วัชพืชตระกูลเดี่ยว มีระบบรากแก้ว ต้นเป็นเหลี่ยมหรือเป็นร่องมีขนาดเล็ก มักเลื้อยแผ่ไปตามพื้น แต่ไม่แตกรากตามข้อ สูงประมาณ 10 – 30 ซม. ลำต้นมีสีเขียวหรือสีม่วงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบตรงกันข้ามเป็นคู่ ใบมีรูปร่างป้อม รูปไข่ ขอบใบหยัก ฐานใบมน ก้านใบสั้นมีขนเล็กน้อย
ลินเดอเนีย ครัสตาซี (Lindernia crustacea (L.) F.Muell.var.crustacea)
ชื่ออื่น ตะขาบไต่ดิน นราธิวาสเรียกว่าหญ้ามันลิง หรือเรียกหญ้าหยาดน้ำค้าง
ลักษณะ
ไม้ล้มลุกหลายปี มีหัวใต้ดิน หัวทรงกลม ลำต้นแตกกิ่งมาก มักแตกกิ่งจากโคนต้น หรือไม่แตกกิ่ง ความสูง 10-60 เซนติเมตร แผ่นใบรูปทรงยาว-รูปใบหอก กว้าง 3-10 มิลลิเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบด้านล่างเกลี้ยง หรือมีขนนุ่มปกคลุม
ผักพื้นบ้าน เรียกว่า หญ้ากาบหอยตัวเมีย สรรพคุณเด่นของหญ้ากาบหอยตัวเมียคือ ฆ่าเชื้อโรค ลดไข้ ทางภาคอีสานใช้รักษากามโรค หมอพื้นบ้านทางภาคอีสานใช้แก้กลากเกลื้อน ต้มอาบ ฆ่าแบคทีเรีย ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ ดังนั้นหากจะพัฒนาต่อยอดควรเน้นเรื่องการต่อยอดให้เป็นยากลุ่มปฏิชีวนะ รักษาแผลติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรามากกว่า
นักวิชาการกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและเครือข่าย หวั่นชาวบ้านหลงผิด เร่งสรุปผลการวิเคราะห์หญ้าสมุนไพรรักษาสารพัดโรค รู้ผลแล้วเตรียมแผนพัฒนาเป็นยาในอนาคต นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยเมื่อ เช้าวันนี้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของการพิสูจน์สมุนไพรรักษาสารพัดโรคว่า ตามที่ชาวกำแพงเพชรจำนวนมาก ฮือฮา! ยาผีบอก รักษาสารพัดโรค ระดมเก็บเต็มทุ่งนากำแพงเพชร เพื่อใช้รักษาตนเองและจำหน่าย โดยชาวบ้านเรียกว่าหญ้าหยาดน้ำค้าง นั้น เพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและป้องกันการหลงผิดของประชาชน ซึ่งหากปล่อยให้เข้าใจโดยไม่มีข้อพิสูจน์อาจเกิดปัญหาจากความไม่รู้ จากประเด็นดังกล่าวกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงประสานนักวิชาการของกรมและเครือข่าย ได้แก่ ศาสตราจารย์วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล ภาควิชา เภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร น.ส.กมลทิพย์ สุวรรณเดช นักพฤกษศาสตร์ สำนักการแพทย์พื้นบ้าน และคณะ จากการพิสูจน์สายพันธุ์ นักวิชาการทุกท่านมีความเห็นตรงกับว่าหญ้าหยาดน้ำค้างที่เป็นข่าวนั้น คือหญ้ากาบหอยตัวเมีย มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Lindernia crustacea (L.) F.Muell. var. crustacea พบในแถบทวีปแอฟฟริกา อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชียเขตร้อนและเขตอบอุ่น แถบประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า จีน ญี่ปุ่น อินโดจีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีวิจัยเชิงระบบนิเวศน์ พบเป็นพืชทนเค็มทนแล้งได้ดี ขึ้นบริเวณพื้นที่ริมถนน นาข้าว ริมน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึง 1,100 เมตร การใช้ประโยชน์ในต่างประเทศมาเลเซีย ใช้ใส่แผลไฟไหม้ แผลอักเสบ โดยเฉพาะแผลที่โดนเห็บป่ากัด แก้กลากเกลื้อน และใช้ในสตรีหลังคลอด ประเทศอินเดียนำมาตากแห้งบดผงและละลายในน้ำดื่มในตอนเช้าเพื่อล้างท้อง ใบเคี้ยวกับน้ำมะนาวเพื่อเพิ่มการหลั่งของน้ำดี และเป็นยาทาภายนอก แก้กลากเกลื้อน และน้ำร้อนลวก กลุ่มประเทศ อินโดจีน ใช้แก้โรคบิด แผลน้ำร้อนลวก แผลอักเสบ กลากเกลื้อน
