หูกวาง ไม้ผลัดใบพื้นบ้าน

3 สิงหาคม 2557 ไม้ยืนต้น 0

หูกวางเป็นพันธุ์ไม้ในป่าชายหาดพบขึ้นกระจายตามชายฝั่งทะเล ปลูกได้ทั่วไปตั้งแต่อินเดียถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียทางด้านเหนือ เป็นพืชทิ้งใบโดยทั่วไปจะทิ้งใบ 2 ครั้งใน 1 ปี ประมาณเดือนมกราคม-เดือนกุมภาพันธ์ และเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม ก่อนจะทิ้งใบใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีส้มแดง ปัจจุบันนี้ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเซีย

หูกวางเป็นไม้ผลัดใบ เปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้สีน้ำตาล ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาคือทั้งต้น ราก ใบ และผล โดยทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย แก้บิด ลดไข้ ขับน้ำนม ให้ประจำเดือนมาปกติ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถเตรียมยาได้ด้วยตนเองโดยนำทั้งต้น (สดหรือแห้ง) มาล้างให้สะอาด ใส่น้ำนำไปต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ส่วนเปลือกของต้นก็สามารถใช้เป็นยาสมุนไพรได้โดยมีสรรพคุณคือใช้รักษาอาการตกขาวที่ผิดปกติ แก้อาการท้องเดินได้ โดยนำเปลือกมาล้างให้สะอาด นำไสำหรับใบช่วยขับเหงื่อ รักษาอาการผื่นคันทางผิวหนัง รักษาโรคเรื้อน รักษาอาการไขข้อ ช่วยลดการอักเสบของทอนซิล และช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยใบใช้เป็นทั้งยาภายนอกและยาภายในได้ เมื่อใช้เป็นยาภายนอกก็นำใบมาล้างให้สะอาด นำไปตำและใส่น้ำสะอาด นำไปทาบริเวณผิวหนังที่เป็นหรือบริเวณไขข้อที่ปวด และถ้าใช้เป็นยาภายในก็นำใบมาล้างให้สะอาด ใส่น้ำ นำไปต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรหยุดและไปพบแพทย์ สำหรับผลนำมารับประทานช่วยระบายได้ ปต้ม นำน้ำที่ได้มาดื่ม กิ่งแตกเวียนรอบลำต้น กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และเมื่อแก่จะหลุดร่วงไป

hookwangton

ชื่อสามัญ (ไทย) โคน (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตัง) ตาปัง (พิษณุโลก สตูล) ตาแปห์ (มลายู นราธิวาส) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) Singapore Alrnond, Tropical Almond, Umbrella Tree, Indianalmond, Sea Almond, Bengal Almond.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa linn.
วงศ์ Combretaceae

ลักษณะ
หูกวางเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10-15 เมตร บางครั้งพบสูงถึง 30 เมตร มีเรือนยอดหนาแน่น เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ

  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นกระจุกหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับกว้างประมาณ 8-12 ซม. ยาว 2-25ซม. ปลายแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนค่อนข้างเว้า มีต่อมหนึ่งคู่ กิ่งจะแตกออกเป็นชั้น ๆ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
  • ดอก ออกเป็นช่อ แบบติดดอกสลับตามซอกใบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นแท่งยาว 8-12 ซม. ดอกมีขนาดเล็กไม่มีกลิ่นหอม ในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกสมบูรณ์เพศอยู่ด้านล่าง (บริเวณโคนช่อ) ส่วนด้านบนจะมีดอกเพศผู้อย่างเดียว กลีบเกลี้ยงโคนติดกันปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก ไม่มีกลีบดอกเกสรผู้มี 10 ชั้น ออกดอกสองครั้งใน 1 ปี คือในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม (หลังจากแตกใบใหม่) และอีกครั้งหนึ่งในฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
  • ผล เป็นผลเดี่ยวในแต่ละผลมี 1 เมล็ด ผลแก่จะมีสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลแก่ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
  • ลักษณะเนื้อไม้ มีสีแดง เป็นกลีบเล็กน้อย มีเสี้ยนละเอียดสามารถขัดชักเงาได้ดี แต่ไม่พบต้นใหญ่มากในประเทศไทย

hookwangking hookwangbai hookwangdok hookwangyod hookwangpon

การใช้ประโยชน์ของต้นหูกวาง
เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้ ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย
หูกวางเป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นไม้ประดับตามข้างทางในประเทศไทยตั้งแต่เหนือจดใต้ นอกจากนี้แล้วไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างด้วยกันคือ

