ขัดมอนชอบขึ้นตามริมคู ริมทาง ในทุ่ง เป็นพืชยืนต้นหลายปี มีขนขึ้นทั่วลำต้น แตกกิ่งก้านมาก สูง 1-2 ฟุต ใบและกิ่งขึ้นสลับ ก้านใบเรียวเล็ก รูปใบกลมหัวท้ายแหลมยาว 4-5 หุน ขอบใบเป็นหยักๆ คล้ายฟันเลื่อย หนา ใบสีเทา เอ็นใบเด่นชัด ออกดอกหน้าฝนเข้าหน้าหนาว ดอกมี 5 กลีบ กระเปาะดอกสีเหลีองอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sida rhombifolia L. ,Sida acuta Burm F.
ชื่อวงศ์ MALVACEAE
ชื่ออื่น ยุงปัด (ไทย-พายัพ), ยุงกวาด (กรุงเทพฯ), หญ้าขัดใบยาว (พายัพ), เน่าะเค้ะ, นาคุ้ยหมี่ (กะเหรี่ยงฮ่องสอน), ลำมะเท็ง (ศรีราชา) : อึ่งฮวยอิ๋ว, อวกตักซั่ว (จีน)
ขัดมอน อาจเป็นชื่อพืชในวงศ์ Malvaceae ได้อย่างน้อย ๔ ชนิด คือ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงถึง 1 เมตร ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ มีหูใบ 1 คู่ ใบรูปไข่กลับถึงรูปข้าวหลามตัด โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม ท้องใบมีนวลสีขาว ดอกเดี่ยวเกิดที่ซอกใบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นกลุ่มเดียวและเป็นหลอดหุ้มเกสรเพศเมียเอาไว้ โคน หลอดเชื่อมติดกับโคนกลีบดอก หลอดก้านชูอับเรณูสีเหลืองแกมขาว มีขนอ่อนเล็กๆปกคลุม ตอนปลายแยกเป็นยอดเกสร 5-6 แฉก ผลแห้งแตกเป็น 5-6 พู ผิวเรียบ ปลายแต่ละพูเป็นหนาม เมล็ดรูปไต
ต้นเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง เปลือกต้นมีใยเหนียวดีมาก เป็นลักษณะพิเศษของต้นไม้ในวงศ์พวกชบานี้อย่างหนึ่ง ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบ ออกสลับกัน มีขนสั้นๆ หรือเกือบจะไม่มีขน ปลายใบแหลม ใบยาว 3-5 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมออกไป ฐานใบกว้างเล็กน้อย มนเข้าขอบใบมีรอยหยักเป็นซี่คล้ายฟัน ด้านบนไม่มีขนสีเขียว ด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่า มีก้านใบ
ดอก ออกจากซอกข้างใบ อาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือมีหลายดอกเกิดที่เดียวกัน มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมแหลมสั้นสีเขียว กลีบดอกมี 5 กลีบ ติดกันที่โคนมีสีเหลือง ใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงประมาณ 2 เท่า มีเกสรตัวผู้อยู่มาก มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่มีผนังกั้นแยกเป็น 5-9 ห้อง อยู่ในกลีบเลี้ยง เมื่อเป็นผลแก่เป็นรูปทรงจานกลมแบนมีรอยแยก 5-9 ซีก เป็นเมล็ดสีดำ มักพบขึ้นเองตามที่รกร้างต่างๆ ในที่แห้งแล้งก็ขึ้นได้ ตามริมถนนหนทางต่างๆ ก็พบได้
การเก็บมาใช้
เก็บทั้งต้นมีรากด้วย ในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงตัดทั้งต้น ล้างสะอาด หั่นเป็นท่อน ตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้
สรรพคุณ
วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น แห้งหนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอก ใช้ต้นสดตำ พอก หรือต้นแห้งบดเป็นผงโรย
ตำรับยา
แก้เต้านมอักเสบ ใช้ต้นแห้งร่วมกับ โพกงเอ็ง (Tara xacum mongolicum Hand-Mazz) ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอก และใช้ต้นแห้งร่วมกับหัวผักกาดขาวสด น้ำตาลแดง ตำพอกใช้ภายนอก
ผลทางเภสัชวิทยา
ในชบทเมื่อต้นนี้เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ต้นสูงประมาณเมตรกว่าๆ เขาตัดมาตากให้แห้ง ใบจะหลุดร่วงหมดแล้วเอา 2-3 ต้น มามัดเป็นกำรวมกัน ใช้กวาดลานบ้านให้สะอาดได้ดีเรียกว่า ไม้กวาดขัดมอญเพราะต้นนี้มีลำต้นเหนียวแข็งแรงดี
ประโยชน์
การใช้ประโยชน์ ทำไม้กวาดลานข้าว รากเข้ายาแก้เบื่อเมา รากเข้ายาแก้ไข้หมากไม้ อีสุกอีไส รากดับพิษไข้ แก้ร้อนใน แก้พิษงู
ที่มา
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 12 เดือน/ปี: เมษายน 2523
ป้ายคำ : หญ้า