หน้าเกี่ยวข้าวและหลังเกี่ยวข้าว จะมีชาวนาออกล่าหนูพุกและหนูนากัน โดยเฉพาะหนูนาทำแกงอ่อมและย่างอร่อยมาก เป็นที่รู้กันว่าหนูพุกจะอร่อยที่สุดในหน้าเกี่ยวข้าว ส่วนการเลี้ยงหนูนา หนูพุก หนูพุก จะเลี้ยงด้วยข้าวเปลือกและเผือก เมื่อโตเต็มที่ สามารถคัดแยกเอาแต่ตัวลูกๆมันเก็บไว้ ส่วนเวลาจับหนูแนะนำให้ใช้ถุงมือที่ใช้ผสมปูนเพราะเวลาโดนกัดจะได้ไม่เจ็บ จากนั้นทำการคัดแยกไว้โอ่งล่ะ 4 ตัว แบ่งเป็นตัวผู้ 1 ตัวเมีย 3 เพื่อเอาไว้ทำพันธ์ต่อ ช่วงหลังเดือนกุมภาพันธ์หนูพุกเริ่มหายาก ทำให้มีหลายๆ คนที่สนใจอยากจะหันมาทำการเลี้ยงหนูนา หนูพุก กันดูบ้าง
การเลี้ยงหนูนา หนูพุกที่สมบูรณ์จะต้องมีลักษณะอย่างไร
การเลี้ยงหนูนา หนูพุก ที่มีขนาดอายุ 1 ปี หนูนาหรือหนูท้องขาว จะมีขนาดเล็กถึงปานกลางประมาณ 100-200 กรัม ลำตัวเป็นสีเทาดำ บริเวณท้องเป็นขาวล้วน ส่วนบริเวณท้องเป็นสีเทาปนขาว ส่วนหนูพุกจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักตัวจะอยู่ที่ 400 ถึง1000 กรัม ลำตัวเป็นสีเทาและมีปลายขนเป็นสีทองแดง บริเวณท้องเป็นสีเทาปนขาว สีของตาเวลจะสะท้อนแสงไฟจะเป็นสีแดง
ขั้นตอนการเลี้ยงหนูนา หนูพุก แบบธรรมชาติ
การเลี้ยงหนูนา หนูพุก ควรจะเริ่มเลี้ยงจะประมาณเดือนพฤษภาคม โดยสามารถใช้พื้นที่จากการเลี้ยงด้วยโอ่ง โดยแบ่งเลี้ยงใน โอ่ง จำนวน 2 ใบ จากการคัดพันธุ์ลูกหนูพุก หนูนามาจำนวน 10 ตัวขนาด 100 ถึง 200กรัม แบ่งเป็นตัวผู้ 4 ตัวเมีย 6 โดยทำการเลี้ยงในโอ่งแดงใส่ 5 ตัว ต่อโอ่ง คือตัวผู้ 2 ตัวเมีย 3 และทำการใส่ดินใน โอ่งประมาณ1/4 เพื่อให้หนูขุดเป็นที่อยู่และใส่ฟางข้าวหรือหญ้าคาลงไปด้วยเพื่อให้หนูใช้ในการทำรัง ซึ่งหนูที่ใช้เลี้ยงตัวผู้กับตัวเมียต้องต่างพ่อแม่กัน และที่ใช้โอ่งเลี้ยงเพราะสามารถทำฝาครอบแล้วเจาะรู เพื่อป้องกันแมวและกันไม่ให้หนูกระโดดหนีออกไปได้
การเลี้ยงหนูนา หนูพุก ด้วยการให้น้ำและอาหาร
น้ำและอาหารเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเลี้ยงหนูนา หนูพุก ปัจจุบันมีระบบน้ำที่ใช้เลี้ยงพวกหนูตะเพา หรือหนูแฮมสเตอร์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ หรือจะใช้ภูมิปัญญาแบบในก้านกล้วยมีน้ำ ก็ให้ใช้น้ำจากก้านกล้วยแทน โดยหั่นเป็นท่อนประมาณ 1 ศอก แล้วทิ้งไว้ในโอ่งประมาณ 2-3 ท่อน แต่ต้องเก็บออกเปลี่ยนอันใหม่ทุก 1 อาทิตย์ อาหาร สามารถหาได้ตามฤดูกาล สังเกตว่าหนูชอบกินอะไร และจะมีข้าวเปลือกเป็นอาหารหลัก สามารถวางกองกับพื้นดิน
หมั่นดูแลเก็บสิ่งที่ใกล้เน่าออกไปทิ้ง สำหรับถั่วลิสง ให้ถอนมาใส่ทั้งต้น เพราะหนูจะชอบแทะช่วงลำต้นด้วยส่วนใบที่เหลือจะถูกนำไปสร้างรัง ส่วนหญ้าคา หรือ ฟางข้าวเอาไว้ให้หนูแทะ และใช้สร้างรัง อาหารที่เสียง่าย สามารถใส่ไว้ในปริมาณที่พอเหมาะอย่างมันสำปะหลัง เผือกและ มันแกว ถ้าหากหนูกินไม่หมดต้องเอาออกทิ้งเปลี่ยนอันใหม่ทันที
