ส้มแขก( Garcenia Cambogia) เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ที่นิยมใช้ในการประกอบอาหารมาเป็นเวลานานแล้ว ลักษณะของผลส้มแขก จะคล้ายฟักทองขนาดเล็ก มีมากทางภาคใต้ กิน lipo twin ซึ่งมีการนำมาปรุงเป็นอาหารโดย ใช้เพิ่มรสเปรี้ยวให้อาหาร ได้มีการค้นคว้าพบว่า ผลส้มแขก มีสาร HCA หรือ Hydroxy-citric acid อยู่เป็นจำนวนมาก โดยพบว่า HCA นี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกินในร่างกาย และลดความอยากอาหารได้ จึงได้มีบางคนนำผลส้มแขกมาใช้ในการควบคุมน้ำหนัก
ส้มแขกเป็นพืชในสกุลเดียวกับมังคุด มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ในประเทศไทยมีปลูกมากทางภาคใต้ ผลมีรสเปรี้ยวใช้ปรุงอาหาร และมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (hydroxy citric acid) ซึ่งมีสรรพคุณช่วยในการลดน้ำหนักได้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia atroviridis
ชื่อสามัญ : Garcinia
ชื่ออื่นคือ ส้มควาย ส้มมะวน ชะมวงช้าง
วงศ์ Guttiferae
ส้มแขกที่พบในเมืองไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าGarcinia atroviritis Griff ซึ่งพบได้ทางภาคใต้ของไทย ใช้ใส่แกงส้มแทนส้มมะนาวหรือส้มอื่นๆ ต้มเนื้อ ต้มปลา ใส่ในน้ำแกง ขนมจีน เพื่อให้ออกรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ส้มแขกสามารถใช้แทนส้มทุกชนิดที่ต้องการให้อาหารมีรสเปรี้ยว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สมุนไพรจากส้มแขก
มีสารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย คือ Garcinia หรือ HCA ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการยับยั้งการสร้างและร่างกายเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ยับยั้งการอยากอาหาร และช่วยลด Cholesterol ทำให้รูปร่างสมส่วน มีทรวดทรงสวยงาม
สรรพคุณของส้มแขก ในตำรายาแผนโบราณ ใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน ส่วนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยานั้นมีการวิจัยว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา และฤทธิ์ลดน้ำหนักร่างกายเป็นต้น ซึ่งในฤทธิ์ลดน้ำหนักนั้นมีงานวิจัยจากโรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ฉบับ รายงานว่าสาร hydroxy citric acid (HCA) ที่อยู่ในผลส้มแขก และปรับให้อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุซอง 1.65 กรัม โดยมี HCA อยู่ 70% หรือประมาณ 1.15 กรัม โดยศึกษาในสตรีที่มี BMI (ดัชนีมวลกาย) > 25 กก./ม2 จำนวน 42 คน โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ซอง ผสมกับน้ำก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง นาน 2 เดือน พบว่าการสะสมของไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง 4.9% น้ำหนักไขมันที่หายไป 16.2% น้ำหนักร่างกายลดลง 3.9% ดัชนีมวลกายลดลง 3.27% และเมื่อสิ้นสุดการทดลองผลของค่าชีวเคมีในเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าไม่ทำให้เกิดพิษ หากรับประทานในขนาดที่กำหนด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการศึกษารายงานด้านความเป็นพิษของส้มแขก ซึ่งข้อมูลงานวิจัยของส้มแขกยังมีไม่มากหนัก ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกถึงขนาด และวิธีการรับประทานที่ถูกต้องได้
กลไกการออกฤทธิ์ของ HCA จะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ ATP Citrate Lyase ในวงจร Kreb’s cycle (วงจรการย่อยสลายกลูโคส ของเซลร่างกาย) ทำให้ยับยั้งการนำน้ำตาล จากอาหารประเภท แป้ง ข้าว และน้ำตาล ไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกายแต่จะนำไปใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นไม่อ่อนเพลีย และ เมื่อในกระแสเลือดไม่ขาดน้ำตาล ก็จะทำให้ความรู้สึกหิวอาหารลดลง ไปด้วย ขณะเดียวกัน ก็ จะนำไปสะสมเป็นพลังงานสำรองในรูปของไกลโคเจนที่ตับ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่ามีพลังงานสำรองเพียงพอ ทำให้ไม่รู้สึกหิวมาก นอกจากนี้ ยังมีผลไปกระตุ้น ให้มีการดึงเอาไขมันที่สะสมออกมาใช้เป็นพลังงานทำให้ไขมันที่สะสมอยู่ลดลงซึ่งจะมีผล ทำให้รูปร่างดีขึ้น
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด /หน่อ/ติดตา/ต่อยอด
การปลูก
เตรียมพื้นที่ปลูก : เนื่องจากส้มแขกเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ระยะปลูกที่แนะนำ คือ 8 X 8 เมตร หรือ 10 X 10 เมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ
20 25 ต้นต่อไร่ ก่อนปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก หลังจากปลูกนาน 1 เดือน ให้ปลูกซ่อมต้นที่ตายทันที
วิธีปลูก : มีจุดเน้นที่สำคัญ คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก
การแปรรูปส้มแขก
สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่
ป้ายคำ : สมุนไพร