สาหร่ายช่อพริกไทย (Caulopa macrophysa) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลที่ใกล้เคียงกับสาหร่ายพวงองุ่น แต่มีน้ำหนักเบากว่า เนื่องจากมีลักษณะของเม็ดที่เล็กกว่า คล้ายกับเม็ดพริกไทย จึงถูกเรียกว่า “สาหร่ายช่อพริกไทย” ซึ่งมีความน่าสนใจ และถือว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพน้องใหม่ ที่ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงาได้ทำการวิจัยเพราะเลี้ยง เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านได้นำไปเพาะเลี้ยงในธรรมชาติ เกิดเป็นอาชีพใหม่และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน อีกทั้งทางศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยังได้เตรียมผลักดันให้เมนูสาหร่ายช่อพริกไทยเป็นอาหารจานเด็ด ที่ถ้าใครมาเที่ยวจังหวัดพังงาแล้วต้องมาลิ้มรสกันให้
สาหร่ายช่อพริกไทยเป็นหนึ่งในสาหร่ายหลาย ๆ ชนิดที่นิยมนำมาบริโภคกันมาก เป็นสาหร่ายสีเขียวที่มีรูปร่างหลากหลายมาก แต่ที่จะกล่าวถึงคือแบบที่เป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ สีเขียว ขึ้นบนก้าน เหมือนช่อพริกไทยสด และมันก็มองดูคล้ายพวงองุ่นจิ๋วด้วยเช่นกัน จึงมีหลายคนเข้าใจว่าสาหร่ายช่อพริกไทย และสาหร่ายพวงองุ่นคืออย่างเดียวกัน อันที่จริงก็จัดอยู่ในตระกูลเดียวกัน แต่สาหร่ายช่อพริกไทย จะมีขนาดเล็กกว่าสาหร่ายพวงองุ่นเล็กน้อย ถ้าจะให้ตัดสินด้วยตาเปล่า ทำได้ยากจริง ๆ ค่ะ ซึ่งต่างประเทศจะรู้จักกันดีในนาม Sea Grape หรือ Green Caviarส่วนชาวญี่ปุ่นจะเรียกสาหร่ายชนิดนี้ว่า Umibudo ซึ่งแปลว่า องุ่นแห่งท้องทะเล
นอกจากนี้ยังมีสาหร่ายเม็ดพริก ที่ถึงแม้ชื่อจะคล้ายกัน แต่เม็ดเล็กกว่า และเนื้อจะบางกว่าสาหร่ายช่อพริกไท สาหร่ายช่อพริกไทยสามารถพบได้ตามบริเวณชายฝั่งเขตน้ำขึ้น น้ำลง หรือแอ่งน้ำขัง มักจะเกาะอยู่ตามเกาะหิน หรือปะการัง เป็นพืชที่ไม่สามารถทนน้ำที่มีความเค็มต่ำได้ จะมีมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม เพราะเมื่อเข้าฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนจะมีมาก และเจือจางในน้ำทะเล ทำให้สาหร่ายไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ ส่วนการขยายพันธุ์นั้น จะเกิดจากการแตกยอดจากกิ่งที่แตก
“สาหร่ายช่อพริกไทย” (Caulopa macrophysa) หรือ “สาหร่ายเม็ดพริกไทย” หรือ “Green Caviar” คือ สาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่ง มีลักษณะโดยทั่วไป ทัลลัสประกอบด้วยสโลอนที่คืบคลานไปตามพื้นและแตกแขนงได้ ส่วนของแขนงที่ตั้งตรงสูง 1-6 ซม. มักเกิดเดี่ยวๆ ไม่ค่อยแตกแขนง ประกอบด้วยรามูลัสเล็กๆลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1.5-2 มิลลิเมตร มีก้านสั้นๆ เรียงกันคล้ายช่อพริกไทย แต่ละรามูลัสมีรอยคอดระหว่างก้านและส่วนที่เป็นเมล็ดกลมสีเขียวใส ส่วนที่คล้ายลำต้นเกาะยึดคืบคลานบนพื้น
สามารถพบสาหร่ายช่อพริกไทยได้ตามบริเวณชายฝั่งในเขตน้ำขึ้น-ลง หรือแอ่งน้ำขัง เกาะกับก้อนหิน ปะการัง ไม่สามารถทนได้ในน้ำที่มีความเค็มต่ำ เจริญชุกชุมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ขยายพันธุ์ได้โดยการเจริญจากกิ่งที่แตกหัก
สุภาพ ไพรพนาพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา ได้เล่าถึงความเป็นมาในการวิจัยและเพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทย ว่าทางศูนย์ฯ ได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยนี้ควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาอยู่แล้ว จนกระทั่งเมื่อพบว่าสาหร่ายช่อพริกไทยนี้คนสามารถกินได้ และเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ จึงได้คิดหาวิธีคิดทำเป็นรูปแบบที่จะทำเป็นอาหาร และทางศูนย์ฯ ได้เริ่มเพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยมาตั้งแต่ปี 2540 โดยเอามาจากธรรมชาติที่อยู่ในทะเล พร้อมกับได้คิดค้นนำสาหร่ายช่อพริกไทยมาทำเป็นเมนูอาหารที่ชวนกินและเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก อย่างเช่น ส้มตำสาหร่าย
