หางไหลหรือโล่ติ๊นนับว่าเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี และไม่เป็นอันตรายต่อคน ซึ่ง ผศ.อรุณ โสตถิกุล นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจของหางไหลว่าหางไหล หรือโล่ติ๊น เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ PAPILONACEAE ซึ่งมีสารโรติโนนเป็นสารพิษในการกำจัดแมลง เป็นไม้เลื้อย เจริญงอกงามในป่าชื้นและชายแม่น้ำลำคลองทั่วไป ในประเทศ ไทยพบว่ามี 21 ชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบว่ามีสารพิษช่วยกำจัด ศัตรูพืชมาก และนิยมปลูกเป็นการค้าคือ หางไหลขาว มีสารโรติโนนประ มาณ 7-8% และหางไหลแดง มีสารโรติโนนน้อยกว่า แต่โดยมากจะพบชนิด แดงมากกว่าชนิดขาว สำหรับชื่อตามท้องถิ่นต่างๆ ก็เรียกแตกต่างกันไป อาทิ โล่ติ๊น หางไหล เครือไหล ไหลน้ำ กะลำเพาะ เป็นต้น
“โล่ติ๊น” หรือมีอีกชื่อหนึ่งที่เรียกกันว่า “หางไหล”มีศักยภาพที่จะนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูได้เป็นอย่างดี “โลติ๊น” หรือ “หางไหล” ในบ้านเรามีอยู่ 2ชนิด คือ หางไหลแดง (Derris eliptica) จะมีใบย่อย 7 ใบขึ้นไป และอีกชนิด คือ หางไหลขาว (Derrismalacecum) มีจะใบย่อย 5 ใบ พืชชนิดนี้เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็ง (Twining shurb) ลักษณะเป็นเถา ใบออกเป็นช่อ(Compound leaves) ดอกมีขนาดเล็ก สีแดงอ่อนเหมือนดอกถั่ว
ชื่อสามัญ : Tuba root
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris sp.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE- PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น : กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ, ไหลน้ำ (ภาคเหนือ) โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) , อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะ
หางไหลจะมียอดใบอ่อน มีขนอ่อนสีน้ำตาล ปนแดง เถาหรือลำต้นส่วนที่แก่มีสีน้ำตาลปนแดงเช่นกัน แต่เริ่มมีสีเขียวชัด ตรงเปลือกที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง ลำต้นกลม ใบแก่มีสีเขียว ในก้านใบหนึ่งจะมีใบตั้งแต่ 5, 7 และ 11 ใบ พื้นใบด้านบนเป็นสีเขียว มีเส้นคล้ายก้างปลา แต่ไม่ยาวจนชิดขอบใบ ด้านใต้ใบจะเห็นเส้นใบชัดเจนก ว่าด้านบน จะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม มีลักษณะคล้ายดอกแคฝรั่ง ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นสีชมพูอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ผลเป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล เมื่อแก่เต็มที่จะ แตกออกเมล็ดร่วงลงบนพื้นดิน เมื่อมีความชื้นพอเหมาะจะงอกและเจริญเติบ โตต่อไป
พันธุ์หางไหลมีทั้งหมดกว่า 200 ชนิด การเรียกชื่อหางไหล แดงอาจเรียกตามลักษณะสีของสารสกัดที่ได้จากราก ซึ่งจะมีสีแดง แตกต่างจากหางไหลขาวที่สารสกัดจากรากจะมีสีขาวขุ่นคล้ายสีน้ำนม ส่วนยอดของทั้ง 2 ชนิดจะคล้ายกันมาก แตกต่างที่สีของหางไหลแดง ค่อนข้างจะเข้มเป็นสีชมพู ส่วนหางไหลขาวมีสีน้ำตาลแดงปนส้ม
