หูเสือเป็นผักกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย โดยส่วนตัวแล้วชอบหูเสือมาก ทั้งกลิ่นที่หอมเฉพาะและรูปทรงของใบที่มีหยักสมดุล สวยงาม อวบอ้วน ดูเป็นใบไม้ที่ชัดเจนมั่นคงในตัวเองดี
รสชาติของหูเสือ บางคนบอกว่าคล้ายกับออริกาโน (oregano) ที่ใช้ประกอบอาหารฝรั่งชนิดหนึ่ง บางคนก็รับประทานหูเสือไม่ได้เพราะมันมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นฉุน แต่ก็ไม่ได้ฉุนมากมายอะไรนักหนานอกจากเป็นผักสดแล้ว ยังนำใบหูเสือมาทำอาหารได้ด้วย เช่น ผัดใบหูเสือใส่หมูสับ อาหารชนิดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไอโดยเฉพาะ
นิยมปลูกไว้ที่บ้านเพื่อเก็บยอดอ่อนหรือใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ ใช้แทนผักชีฝรั่ง(ผักชีใบเลื่อย)บ้าง ใช้แทนออริกาโนบ้าง หรือใช้ใส่ในอาหารเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาวและช่วยย่อยเนื้อสัตว์บ้าง เพื่อดับกลิ่นคาวและทำให้อาหารมีกลิ่นหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. ( Syn. Coleus amboinicus Lour.)
ชื่อสามัญ : Indian borage
วงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)
ชื่ออื่น : หอมด่วนหลวง (เหนือ), ผักหูเสือ, เนียมอีไหลหลึง, โฮว้หีเช่า (จีน)
หูเสือ หรือ COLEUS AMBOINICUS LOUR อยู่ในวงศ์ LABIATEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี นิยมปลูกตามบ้านมาแต่โบราณเพื่อเก็บเอาใบสดกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกชนิดต่าง ๆ และลาบ ก้อย ชาวบ้านทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมรับประทานกันมาก ขยายพันธุ์ง่าย ๆ ปักชำต้นก็ขึ้นแล้ว มีชื่อเรียกอีกคือผักหูเสือ หูเสือไทย อีไหล หลึง หูเสือจีน โฮหิเช้า (จีน) หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ) และ หูเสือ (ภาคอีสาน) ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบ คั้นเอาน้ำหยอดแก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู แก้หูเป็นนำหนวกดีมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นอวบน้ำ มีขนหนาแน่น
สารสำคัญที่พบ : ในใบ เช่น น้ำมันหอมระเหย thymot, carvacrol, terpinene, cyperene เป็นต้น
สรรพคุณทางยา : ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งยีสต์ ยับยั้งเชื้อรา ฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่น ยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV และมีฤทธิ์ต้นอนุมูลอิสระ มีค่าดัชนีแอนติออกซิเดนท์ ๔.๗๔ มก. วิตามินซี ๑๐.๑๕ มก. เบต้าแคโรทีน ๒.๕๕ มก. แซนโทฟิลล์ ๔.๒๔ มก.
หูเสือ เป็นสมุนไพรอีกสูตรหนึ่งที่นิยมใช้รักษาอาการเจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบ เนื่องจากมีอาการอยู่ประจำ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนอากาศทำให้รู้สึกเจ็บในลำคอ และต่อมทอนซิลอักเสบเสมอ โดยใช้กันมาตั้งแต่โบราณ มีวิธีง่าย ๆ คือ ให้เอาใบหูเสือแบบสด ขนาดเล็กหรือใหญ่ตามแต่จะหาได้ จำนวน 5 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดสับรวมกับเนื้อหมูไม่ติดมันกะจำนวนตามต้องการ ไม่ต้องปรุงรสหรือใส่อะไรลงไปอีก ปั้นเป็นก้อนต้มกับน้ำไม่ต้องมากนักจนเดือดหรือเนื้อสุกกินทั้งน้ำแลเนื้อเช้าเย็น ทำกินประจำ 4 5 วัน อาการจะดีขึ้นและหายได้ หรือต้มกินจนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วหยุดกินได้ไม่มีอันตรายอะไร
หูเสือ ช่วยเหลือขั้นต้นแผลไฟไหม้ อักเสบบวม
หูเสือยังใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านในการรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ใช้ขยี้ทาเพื่อห้ามเลือด ใช้คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง ใช้คั้นน้ำหยอดหูเพื่อรักษาหูน้ำหนวก ใช้ดับกลิ่นปาก ใช้แก้ไข้ในเด็ก ใช้ขยี้ทาท้องเด็กเพื่อแก้ท้องอืด ป้องกันฟันผุ ใช้ขยี้ทารักษาหิด แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง
ปัจจุบันการมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า หูเสือมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา
หูเสือ ผักเป็นยา บำรุงร่างกาย
คนโบราณมักบอกว่ากินหูเสือเป็นประจำจะทำให้ร่างแข็งแรง เลือดลมดี โดยเฉพาะในหน้าฝน ใบหูเสือจะสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อให้คนนำมากินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ลาบก้อย แจ่ว และยังสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารอื่นๆ เช่น ผัดหูเสือ
หูเสือผักสมุนไพร ใบสวยงาม กลิ่นหอมเฉพาะ แม้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกา แต่คงมาเมืองไทยนานแล้ว จนคนไทยสามารถใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านได้อย่างหลากหลาย เป็นผักแกล้มที่ทำให้เรากินอาหารได้อย่างมีชีวิตชีวา ที่สำคัญคือปลูกและขยายพันธุ์ง่ายมาก จึงอยากให้ช่วยกันดูแลรักษาไว้เป็นสมุนไพรสามัญประจำบ้านกันต่อๆ ไป
มีสารต้านอนุมูลอิสระ ในกลุ่มเซนโทฟิล (Xanthophyll) , มีสารเบต้าแคโรทีน(Beta-carotene) วิตามิน ซี ใบมีกลิ่นหอมคล้ายสระแหน่ เด็ดใบมาเป็นเครื่องเคียงแนม กินกับลาบ, ยำ ,น้ำพริก หรือนำมาใช้เป็นเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร เป็นพืชสมุนไพรปลูกง่ายมาก และสรรพคุณมากมาย
สรรพคุณ
ขยายพันธุ์ ด้วยการปักชำ ขึ้นได้ดีกับทุกสภาพดิน ชอบความชื้นมาก แสงแดดปานกลาง
ป้ายคำ : สมุนไพร