หญ้าหนวดแมว สมุนไพรช่วยผู้ป่วยนิ่วในไต

10 กันยายน 2556 สมุนไพร 0

หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้น ยังมีคุณค่าทางการรักษา เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะ คล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า “หญ้าหนวดแมว”

หญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกง่าย นิยมปลูกโดยการปักชำ หรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตได้เร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง หญ้าหนวดแมว มีชื่อพื้นเมือง เช่น พยับเมฆ บางรักป่า อีตู่ดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.
ชื่อพ้อง : O. grandiflorus Bold.
ชื่อสามัญ : Java tea, Kidney Tea Plant, Cat’s Whiskers
วงศ์ : Lamiaceae ( Labiatae)
ชื่ออื่น : บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก

yanaewmawton

  • หญ้าหนวดแมว เป็นไม้ดอกอายุหลายปี ทรงพุ่มสูงประมาณ 30 – 90 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านสีน้ำตาลแดง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบมีขนาดเล็ก
  • ดอก หญ้าหนวดแมวออกดอกเป็นช่อกระจุก ที่ปลายยอดคล้ายฉัตร ดอกสีขาว สีชมพูอ่อน และสีฟ้าอมม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ตรงปลายแยกเป็น 2 กลีบ รูปปาก มีเกสรตัวผู้ 3 – 4 เส้น ยื่นยาวออกมานอกดอก มีลักษณะคล้ายหนวดแมว หญ้าหนวดแมวออกดอกเกือบตลอดปี

yanaewmawdok

ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป

วิธีการใช้+คำแนะนำ
ใช้ยอดอ่อน (ซึ่งมีใบอ่อน 2 3 ใบ) ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก (แต่ไม่ใช้ดอก) นำมาหั่นสั้นๆ ตากแดดให้แห้ง ใช้ครั้งละประมาณ 2 กรัม โดยชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาแล้วทิ้งไว้ 5 10 นาที ให้ดื่มขณะร้อนๆ วันละ 3 ครั้ง ดื่มก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมากๆ

ข้อควรระวัง

  • คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
  • ควรใช้การชง ไม่ควรใช้การต้ม และควรใช้ใบอ่อน ไม่ใช้ใบแก่ เพราะอาจมีสารละลายออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ
  • สารจากหญ้าหนวดแมว จะทำให้ยาจำพวกแอสไพริน ไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน

ฤทธิ์และประโยชน์ทางยา
ใช้ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีเกลือโปแตสเซึยมมาก หญ้าหนวดแมว ใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่าง ซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรด ซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อน แต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวดในไต หญ้าหนวดแมว ไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดังนั้น นิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็ก ๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมว จะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็ก ๆ ให้หลุดออกมา

yanaewmaws

yanaewmawmou

ผลการศึกษาวิจัยหญ้าหนวดแมว
จากการศึกษากับผู้ป่วย ที่เป็นนิ่ว โดยให้คนไข้ รับประทานยาชงหญ้าหนวดแมวทุกวัน วันละ 3 เวลา 2-6 เดือน ผลพบว่า ได้ผลดี สามารถลดขนาดนิ่ว 23 ราย มีนิ่วหลุด 40% มีอาการดีขึ้น 20%
ผลของหญ้าหนวดแมวในการลดขนาดนิ่วไต พบว่าสามารถลดขนาดนิ่วได้ และผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ได้แก่อาการแน่นท้อง ปวดเอว ปวดข้อ เมื่อยเพลีย ปวดศีรษะ แสบร้อนสีข้าง ปวดขา หลังให้การรักษาด้วยหญ้าหนวดแมว พบว่า อาการดังกล่าวลดลง เกือบจะหมด และยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น สามารถทำงานได้มากขึ้น และเป็นที่น่าพอใจ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคนิ่วไต นิ่วในไตที่ได้รับความทุกข์ทรมานทางกาย ความทุกข์ทางใจ การสูญเสียเงินค่ารักษา พยาบาลต่อครั้ง ที่มีราคาสูง การเป็นนิ่ว ที่พบบ่อยในภาอีสาน ซึ่งประขาชน มีฐานะยากจน การรักษาด้วยการแพทย์ แผนปัจจุบัน ได้แก่การผ่าตัด การสลายนิ่ว ล้วนแต่ต้องใช้เงินมากมายนั้น การนำนำสมุนไพรหญ้าหนวดแมว มาใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่ว เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ช่วยลดค่ารักษาพยาบาล ประชาชนปลูกใช้เอาได้ ขั้นตอนใช้ไม่ยุ่งยาก

SONY DSC

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น