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำ โดยใช้กิ่งที่มีขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ยาวประมาณ 25 ซ.ม. ตัดใบออกไปให้หมด ถ้าเหลือไว้จะมีจำนวนรากน้อย การปักชำควรมีความชื้นสม่ำเสมอ โดยให้น้ำ หล่อเลี้ยงตรงส่วนล่างวัสดุไว้เสมอจึงจะทำให้กิ่งชำมีโอกาสแห้งตายน้อย ในช่วงฤดูแล้งควรปักชำในถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและควรฉีดสาร ป้องกันเชื้อราในถุงชำ ระหว่างการปักชำควรให้ปุ๋ยยูเรีย (0.1%) จำนวน 3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน ปักชำไว้ประมาณ 45 วัน จึงย้ายกิ่งชำลงถุงดำพักไว้ ในที่ร่มรำไร และให้ปุ๋ยยูเรียสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน กิ่งชำจึงจะมีความพร้อมที่จะย้ายไปปลูกในแปลงและควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะมีความชื้นในดินสูง
หางไหลเป็นพืชที่เลื้อยไปตามรั้วหรือต้นไม้ที่ยืนต้นอื่นๆ การปลูกในลักษณะที่เป็นแปลงขนาดใหญ่ควรปล่อยให้เลื้อยไปตามพื้นดิน เมื่อมีอายุ 2 ปี และทำการเก็บเกี่ยวทั้งแปลงแล้ว ควรปลูกใหม่หมุนเวียนกัน ไป โดยระยะปลูกห่างประมาณ 1×1.5 เมตร ปีแรกต้องมีการกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นจะเลื้อยคลุมพื้นที่ทั้งหมด ในปีแรกควรให้ปุ๋ยยูเรียทุก 3 เดือน และดินต้องมีความชื้นที่เพียงพอ การเตรียมหลุมควรมีขนาด 0.5×0.5×0.5 เมตร และเพื่อให้รากเจริญดีควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมมากๆ ในช่วงปีที่ 2 ควรให้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25 ก.ก.ต่อไร่ จำนวน 2 ครั้ง หางไหลอายุ 2 ปี จะได้รากสด 200 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าปล่อยไว้ 3 ปี จะได้รากสด 600-700 กิโลกรัมต่อไร่
การเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บเกี่ยวจะขุดในช่วงที่มีฝนตก เพราะจะทำให้ดินอ่อน โดยตัดใบ กิ่ง ที่ไม่ต้องการออก แล้วใช้สามขาตั้ง เอาไม้งัดใส่เข้าไปร้อยโซ่ ที่โคนต้นชิดดิน แล้วเอาโซ่คล้องหัวไม้แล้วงัดขึ้นมาทั้งรากทั้งโคน จากนั้นนำ รากสดไปใช้ได้ทันที หรือผึ่งในที่ร่มให้แห้งเก็บไว้ใช้ได้นานปี โดยยังมีฤทธิ์ เหมือนเดิม การนำรากแห้งมาใช้ต้องแช่น้ำก่อนเพื่อให้รากนิ่ม แล้วนำมาทุบ ให้ละเอียดจึงนำไปสกัดเป็นสารกำจัดศัตรูพืชได้ บางครั้งนำรากสดมาหั่นเป็น ชิ้นเล็กๆ ตากให้แห้งแล้วบดเป็นผงก็เก็บไว้ใช้ได้เช่นกัน
รากของหางไหลนี้ถ้านำมาทุบแล้วแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืน น้ำจะขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว นำไปพรมพืชหรือฉีดพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หางไหลยังสามารถปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยสดบำรุง ดิน และยังสามารถใช้เป็นพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นและ การชะล้างหน้าดินได้ สำหรับคุณประโยชน์ด้านสมุนไพรนั้น ในสมัยโบราณ แพทย์ในชนบทใช้ผสมกับยาอื่นๆ ปรุงเป็นยาขับระดูสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือ ก้อน รากแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สำหรับดองสุราใช้เป็นยาขับและบำรุงโลหิต ยาถ่ายเส้นเอ็น ขับลม และขับเสมหะ