นายชาญชัย ภูทองกลม อยู่บ้านเลขที่ 94 หมู่ 5 ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านจะพากันหาจับหนูนาตามหัวไร่ปลายนามาประกอบอาหาร นิยมนำมาย่าง ผัดเผ็ด อ่อม ซึ่งรสชาติของเนื้อหนูนาในหน้าแล้งจะนุ่ม มันดี ให้ไขมันและโปรตีนสูง โดยจะออกหาจับด้วยวิธีการต่างๆ เช่น กับดัก แร้ว ใช้พลุหรือหน้าไม้ยิง หาขุดตามรู ตามความถนัด ทั้งนี้ เมื่อเห็นว่ากระแสความนิยมบริโภคหนูนาสูงและราคาดี จึงเกิดไอเดียเลี้ยงหนูนาขาย เริ่มต้นโดยนำอิฐบล็อคและสังกะสีมาทำเป็นโรงเรือนหรือคอกเพาะเลี้ยงหนูนา 4 คอก บนที่นาท้ายหมู่บ้าน แบ่งเป็นคอกเพาะพันธุ์ 1 คอก อีก 3 คอกสำหรับเพาะเลี้ยงหนูนารุ่น มุงหลังคา กางตาข่าย เพื่อป้องกันแสงแดด เหยี่ยว แมว งู สุนัข มารบกวน ปูพื้นด้วยซีเมนต์ป้องกันการขุดรูหนี ก่อนนำดินลงกลบ ปล่อยตัวผู้ตัวเมียอยู่ด้วยกันเพื่อขยายพันธุ์ ซึ่งหนูนาที่นำมาเพาะพันธุ์และเลี้ยง ได้จากไปหาจับเองบ้างและรับซื้อจากคนอื่นบ้าง เพื่อนำมาขุนหรือเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่ ใช้ปล้องไม้ไผ่ ท่อพีวีซี ฟาง ให้เป็นที่อาศัยของหนูนา ขณะที่อาหารก็หาง่ายใกล้ตัว โดยปลูกผักคะน้า ผักกาด ผักบุ้ง ข้าวโพด กุ้ง หอย ปู ปลา หัวมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก เป็นอาหาร เมื่ออาหารบริบูรณ์ก็โตง่าย เนื้อมาก ให้รสชาติมันดี
การเลี้ยงหนูนาในบ่อซีเมนต์
ก่อนอื่นนำแกลบมารองพื้นในท่อซีเมนต์ จากนั้นนำหนูนาที่มีอายุ 2 สัปดาห์ มาลงเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ โดย 1 บ่อซีเมนต์ จะเลี้ยงเพียง 10 ตัว เพื่อไม่ให้หนูนาต้องแย่งอาหารกัน และ ไม่แน่นอึดอัดจนทำให้เกิดความเครียด หากหนูนาเกิดความเครียดอาจทำให้ทำร้ายกันเองและทำให้อัตราการรอดชีวิตลดน้อยลง หลังจากที่นำหนูนาลงมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ก็จะนำท่อพีวีซี ขนาดครึ่งวงกลม 10 ซม. เพื่อให้เป็นที่หลับนอน หรือที่หลบภัยของหนูนา
การให้อาหาร
ในช่วงแรกที่อายุอยู่ระหว่าง 2-4 สัปดาห์ จะให้รำอ่อนผสมกับปลายข้าวให้เป็นอาหาร แต่พอเมื่อหนูนาอายุ 5 สัปดาห์ ขึ้นไป จะเริ่มให้หญ้าอ่อน รำข้าว และ ปลายข้าว ผสมกันไป เพื่อให้หนูนาได้ทานหลากหลาย การให้น้ำจะมีขวดให้น้ำในบ่ออยู่ตลาดตั้งแต่เริ่มนำหนูนาลงบ่อ ให้คอยสังเกตว่าน้ำในขวดนั้นหมดหรือยัง หากหมดก็นำน้ำไปเติม ส่วนการให้อาหารก็จะให้ช่วงเช้ากับช่วงเย็นเพียงเท่านั้น เมื่อหนูนาอายุ 3 เดือน ก็สามารถ จับจำหน่ายได้ ราคาขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแต่ละตัวค่ะ เห็นไหมละคะว่าการเลี้ยงหนูนานั้นไม่ยากและยังสร้างรายได้ ได้ดีอีกด้วย
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
นายวิรัตน์ โพธิ์ศรีเรือง .วิสาหกิจศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น
ป้ายคำ : เลี้ยงสัตว์