริญเติบโตเป็นระยะ เกษตรกรสามารถวางแผนให้สับปะรดออกลูกได้ด้วยตนเอง (ไม่ต้องเสียเวลารอน้ำฝน) ช่วงที่สับปะรดต้องการน้ำอยู่ในช่วง
เริ่มปลูกใหม่
ระยะการให้น้ำ 10 วันต่อ 1 ครั้ง ช่วงออกลูก
ป้ายคำ : ผลไม้