หวาย พืชหลากหลายคุณประโยชน์

3 กรกฏาคม 2559 ไม้พุ่มเตี้ย 0

หวาย จัดเป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่ลำต้นเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน เป็นหนึ่งในบรรดาทรัพยากรพันธุ์พืชนับหมื่นชนิด จัดเป็นประเภทพืชหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศไทยพบว่า มีหวายมากถึง 6 สกุล คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสกุลหวายที่มีอยู่ในโลกและมีมากกว่า 60 ชนิด แพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้มีหลากหลายมากกว่าทุกภาค หวายบางชนิดสามารถนำมาบริโภคได้โดยเฉพาะคนในภาคอีสานและภาคเหนือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Calamus siamensis
วงค์ : Palmaceae
ชื่อสามัญ : Rattans
ชื่ออื่น : เสือครอง, หวายนั่ง(อีสาน) ,หวายดง,หวายหนามขาว,หวายขม(หวายเขียว,หวายน้ำ)

ลักษณะ
ลำต้นและกาบใบมีหนาม รากเป็นรากระบบรากแขนง ดอกช่อประกอบด้วยกลุ่มแขนงช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มแขนงช่อดอก ดอกไม่สมบูรณ์เพศจะสร้างช่อดอกออกจากลำต้น ส่วนที่มีกาบหุ้มเปลือก ผล มีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ ผลค่อนข้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาว

yaypom

ไม้เถา ลำต้นมีขนาดปานกลาง ลำต้นสีเขียวแตกกอ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 0.5-1 นิ้ว ลำต้นและกาบใบมีหนาม กาบหุ้มลำต้นสีเขียวเข้ม เคลือบด้วยไขสีขาวบาง และมีหนามโดยรอบ ใบประกอบแบบขนนก ก้านใบมีหนาม ใบย่อยที่ประกอบบนก้านใบมีจำนวนประมาณ 75-90 ใบ เรียงตัวกันเป็นกระจุก แบบตรงกันข้าม กระจุกละ 5-8 ใบ ใบรูปแถบเรียวยาว คล้ายใบมะพร้าว ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนามแหลมเล็กๆ มีระบบรากแบบรากแขนงประสานกันอยู่ตามลักษณะของพืชตระกูลปาล์มทั่วๆไป มีอวัยวะที่ใช้เลื้อยเกาะ (climbing) เป็นก้านยาว ๆ ยื่นออกมาจากจุดกำเนิดตรงส่วนบนของกาบหุ้มลำต้น และมีหนามโดยตลอด ทำหน้าที่เป็นมือเกี่ยว ดอกเป็นชนิด pleonanthic คือจะสร้างช่อดอกออกมาจากลำต้น ตรงส่วนที่มีกาบใบหุ้ม โดยทยอยสร้างไม่พร้อมกัน หลังจากออกดอกแล้วส่วนยอดก็ยังสามารถเจริญเติบโตเป็นลำต้นไปได้เรื่อยๆ ผลค่อนข้างกลม มีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่แล้วมีสีเหลืองขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร เนื้อในมีรสฝาด เมล็ดแข็ง ผิวขรุขระ หนึ่งผล มี 1-2 เมล็ด เมื่ออายุได้ 2-3 ปี จะเริ่มติดดอก และให้ผลที่สามารถนำไปขยายพันธุ์ได้ ติดผลราวเดือนมีนาคมถึงเมษายน พบตามป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ที่ชุ่มชื้น

yayton yaypon yayponsoog yaypah

สรรพคุณ
ตำรายาไทย หัวหรือรากและยอดหวาย มีรสขมเย็นเมาเล็กน้อย ใช้ปรุงยากินดับพิษร้อน พิษไข้ แก้เซื่องซึม แก้พิษ ตับปอดพิการ แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ หน่อหวาย คือลำต้นอ่อนของหวาย แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน มีกาบแข็งเต็มไปด้วยหนามหุ้ม เนื้อในอ่อน กรอบ สีขาว มีรสขม นำมาปรุงอาหาร ก่อนนำไปปรุงอาหารต้องนำไปต้มให้หายขม จากนั้นนำไปทำแกง ดอง หรือจิ้มน้ำพริก หน่อหวาย มีธาตุสังกะสี ในปริมาณสูง ใช้เสริมธาตุสังกะสี ช่วยเจริญอาหาร ลดภาวะเครียด ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศชาย เนื้อหุ้มเมล็ด รับประทานได้

ประโยชน์ทางอาหาร : ส่วนที่นำมาใช้ยอดอ่อน
โครงการอนุรักษ์และวิจัยหวายเพื่อบริโภค สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พบว่ามีโปรตีนมากถึง 25% มีธาตุอาหารรองที่สำคัญ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และสังกะสี
สรรพคุณด้านสมุนไพร : รสขมเย็น แก้ไอ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ
แกงหวาย
สรรพคุณ : ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องร่วง แก้ร้อนใน บำรุงน้ำดี เป็นอาหารบำรุงธาตุไฟ
แสลง : ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ หากรับประทานบ่อย ๆ จะทำให้ท้องผูกมากขึ้น ผู้เป็นโรคเหน็บชา อัมพฤกษ์หากรับประทานบ่อย ๆ จะทำให้การรักษาไม่ได้ผล เนื่องจากแกงหวายมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น
ตำหวาย
สรรพคุณ : สมานแผลในกระเพาะและลำไส้ ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยระบายท้อง เป็นอาหารบำรุงธาตุดิน
แสลง : –
การประกอบอาหาร ภาคอีสาน,ภาคเหนือ : แกงหวาย ผักพริกแกง ซุปหวาย ตำหวาย แกงแค เผา-ลวก จิ้มน้ำพริก ฯลฯ

การเลือกซื้อต้นหวายอ่อน : ตัดจากกอต้นใหม่ๆ สดๆ สังเกตตรงที่กำลังแตกใบอ่อนออกมาประมาณ 1 ฝ่ามือ
การแปรรูปถนอมอาหาร : หวายอบแห้ง , หวายในน้ำเกลือ

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด ,การแยกกอ
การปลูก :

  1. การเพาะเมล็ด นำเมล็ดหวายที่แก่จัดมากะเทาะและล้างเมือกสีแดงออก แล้ว นำมาผึ่งลมให้แห้งประมาณ 1 – 2 วัน แล้วนำมาเพาะลงในภาชนะที่รองด้วยวัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี เช่น ขุยมะพร้าว แล้วใส่ดินตามลงไป โรยเมล็ดหวาย กลบดินทับหนาประมาณ 1 ซม. รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยพลาสติกเพื่อไม่ให้น้ำระเหย เก็บไว้ในที่ร่มรำไร ดูแลอย่าให้ดินแห้ง เมื่อกล้าหวายสูงประมาณ 2 – 5 ซม. ย้ายชำลงในถุงที่เตรียมไว้ ขนาด 5 x 8 นิ้ว เมื่อกล้าหวายมีความสูงประมาณ 30 ซม. หรือมีใบ 4 – 6 ใบ นำมาปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ขนาด 30 x 30 x 30 ซม. ระยะห่าง 2 x 2 เมตร โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักหลุมละประมาณ 1/2 ปี๊บ แล้วใส่ดินผสมปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต หลุมละ 60 กรัม จากนั้นนำกล้าหวายที่เตรียมไว้ลงปลูก เมื่อหวายมีอายุได้ 6 เดือน หลังย้ายปลูก ควรทำการเสริมดินที่โคนต้น เพื่อไม่ให้รากลอย การดูแลรักษาใส่ปุ๋ย
    การเตรียมแปลงเพาะ การเพาะกล้าหวาย นิยมเพาะลงในแปลงเพาะ ที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อน เพราะจัดทำได้สะดวก และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง แล้วจึงย้ายชำกล้าลงถุงพลาสติก แล้วเก็บรักษาไว้ในเรือนเพาะชำ ขนาดของแปลงเพาะ จะมีขนาดเท่าใด ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของเมล็ดที่จะเพาะในครั้งหนึ่ง ๆ หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ความกว้างของแปลงเพาะประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จำกัด แปลงเพาะควรหลีกเลี่ยง การได้รับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ โดยการคลุมหลังคาแปลงเพาะ ด้วยทางมะพร้าว หรือใบปาล็ม ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นวัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ดหวาย จะประกอบด้วยส่วนผสมของหน้าดินประมาณ ๗๕% และทรายประมาณ ๒๕% วิธีการเพาะ ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดหวายแต่ละชนิด หวายที่มีเมล็ดขนาดเล็ก ใช้วิธีการหว่านกระจาย ส่วนหวายที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ จะฝังเมล็ดเป็นแถว หลังจากหว่านเมล็ดเรียบร้อยแล้ว จะใช้ขี้เลื่อยโดยทับบาง ๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้น หรือสภาพแวดล้อมให้สม่ำเสมอ เมล็ดหวายโดยปกติจะเริ่มงอกหลังจากเพาะประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ และจะงอกหมดภายใน ๙-๑๐ สัปดาห์
  2. การแยกกอ แยกหน่อ หรือต้นกล้าที่แตกออกจากกอหวายเดิมมาปลูก โดยคัดเลือกขนาดหน่อที่ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ใช้มีดคมๆ ตัดออกจากกอ โดยให้มีส่วนของรากติดมากๆ แล้วย้ายชำลงในถุงพลาสติก การย้ายชำให้ตัดใบออกเพื่อลดการคายน้ำ จนกล้าตั้งตัวได้นำไปปลูก ซึ่งดูแลรักษาเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด

การดูแลรักษา

  • ควรไถพรวนเพื่อปราบวัชพืช อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ใส่ปุ๋ยคอกปีละ 2-3 กิโลกรัมต่อปี หวายจะแตกกอได้เร็วขึ้น
  • เนื่องจากหวายไม่ค่อยมีโรค หรือแมลงรบกวน จึงไม่ควรใช้สารเคมีใดๆในแปลงหวาย
  • หลังจากตัดเก็บ ควรใส่ปุ๋ยคอกตรงโคนต้น กอละประมาณ 1-2 ลิตร จะทำให้หวายแตกหน่อใหม่ได้เร็วขึ้น
  • ใบและกาบที่ลอกออกจากหน่อหวาย ควรนำไปเผาไฟเพื่อกำจัดหนาม และทำลายแหล่งศัตรูหวายที่อาจเกิดขึ้น

yayklasyaynor

การเก็บเกี่ยว
จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อหวายมีอายุ 10 – 14 เดือน หลังย้ายลงปลูกในแปลง โดยจะตัด 2 – 3 อาทิตย์ต่อครั้ง
การตัดเก็บหวาย

  • ใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ขนาดใหญ่ โดยสวมถุงมือหนัง สวมหมวกและรองเท้าบูท เพื่อป้องกันอันตรายจากหนามหวาย
  • ต้นหวายที่จะตัดควรมียอดแทงขึ้นมาประมาณ 5-6 นิ้ว หากยอดแทงขึ้นสูงกว่านี้ จะได้ส่วนอ่อนที่ใช้รับประทานน้อยลง
  • การตัดหน่อหวาย ต้องตัดให้สูงกว่าพื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อป้องกันการตัดถูกตาข้างส่วนโคนของหวาย ซึ่งจะเจริญเป็นหน่อหวายต่อไป

การตลาดเกษตรกรจะเริ่มตัดเก็บผลผลิตได้เมื่อหวายอายุได้ 2 ปี โดยกอหวายที่สมบูรณ์อายุ 2 ปี จะมีหน่อทั้งกอ 6-8 หน่อ ซึ่งจะเป็นหน่อที่สามารถตัดขายได้ 3-4 หน่อ และในปีต่อๆไป หวายจะให้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆสำหรับราคารับซื้อจากเกษตรกรโดยตรง พ่อค้าจะรับซื้อในราคาหน่อละ 3 บาท เมื่อถึงผู้บริโภคแล้วราคาจะสูง ถึงหน่อละ 5-7 และหน่อหวายที่ตัดแล้ว สามารถรอการจำหน่ายได้ถึง 7 วัน

หน่อหวายที่ตัดท่อนแล้วพร้อมจะนำไปปรุงอาหาร
การปลูกหวายกินหน่อมีข้อดีตรงที่ปลูกครั้งเดียวก็สามารถตัดหน่อไปขายได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งการใส่ปุ๋ยคอกก็ใส่แค่ปีละครั้งสองครั้งเท่านั้น และภายในหนึ่งปีครึ่งถึงสองปี นับจากวันปลูกก็สามารถตัดยอดขายได้แล้ว โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน แถมมันยังเป็นพืชที่มีอายุยาวนานไม่น้อยกว่า 10 ปี และการดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยาก

โรคแมลง ศัตรูที่สำคัญ : มีน้อย
การเก็บเกี่ยว : จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อหวายแตกกอ มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ตลอดปี (6-8 ลำ/กอ)

วิธีการปลูกหวายกินหน่อ
สำหรับการคัดเลือกพันธุ์ หวาย เพื่อปลูกตัดหน่อขายนั้นควรเป็นหวายใบกว้างและยาว มีกาบใบหุ้มมากกว่า 3 ใบ ลำต้นใหญ่ตรงแตกกอมาก ไม่มีโรคและแมลงรบกวนติดมากับต้นพันธุ์ที่จะปลูก เช่น หวายใหญ่หนามขาว หวายใหญ่หนามแดง และหวายกลาย จึงเหมาะสมที่จะปลูกเพื่อการตัดหน่อหรือจะเพาะพันธุ์เองก็สามารถทำได้โดยนำเมล็ดหวายสุกมาห่อผ้า แช่น้ำไว้ 2-5 วัน ระหว่างนั้นจัดเตรียมแปลงเพาะกล้าที่เหมาะสมควรเป็นขนาด 1 x 4 เมตร ผสมดินปลูกด้วยสูตร ดิน ปุ๋ยคอก แกลบ ในอัตราส่วนเท่ากันคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรับพื้นที่ดินปลูกให้เรียบ ทำร่องเป็นทางยาวตลอดความยาวของแปลง เพื่อสะดวกในการถอนไปปลูกในแปลงปลูก โดยแต่ละร่องห่างกัน 8-10 ซม. จากนั้นโรยเมล็ดหวาย ให้กระจายในร่อง ไม่บาง แต่ก็ไม่หนาแน่นเกินไป จากนั้นกลบร่อง เพื่อป้องกันเมล็ดลอยตัวขึ้นมาบนผิวดินในขณะรดน้ำ เอาฟางแห้งคลุม ป้องกันการฟุ้งกระจายของดิน และรักษาความชื้นของดินรดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 ครั้งติดต่อกัน 2-3 เดือน เมล็ดหวายก็จะงอกออกมา ถอนต้นกล้าหวายไปปลูกในแปลงปลูก โดยการขุดหลุมรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก นำต้นกล้าลงปลูกคลุมด้วยดินปลูกปิดทับด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็นต่อเนื่อง เมื่อหวายเริ่มโต แทงหน่ออ่อนเพิ่มขึ้นควรตัดแต่งให้ทรงพุ่มโปร่ง จะทำให้ได้หน่อหวายต้นใหญ่ อวบ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ต้นหวายจะมีหนาม

yaykeb

ต้นหวายจะมีหนามแหลมคมดังนั้นในการปลูกควรจะระวังการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากหนามของมันให้มาก
เมื่อปลูกแล้วก็ดูแลตามปกติ รดน้ำตามความเหมาะสม ตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งพอย้ายลงปลูกได้ 2 เดือน ก็พรวนดินถอนหญ้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับใส่ปุ๋ย โดยในการใส่ปุ๋ยครั้งแรกนั้นให้ใส่ในปริมาณน้อยๆ ก่อน เพราะทำให้ดินเค็ม ต้นกล้าจะตายได้ และหลังจากนี้ไปให้ใส่ปุ๋ยทุกเดือน ส่วนการจะเพิ่มปุ๋ยมากหรือน้อยให้สังเกตการเจริญเติบโตของต้นกล้าเป็นหลัก นอกจากนี้แล้วหวายยังเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ไม่ตายง่าย ๆ ในช่วงฤดูแล้งถ้ามีน้ำรดอย่างเพียงพอ และใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้ดี หวายก็สามารถแตกหน่อให้ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่องสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ เมื่อหวายสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วในช่วงต้นฤดูฝน และก่อนจะหมดฝนแนะนำให้ใส่ปุ๋ย เพื่อบำรุงต้นให้ได้ผลผลิตตลอดทั้งปี หน่อหวายที่ตัดท่อน

ที่มา
สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น