สำหรับประเทศไทย พบหญ้าหยาดน้ำค้างหรือหญ้ากาบหอยตัวเมีย ในภาคเหนือที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก ตาก น่าน ภาคตะวันออกจังหวัด ชัยภูมิ อุบลราชธานี ภาคกลางจังหวัดสระบุรี ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ตราด ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ตรัง สตูล ใบอ่อนใช้กินเป็นผักแกล้ม ใบใช้ปรุงเป็นยาต้มดื่มหลังคลอด ทั้งต้นใช้เป็นยารักษากามโรค อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้สิ่งที่อยากเตือนประชาชนคือ ระวังสารปนเปื้อนในดิน พยาธิต่าง ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้การสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ฉะนั้นเมื่อทราบข้อมูลแล้ว การเลือกใช้พืชสมุนไพรต่าง ๆ จะต้องมีความรู้เบื้องต้นทางเภสัชคือรู้จักต้นพืช รู้จักสรรพคุณ รู้จักวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ที่สำคัญอีกประเด็นคือการบริโภคต้องมีเหตุผลที่จะบริโภคเพื่อประโยชน์อะไร สงสัยข้อมูลสอบถามได้ที่ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 02-9510292 ,025917808
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร กล่าวว่า สรุปสรรพคุณเด่นของหญ้ากาบหอยตัวเมียคือฆ่าเชื้อโรค ลดไข้ ทางภาคอีสาน ใช้รักษากามโรค หมอพื้นบ้านภาคอีสานใช้แก้กลากเกลื้อน ต้มอาบ ฆ่าแบคทีเรีย จึงเป็นข้อสังเกตในเชิงการพัฒนา ต่อยอดให้เป็นยากลุ่มปฏิชีวนะ รักษาแผลติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ต่อไปในอนาคต คงได้หารือกับผู้เชี่ยวชาญต่อไป ศาสตราจารย์วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล อาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรศึกษาว่าลักษณะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นแบบเดียวกับในแผนปัจจุบันหรือไม่ ควรศึกษาถึงความเป็นพิษของหญ้าหยาดน้ำค้างด้วย หากจะมีการค้าขายนั้นควรจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับคุณภาพและราคาที่สมควร รวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน วิจัยและพัฒนาว่าสามารถต้านโรคมะเร็งได้หรือไม่ ชี้แจงความเหมาะสมในทุกด้านแก่ประชาชน เช่น สรรพคุณ ราคา และความเหมาะสม ฯ ล ฯ นางเสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์พื้นบ้าน กล่าวถึงคำว่ามะเร็งในตำราการแพทย์แผนไทยและเปรียบเทียบกับการแพทย์แผนปัจจุบันว่า บางครั้งคำว่าโรคมะเร็งในความคิดของคนโบราณกับหมอแผนปัจจุบันจะแตกต่างกัน กล่าวคือ ตามตำราแพทย์แผนโบราณมะเร็ง หมายถึง ชื่อโรคกลุ่มหนึ่งที่ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ เป็นแผล ตุ่ม ผื่น ฝี ตามผิวหนัง หรืออวัยวะต่างๆ และอาจมีไข้ร่วมด้วย เช่น มะเร็งคชราช มะเร็งดอกบุก มะเร็งไร ฝีมะเร็ง ฝีมะเร็งฝักบัว ไข้มะเร็งปากทูม ไข้มะเร็งปากหมู ไข้มะเร็งเปลวไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนตามตำราแพทย์แผนปัจจุบัน มะเร็ง หมายถึง กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือด ไปเลี้ยงเพราะการเจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
การกระจายพันธุ์
หญ้ากาบหอยตัวเมีย พบขึ้นได้ทั่วไปบริเวณริมถนน นาข้าว ริมน้ำ ในไทยพบทุกภาค เช่น ที่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ตาก แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช นราธิวาส ตรัง สตูล กระจายพันธุ์กว้างในหลายทวีป เช่น ทวีปแอฟริกา อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย อินเดีย เนปาล ภูฏาน ลาว พม่า จีน ไทย เวียดนาม พบตามทุ่งหญ้าบนเนินเขา ระดับความสูง 0-3300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ติดผลเดือนตุลาคม
พบขึ้นในดินทรายชื้น นาข้าว แปลงพืชไร่ ไร่ถั่วเหลือง และตามริมถนน
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ที่มา
สำนักสารนิเทศและวิเทศสัมพันธ์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ
หนังสือ ” วัชพืช ในประเทศไทย ” ( ผศ.ดร. สุรชัย มัจฉาชีพ )
ป้ายคำ : สมุนไพร