รศ.ดร.อานัฐ ตันโช อาจารย์จากภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำไส้เดือนมากำจัดขยะจำพวกเศษอาหาร มูลสัตว์ และได้ดำเนินการมาประมาณ 2 ปีแล้ว ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ไส้เดือน แม้จะเป็นสัตว์ที่รูปลักษณ์อาจดูไม่ค่อยน่ารักสักเท่าไหร่ในสายตาของใครหลายคน แต่พื้นดินที่ไหนที่มีเจ้าสัตว์ตัวกลม ๆ ยาว ๆ หยุ่น ๆ เหล่านี้อยู่ล่ะก็ รับรองได้ว่าดินบริเวณนั้นจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าต่อการเจริญเติบโตของพืชนานาพันธุ์ เพราะมันเป็นเครื่องพรวนดินธรรมชาติอย่างดี แถมตอนนี้พฤติกรรมของมันยังเป็นประโยชน์ต่อเราและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก
ไส้เดือนดินที่ใช้ในโครงการนี้ก็ไม่ได้มาไกลจากที่ไหน เพราะเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยของเรานี่เอง ชื่อว่า “ลัมบริคัสรูเบลลัส” หรือคนไทยเรียกว่า “ขี้ตาแร่” หาได้ทั่วประเทศ ตามดินชื้น ๆ ซึ่งความจริงแล้วไส้เดือนไทยมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์อื่นไม่กินขยะ จึงได้นำไส้เดือนพันธุ์ขี้ตาแร่นี้มาเพาะจนได้จำนวนมาก และให้กินขยะในโรงเรือน
คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้เชี่ยวชาญการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับโครงการหลวงมาอย่างต่อเนื่อง และคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ การ ใช้สิ่งขับถ่ายของมนุษย์ในด้านการเกษตรอย่างปลอดภัย ได้เปิดเผยผลงานวิจัยล่าสุดที่ให้ข้อมูลยืนยันอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับ ฉี่คน
รศ.ดร.อานัฐ ตันโช กล่าวว่า ปัสสาวะมนุษย์ หรือ ฉี่คน ได้มีการนำมาใช้ปลูกพืชมานานแล้ว ทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา ซึ่งในบางประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นพบว่ามีการใช้กันถึงระดับเป็นอุตสาหกรรมเลยทีเดียว แต่อาจไม่มีการกล่าวอ้างกันอย่างเป็นทางการเนื่องจากทัศนคติของผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะใช้กับการปลูกข้าวโพดไร่ และพืชผักที่รับประทานใบ ซึ่งพบว่าการใช้ฉี่คนมาปลูกพืชนั้นสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนไม่มีเชื้อก่อโรคเหมือนกับในกรณีของอุจจาระมนุษย์
หนังสือเกษตรธรรมชาติ แนวคิด หลักการ และจุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นหนังสือที่เล่าถึงการเคารพธรรมชาติ เคารพศักยภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น การทำเกษตรธรรมชาติเป็นการเรียนรู้ ศึกษาทดลอง องค์ประกอบความหลากหลายทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา การประยุกต์ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้มีกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ แต่มีคุณภาพดี
มีการคิดค้นเทคนิคเพื่อใช้ในการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เช่น การทำน้ำหมักจากพืชสีเขียว การเก็บจุลินทรีย์ท้องถิ่น การผลิตสารบำรุงพืชสูตรต่างๆที่ได้จากธรรมชาติ การเลี้ยงสัตว์ในระบบแบบต้นทุนต่ำและเกื้อกูลกับธรรมชาติในฟาร์ม
เทคนิคและกระบวนการเหล่านี้ เป็นเทคนิคกระบวนการที่สามารถสร้างอาหาร สร้างรายได้ สร้างความรู้ได้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืนตลอดไป ตลอดจนสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีให้อยู่คู่กับโลกใบนี้อีกนานแสนนาน
เนื้อหาสำคัญก็คือ การทำปุ๋ยตามธาตุอาหาร เช่น
เป็นต้น
งานวิจัยโดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช
ป้ายคำ : จุลินทรีย์, ปราชญ์, เกษตรอินทรีย์