หม่อนเป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม มีอยู่หลายชนิด ที่มีลำต้นใหญ่ ตั้งตรง มีกิ่งก้านมาก ใบ เป็นส่วนที่ใช้เลี้ยงไหม ขนาด ความหนา และลักษณะรูปร่างของขอบใบจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์ หม่อนเป็นพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น แต่บางพันธุ์อาจมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกหม่อนมีลักษณะเป็นกลุ่มเกาะติดกันเป็นช่อ เมื่อดอกตัวเมียได้รับการผสมจะเปลี่ยนเป็นผล ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อประกอบด้วยเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก
ชื่ออื่นๆ มอน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba Linn.
ชื่อวงศ์ Moraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มากนัก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ขอบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู ขึ้นกับพันธุ์ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากคาย ปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบกลม หรือรูปหัวใจ หรือค่อนข้างตัด ใบอ่อนขอบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบ 4 คู่ เส้นร่างแหเห็นชัดด้านล่าง ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบสากคาย ก้านใบเล็กเรียว ยาว 1.0-1.5 เซนติเมตร หูใบรูปแถบแคบปลายแหลม ยาว 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกช่อ รูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบ และปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน วงกลีบรวมสีขาวหม่น หรือสีขาวแกมเขียว ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง เกสรเพศเมีย วงกลีบรวมมี 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีสีเขียว เมื่อสุกสีม่วงแดงเข้ม เกือบดำ ฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้ ยอดอ่อนรับประทานได้ มักใช้ใส่แกงแทนผงชูรส หรือใช้เป็นอาหารต่างผัก พบทั่วไปในป่าดิบ ใบใช้เลี้ยงตัวไหม วัวควายที่กินใบหม่อนทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ รสจืดเย็น เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำยาต้มใช้อมแก้เจ็บคอ และทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะ ฝ้าฟาง ใบแก่ ตากแห้งมวนสูบเหมือนบุหรี่ แก้ริดสีดวงจมูก ใบ แก้ไอ ระงับประสาท หรือต้มเอาน้ำล้างตา แก้ตาแดง แฉะฝ้าฟาง ใบ ใช้ทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ราก ขับพยาธิ และเป็นยาสมาน ตากแห้งต้มผสมน้ำผึ้ง ยานี้จะมีรสหวานเย็น ใช้มากในโรคทางเดินหายใจ และการมีน้ำสะสมในร่างกายผิดปกติ ใช้แก้โรคความดันโลหิตสูง แขนขาหมดความรู้สึก กิ่งอ่อน ใบอ่อน แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ใบ น้ำต้มและยาชง มีฤทธิ์เป็นยาชะล้าง ใช้ล้างตาแก้ตาอักเสบ ใบอังไฟและทาด้วยน้ำมันมะพร้าวใช้วางบนแผล หรือตำใช้ทาแก้แมลงกัด เป็นยาขับเหงื่อ แก้ไอ ยาหล่อลื่นภายนอก น้ำต้มใบใช้กลั้วคอแก้เจ็บคอ ใช้ล้างตา แก้อาการติดเชื้อ ผสมกับหอมหัวใหญ่เป็นยาพอก รักษาแผลจากการนอนกดทับ ผล รสเปรี้ยวหวานเย็น ต้มน้ำหรือเชื่อมกิน เป็นยาเย็น ยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุไม่ปกติ บรรเทาอาการกระหายน้ำ แก้โรคปวดข้อ ใช้แก้โรคได้เช่นเดียวกับเปลือกราก ใช้แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงไต ดับร้อน ช่วยย่อย และเพื่อความสดชื่น เมล็ด ใช้เพิ่มกากใยอาหาร เปลือก เป็นยาระบาย และยาถ่ายพยาธิ
ในจีน ใช้ เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล เป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ขับปัสสาวะแก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ โรคปวดข้อ เปลือกต้น เป็นยาถ่าย และยาขับพยาธิ
องค์ประกอบทางเคมี
ใบ มี carotene, succinic acid, adenine, choline, วิตามินซี ผล มี citric acid, วิตามินซี เนื้อไม้ มี morin ลำต้น มี steroidal sapogenin เปลือก มี -amyrin
หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
การปลูกหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
เพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะสามารถเป็นได้ทั้งไม้ใบและไม้ผล
ปลูกเพื่อผลิตผลหม่อนเชิงพาณิชย์
การเลือกพื้นที่
การปลูกมี 2 วิธี
วีธีที่ 1. การปลูกเป็นแถว
วิธีที่ 2. ปลูกเป็นหลุม
การใส่ปุ๋ย
การให้น้ำ
ต้องให้น้ำหม่อนในระยะติดผล
