หญ้าแขมเป็นพืชอายุยืนหลายฤดู ชอบขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่หนาแน่นตามที่ชื้นแฉะริมน้ำ มีเหง้าใหญ่แข็งแรง ลำต้นตั้งตรง สูง 2-3 เมตร แผ่นใบหยาบกระด้าง ใบยาวเรียวปลายแหลม ยาว 30-80 ซม. กว้าง 1-3 ซม. กาบใบที่หุ้มลำต้นไม่มีขนคลุม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกมีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 50 ซม. สีน้ำตาล มีขนคล้ายไหมสีขาวอยู่ทั่วไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phragmites vallatoria (Pluk. ex L.) Veldkamp (syn.P.karka (Retz.) Trin.ex Steud., P. communis Trin., Arundo karka Retz.Obs.)
วงศ์ GRAMINEAE
ชื่อสามัญ หญ้าแขม (ปราจีณบุรี)., หญ้าลาโพ (ตรัง)., common reed., flute reed
ลักษณะ
หญ้าแขมเป็นพืชอายุหลายปี ขึ้นในที่ชุ่มน้ำแต่ก็พบขึ้นในที่ดอนด้วย ลักษณะคล้ายต้นอ้อ ลำต้นกลวง ตั้งตรง สูง 2.5-3.5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.0-1.5 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดิน(rhizome)ที่แข็งแรง ใบเป็นแบบใบหอก(lanceolate)ใบรียวยาวไปที่ปลายใบ(acuminate) ใบยาว 30-50 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3.0 เซนติเมตร แผ่นใบมีริ้ว ใบเรียบ ขอบใบมีรอยหยักขนครุย(ciliate)และสากมือ ลิ้นใบ(ligule)เป็นแผ่นขอบลุ่ยเป็นเส้น(membranous frayed)ยาวประมาณ 1.0 มิลลิเมตร มีหูใบ(auricle) กาบใบเรียบสีเขียวเข้ม ยาว 12.0-25.0 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน ช่อดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง(panicle) มีขนาดใหญ่ ช่อดอก(inflorescence)ยาว 40-50 เซนติเมตร ส่วนของHeadยาว 20-30 เซนติเมตร กลุ่มช่อดอกย่อย(spikelet)มีดอกย่อย(floret) 8-10 ดอก ดอกแต่ละดอกเกาะแกนช่อดอกห่างกันอย่างชัดเจนทำให้มองเห็นเส้น ไหมสีเงินบนแกนชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากของหญ้าพงโดยในหญ้าพงเส้นไหมเกิดอยู่ที่กาบรองดอก(lemma) ดอกล่างสุดมีอับเกสร(anther)3 อับ แต่ดอกบนๆมีเพียง 2 อับ
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศ พื้นที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 35 เมตร สภาพพื้นที่ลุ่ม ชุ่มชื้น ที่เชิงเขา เช่น พื้นที่ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช( SN 59)
คุณค่าทางอาหารสัตว์ ส่วนใบและยอดอ่อน มี
การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ และสัตว์ป่า
ป้ายคำ : หญ้า