ลักษณะการออกฤทธิ์ต่อศัตรูพืช
จากการทดสอบสารสกัดที่ได้ จากหางไหลกับแมลงหลายชนิดพบว่า มีฤทธิ์ถูกตัวตายและกินตาย นอกจากนี้ยังมีแมลงบางชนิดไม่ยอมกินใบพืชที่มีการฉีดพ่นสารสกัดจากหาง ไหล ซึ่งอาจเรียกได้ว่ามีผลยับยั้งการกิน เช่น หนอนผีเสื้อกินใบปอเทือง เป็นต้น การสกัดหางไหล ทำได้โดยใช้น้ำแอลกอฮอล์ 10% Sodium hydrogen sulfate หรือ Dichioromethane แต่โดยทั่วไปจะใช้แอลกอฮอล์ เพราะหาง่าย ราคาไม่แพงเกินไป โดยใช้หางไหลที่บดเป็นผง แช่ในตัวทำ ละลาย ถ้าเป็นน้ำจะใช้ 10 กรัมต่อ 1 ลิตร แช่ 1 คืนแล้วนำไปใช้ได้เลย ส่วนตัวทำละลายแอลกอฮอล์ใช้อัตรา 200-300 กรัมต่อ 1 ลิตร แช่ไว้ 7-10 วัน ทำการกรองและนำไปเจือจางก่อน ใช้ที่ความเข้มข้น 1-5% ตามขนาด ของแมลง
สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในหางไหล เรียกว่า โรตีโนน (Rotenone) มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ บ้านเรามีหางไหลอยู่ 2 ชนิดที่มีสารโรตีโนนสูง คือ ชนิดแดง และชนิดขาว ซึ่งพบว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5 เปอร์เซ็นต์ จึงมีงานศึกษาวิจัยเพื่อปลูกเป็นการค้าศึกษาช่วงอายุที่สารสำคัญในเหง้าสูงสุด และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปสารสกัด
สำหรับศัตรูพืชที่ใช้สารสกัดจากหางไหลกำจัดได้ผลดีนั้น มีเพลี้ยจักจั่นมะม่วง ด้วงหมัดผัก ด้วงเต่าแตง เพลี้ยไฟมะเขือเทศ ไรขาว พริก มวนร่างแหโหระพา และยังใช้ป้องกันกำจัดศัตรูสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้อีก เช่น หมัดสุนัข เห็บวัว ไรไก่ เป็นต้น
สารสกัดที่ได้จากรากหางไหล
ใช้กับแมลงหลายชนิด มีฤทธิ์ถูกตัวตายและกินตาย ใช้ได้ผลดีกับด้วงหมัดผัก ด้วงเต่าแตง เพลี้ยไฟมะเขือเทศ ด้วงงวงตัดใบมะม่วง เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยอ่อนผักกาด ส่วนหนอนผีเสื้อจะมีผลยับยั้งการกิน ใช้ก าจัด แมลงอื่นๆได้เช่นหมัดสุนัข เห็บวัว ไรไก่ และปลวกพ่นให้ถูกตัว
วิธีการสกัด ใช้รากสด 200-300 กรัม/น ้า 20 ลิตร น ามาทุบแช่น ้า 1 คืน กรองเอาน ้าไปใช้ หรือ อาจน ามาท าเป็นผงแห้งแล้วใช้แอลกอฮอล์สกัด ในอัตรา 200 กรัม/แอลกอฮอล์ 1 ลิตร แช่ไว้อย่างน้อย 5 วัน จากนั้นน ามาเก็บไว้ในขวดสีชาไม่ให้โดนแสงสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 8 เดือน เวลาจะน ามาใช้เจือจางด้วยน้ำ ในอัตรา200-300 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร การใช้สารสกัดที่ได้ผลดี คือควรพ่นให้ถูกตัวแมลง
สารฆ่าแมลง เพลี้ย และไรแดง
ส่วนประกอบและการจัดทำ นำหางไหล (รากของต้นโล่ติ๊น) 1.5 กิโลกรัม ทุบให้แหลกหมักด้วย นำสะอาด 10 ลิตร หมักนาน 1 คืน การนำไปใช้ นำน้ำที่หมักผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตามใบ ทุก 7 วัน ก็จะสามารถกำจัดแมลง เพลี้ยทุกชนิดและไรแดงได้
ที่มา
สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ป้ายคำ : สมุนไพร