  1. เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างได้ดี เพราะเป็นไม้ที่มอดและแมลงไม่รบกวาน
  2. ใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร (ก่องกานดา,2528) ทั้งต้น เป็นยาสมาน แก้ไข้ท้องร่วง บิด ยาระบาย ขับน้ำนม แก้โรคคุททะราด ราก ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ เปลือก มีรสฝาดใช้เป็นยาขับลม สมานแผล แก้ท้องเสีย ตกขาว โรคโกโนเรีย ใบ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ท่อนซิลอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารและตับ ใบที่แดงเป็นยาขับพยาธิ ผสมน้ำมันจากเนื้อในเมล็ดรักษาโรคเรื้อน ทาหน้าอก แก้อาการเจ็บหน้าอก ทาไขข้อและส่วนของร่างกายที่หมดความรู้สึก ผลใช้เป็นยาถ่าย
  3. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมบางอย่าง คือ เปลือกและผล มีสารฝาดมากสามารถใช้ในอุตสาหกรรมย้อนสีผ้าได้ ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก
  4. การใช้ประโยชน์อื่น ๆ เนื้อใน เมล็ดรับประทานได้ ทั้งยังนำเอาไปทำน้ำมัน เพื่อใช้บริโภคและทำเครื่องสำอางได้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอีกด้วย อ้อ…และใบหูกวางแห้งก็มีสารแทนนินที่ทำให้สภาพน้ำเหมาะสมกับการใช้เลี้ยงปลากัดอีกด้วยจ้า

การขยายพันธุ์
ในธรรมชาติหูกวางจะขยายพันธุ์โดยเมล็ด ซึ่งน้ำหรือน้ำทะเล และค้างคาวช่วยในการกระจายพันธุ์ด้วย ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นยังไม่มีการศึกษากัน

หูกวาง เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เมล็ดทุกปี การเก็บเมล็ดเพื่อนำมาขยายพันธุ์ควรเก็บในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เมล็ดไม้หูกวางเป็นเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ มีเปลือกหนา เหนียว และเปลือกในแข็ง จากการศึกษาเพาะชำเมล็ดไม้หูกวางของศิริพันธ์ ชำนาญกิจ (2524) ซึ่งทำการทดลองที่สถานีวนกรรม อ.งาว จ.ลำปาง โดยใช้ทรายหยาบปานกลางเป็นวัสดุเพาะและวัสดุกลบเมล็ด โดยแบ่งระดับของการได้รับแสงเป็น 3 ระดับคือในที่ร่ม (0%) ในเรือนเพาะชำ (50%) และกลางแจ้ง (100%) กลบเมล็ดค่อนข้างหนาประมาณ 1 นิ้ว ใช้ฟางข้าวปกคลุมแปลงทดลองเพื่อควบคุมความชื้นในแปลง ผลการทดลองปรากฏว่า การเพาะในกลางแจ้งให้อัตราการงอกที่ดีกว่าการเพาะในเรือนเพาะชำและในที่ร่ม โดยมีอัตราการงอกโดยเฉลี่ยดังนี้ กลางแจ้ง 70% ในเรือนเพาะชำ 46.75% และในที่ร่ม 43.25% เพราะฉะนั้นในการเพาะเมล็ดหูกวางให้ได้อัตรางอกที่ดีควรเพาะในที่โล่งแจ้ง วัสดุเพาะอย่างไรก็ได้ การกลบเมล็ดควรกลบให้หนาไม่เกิน 1 นิ้ว และใช้ฟางข้าว หรือวัสดุอย่างอื่น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันกับแปลงเพาะ

การปลูก การเจริญเติบโต และการปรับปรุงพันธุ์
หูกวาง เจริญงอกงามดีในที่ที่มีการระบายน้ำได้ดีดินร่วนพอควรหรือปนทราย ควรปลูกเป็นไม้ให้ร่มมากกว่าเป็นไม้ประดับ เพราะมีกิ่งเป็นชั้น ๆ เรือนยอดหนาแน่น สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการปลูก และอัตราการเจริญเติบโต ตลอดทั้งการปรับปรุงพันธุ์ไม้หูกวางยังไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจัง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น