“ที่เราเพิ่มทำวิจัยและเพาะเลี้ยงก็เพราะว่า เราอยากจะทำอาหารให้คนกิน มีตัวเลือกสำหรับประชาชนมากขึ้น และเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ซึ่งการเพาะเลี้ยงสาหร่าย เราก็เลี้ยงร่วมกับปลา แล้วก็เริ่มมีการวิจัยเลี้ยงในตะกร้าบ้าง แต่ตอนนี้ก็มีการนำมาเลี้ยงเดี่ยวในตะกร้า ตอนแรกเราไปเอาสาหร่ายมาจากทะเลทางธรรมชาติและนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อ และตอนนี้ในบ่อเริ่มมีพอให้ได้แล้ว เราก็จะเลี้ยงเดี่ยวๆ ในตะกร้า แต่ว่าก็ยังแขวนอยู่ในบ่อเหมือนเดิม แทนที่จะปล่อยสะเปะสะปะ เรียกว่ามีการจัดการมากขึ้น” สุภาพ บอกและยังได้อธิบายการเพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยให้รู้ว่า
การเพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทย เราทำอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน
ตอนนี้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา ได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยได้แล้ว และมีการทดลองใส่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่ทำมาจากปุ๋ยอินทรีย์ เป็นการย่อยจากสาหร่ายตัวอื่นที่กินไม่อร่อยก็นำมาทำเป็นปุ๋ย แล้วก็นำปุ๋ยนี้หยอดลงไปในน้ำเลี้ยง แล้วก็การเลี้ยงกับปลาสวยงาม ซึ่งขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้มีการจัดฝึกอบรมให้กับเกษตรจำนวน 40 ราย เพื่อนำไปขยายการเลี้ยงเพาะในทะเล เพื่อให้ชาวบ้านได้เพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สามารถจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากการเลี้ยงปลาเดี่ยวๆ อย่างเดียว ก็ให้หันมาเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยควบคู่ไปด้วย
“ในการเพาะเลี้ยงสาหร่าย ถ้ามีสาหร่ายมากพอ ระยะเวลาในการเลี้ยงเพียงแค่ 1 เดือน ก็จะได้ปริมาณ 1 เท่าตัว อย่างถ้าใส่ไปในตระกร้า 1 ใบ จำนวน 1 กิโลกรัม 1 เดือนก็จะได้ 2 กิโลกรัม เราก็เก็บเกี่ยว 1 กิโลกรัมไปจำหน่าย และตอนนี้ก็กำลังขยายการเพาะเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทย ไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรีก็มีการเพาะเลี้ยงกันมาก โดยเลี้ยงในบ่อดิน”
“เรายังมีสาหร่ายอีกตระกูลที่ใกล้เคียงกับสาหร่ายช่อพริกไทย คือ สาหร่ายพวงองุ่น ซึ่งเม็ดจะใหญ่ขึ้นมานิดหนึ่ง เราได้เอาสาหร่ายพวกองุ่นมาทดลองวิจัยดู การตอบรับของผู้บริโภคก็ดีเหมือนกัน สาหร่ายพวงองุ่นน้ำหนักจะได้เยอะกว่าสาหร่ายช่อพริกไทย เกษตรกรก็ควรจะดูตัวนี้ด้วยเหมือนกัน คิดว่าภายในอีก 1 ปีถ้าสาหร่ายพวกองุ่นได้รับการตอบรับดี เราก็จะได้ส่งเสริมชาวบ้านให้เพาะเลี้ยงต่อไป เพราะว่าจะได้น้ำหนักที่ดีกว่าสาหร่ายช่อพริกไทย” สุภาพ อธิบาย
การได้ลิ้มรสเมนูสาหร่ายช่อพริกไทย นอกจากจะได้ความอร่อยแล้วยังกินดีต่อสุขภาพด้วย เพราะสาหร่ายช่อพริกไทยมี คุณค่าทางอาหารมากมาย เพราะมีสารอาหาร เช่น วิตามินเอ, บี, ซี, อี, และเค ที่ร่างกายดูดซับได้ง่าย สามารถช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และรักษาความชุ่มชื้นของเซลล์ผิว บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม ทั้งยังมีงานวิจัยอีกหลายสถาบันที่เชื่อว่าสาหร่ายให้ผลเป็นยาในการต่อต้าน และยับยั้งเซลล์ผิดปกติ หรือมะเร็ง อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ และกากใยสูงป้องกันท้องผูกและริดสีดวงทวาร เหมาะสำหรับผู้ต้องการลดความอ้วน และเป็นแหล่งแคลเซี่ยมที่สำคัญ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย
คุณประโยชน์ของสาหร่ายช่อพริกไทยยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะในสาหร่ายยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ คือ มีแมกนีเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อ และประสาททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีแคลเซียมบำรุงกระดูก มีโปแตสเซียม ช่วยควบคุมการทำงานของเซลล์และความสมดุลของน้ำในร่างกาย มีสังกะสีช่วยเสริมระบบคุ้มกัน มีไอโอดีนป้องกันและรักษาโรคคอพอก และมีเบ้ต้าแคโรทีน ต้านอนุมูลอิสระและมะเร็ง แล้วก็ยังมีกรดอมิโนที่จำเป็นหลายชนิดที่ไม่พบในพืชบก ถึงแม้จะมีรสเค็มแต่ปริมาณเกลือต่ำ ปริมาณไขมันต่ำ ให้พลังงานน้อยแต่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์ต่อสุขภาพเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจ
ที่มา
http://www.fisheries.go.th/
http://www.manager.co.th/
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน