หางนกยูงไทยเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ ๔- ๕ เมตร ใบย่อยเล็กๆ คล้ายใบหางนกยูงฝรั่ง ดอกมีทั้งสีแดงและสีเหลือง เป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากในฤดูร้อน ฝักแบนเล็กๆ คล้ายฝักถั่วแปบ ขึ้นได้ทั่วทุกภาคตามสวน ถนน บ้าน และวัด ปลูกเป็นไม้ประดับ บ้านเมืองให้สวยงาม ให้ความร่มเย็น เนื้อไม้ผุเร็ว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Caesalpinia pulcherrima (L.) Sw.
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE / CASALPI-NIACEAE
ชื่อสามัญ: Barbados Pride , peacock Flower
ชื่อท้องถิ่น: ขวางยอย (นครราชสีมา), จำพอ, ซำพอ ( แม่ฮ่องสอน), ซมพอ, ส้มผ่อ, ส้มพอ (ภาคเหนือ), นกยูงไทย
หางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Delonix regia(Bojer) Raf. อยู่ ในวงศ์ Caesalpinioideae เช่นเดียวกับ นนทรี ต้นขี้เหล็ก ประดู่แดง ชงโค คูน กาหลงกัลปพฤกษ์ และจามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกเพื่อความสวยงามโดยปัจจุบันมีต้นหางนกยูงสองชนิดคือหางนกยูงฝรั่ง และหางนกยูงไทยที่มีเป็นไม้พุ่มและดอกสีสดใสหลากสี
ต้นหางนกยูงฤดูร้อนหางนกยูง หรือที่เรียกว่านกยูง, นกยูงฝรั่ง, ชมพอหลวง, ส้มพอหลวง หงอนยูง ,อินทรี และยูงทอง พันธุ์ไม้จากทวีปแอฟริกาอยู่ในวงศ์พืชตระกูลถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้งทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่งมีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ
ลักษณะ
หางนกยูงเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นขนาดเล็ก และแตกกิ่งก้านสาขามาก เรือนยอดจะโปร่งกิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่เป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่หรือเปลือกของต้นจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ลำต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร เป็นไม้ใบรวมออกใบเป็นแผงซึ่งแผงๆหนึ่งมีใบย่อยอยู่หลายคู่ แต่ละคู่จะตรงข้ามกัน และใบย่อยตรงส่วนปลายจะไม่มีคู่ ลักษณะใบย่อยจะกลมมน ปลายใบมนแต่โคนใบแหลมออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ตามก้านใบ ก้านใบก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ราวๆ 8-12 คู่ ขนาดของใบย่อยกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือส่วนยออดของต้น ช่อดอกจะยาวเกือบ 1 ฟุตได้ ดอกของหางนกยูงมีอยู่หลายสีเช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม มีอยู่ 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ราวๆ 1-1.5 นิ้ว ขอบของกลีบจะยับย่นเป็นเส้นลอนสีเหลือง เกสรอยู่กลางดอกเป็นเส้นงอนยาวโผล่พ้นเหนือดอกออกมา ลักษณะของผลเป็นฝักแบน และมีเมล็ดอยู่ภายในมาก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่ายและขึ้นง่าย ปลูกได้ในดินทุกชนิดและยังทนทานอีกด้วย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การขยายพันธุ์: การเพาะเมล็ด
ประโยชน์
ที่มา สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล.
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, ไม้ดอก