ให้น้ำในระยะอื่นๆ พิจารณาตามความเหมาะสมเมื่อฝนทิ้งช่วง
การบังคับทรงพุ่ม
เลือกกิ่งสมบูรณ์ไว้ประมาณ 5 กิ่ง/ต้น ตัดไว้ตอช่วงต้นฤดูฝนเพื่อให้แตกกิ่งแขนง สร้างทรงพุ่มให้แตก
หม่อนจะออกดอกราวเดือนมกราคม-มีนาคม และเก็บเกี่ยวผลหม่อนในช่วงปลายฤดูหนาว-ฤดูร้อน
การเก็บเกี่ยวผลหม่อน
เพื่อบริโภคผลสด ควรเก็บเกี่ยวผลหม่อนสีม่วงแดง หรือสีม่วงดำ
เพื่อการแปรรูป การทำน้ำผลหม่อนที่มีสีแดงควรเก็บเกี่ยวในระยะผลสีแดงม่วงผสมกับสีม่วง การแปรรูปเป็นไวน์ควรเก็บเกี่ยวในระยะสีม่วงดำ
การเก็บรักษาผลหม่อน
การบริโภคผลสด นำมาบรรจุในกล่องกระดาษเป็นชั้นๆ หนาไม่เกิน 2 ชั้น ทำการปิดกล่องเพื่อรอการขนส่งและจำหน่าย
การแปรรูป อาทิ น้ำหม่อน แยมหม่อน ไวน์หม่อน เยลลี่ หากไม่สามารถนำไปแปรรูปได้ทันที ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -14 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 12 เดือน
การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาผลหม่อน
การ เก็บเกี่ยวผลนับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกิจกรมภายในสวนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการ การเก็บรักษาผล การขนส่ง และการตลาด เนื่องจากผลหม่อนมีขนาดผลเล็กและมีระยะเวลาสุกของผลไม่พร้อมกันหมดทั้งต้น แต่เป็นการค่อยๆ สุกทีละผลและจะต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นระยะเวลานานเป็นเดือน อีกทั้งผลหม่อนเป็นผลไม้ที่มีความบอบช้ำได้ง่าย ดังนั้นวิธีการเก็บเกี่ยวผลหม่อนจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง จึงขอแนะนำวิธีการเก็บเกี่ยว ดังนี้
การเก็บรักษาผลหม่อน
หม่อน รับประทานผล ผลิตผลหม่อนออกมาในฤดูกาลเป็นระยะเวลาสั้น คือประมาณ 30 -40 วันเท่านั้น ทำให้การนำผลหม่อนไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จำต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้ผลหม่อนที่สุกเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการเก็บรักษาผลหม่อนเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นระยะเวลา นานมากขึ้นจึงมีความจำเป็นยิ่ง แต่การเก็บรักษาผลหม่อนนั้นแตกต่างกันไปตามแต่วัตถูประสงค์ของการนำไปใช้ ประโยชน์ คือ
การเก็บรักษาเพื่อการรับประทานผลสด ควรเก็บผลหม่อนจากต้นในระยะที่มีผลสีแดงเข้มแล้วนำมาใส่ภาชนะที่โปร่งวาง ซ้อนกันไม่สูงมากนัก จะสามารถเก็บรักษาผลหม่อนได้เป็นระยะเวลา 2 -3 วัน โดยที่คุณภาพของผลหม่อนยังคงเดิม คือมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ซึ่งจะมีความหวานประมาณ 8 -10 Brix. และมีปริมาณกรด 1.7 2.0 กรัม /ลิต มีสีสันแดงอมม่วงหรือดำ หากเก็บรักษาไว้นานกว่านี้จะทำให้ผลหม่อนมีปริมาณกรดน้อยลง และเปลี่ยนสีเป็นสีดำทำให้ไม่น่ารับประทานสด
เก็บรักษา ในห้องเย็น ควรเก็บรักษาไว้โดยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม หรือบรรจุลงในตะกร้าผลไม้ และนำไปเก็บไว้ที่ห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 6 เดือน
คุณสมบัติทางกายภาพ ของผลหม่อนสายพันธุ์เชียงใหม่ สีแดง แดง ดำและดำ ที่เก็บ รักษาไว้ในอุณหภูมิห้องในระยะเวลาต่างกัน
ผลิตน้ำผลไม้พร้อมดื่มจากผลหม่อน
วัสดุ/อุปกรณ์
ประกอบด้วย ผลหม่อน น้ำตาลทราย น้ำสะอาด ผ้ากรอง กรวย อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น เตา หม้อ ภาชนะบรรจุ เช่น ขวด จุกปิดปากขวด
ส่วนผสม
1) ผลหม่อนสีแดง (แก่แต่ยังไม่สุก) : ผลสีม่วงดำ (สุก) อัตรา 1 : 1 หรือ 1 : 2 จำนวน 1.5 กก.
2) น้ำตาลทราย 1 กก.
3) น้ำสะอาด 4.5 ลิตร
ขั้นตอน/วิธีทำ
ในการทำน้ำผลหม่อน ถ้าใช้ผลสุก (สีม่วงดำ) จะมีรสหวานอย่างเดียว ไม่มีรสเปรี้ยว ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับด้านประสาทสัมผัส ขณะที่ผลแก่ (สีแดง) จะมีรสเปรี้ยว ดังนั้นจึงนิยมให้ผลสีแดง : ผลสีม่วงดำ อัตรา 1:1 หรือ 1:2 จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากกว่า คือ ได้รสหวานอมเปรี้ยว หากดื่มขณะที่สภาพอากาศร้อน จะดับร้อนผ่อนกระหายได้ดี และได้กลิ่นของผลหม่อนซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัว
ที่มา : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และกองเกษตรเคมี และ นาย วิโรจน์ แก้วเรือง นักวิชาการ กรมหม่อนไหม เกษตรเชี่ยวชาญ
ป้ายคำ : ผลไม้, ผักพื้นบ้าน
ตลาดรับซื้อผลหม่อนอยู่ที่ไหนบ้างสนใจอยากทำ
พันธุ์หม่อนที่ดี ซื้อกันที่ไหน
จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ่อพลอยจะปลูกได้ไม๊
0871973857