อาหารไทย ภูมิปัญญาไทย

23 มีนาคม 2556 ภูมิปัญญา 0

อาหารไทย ถือว่าเป็นอาหารที่มีพืชสมุนไพรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งหมายถึงพืชผักต่างๆ รวมทั้งเครื่องปรุง เครื่องเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของอาหารไทย การใช้เครื่องเทศนอกจากใช้ในการแต่งกลิ่น รส และเพิ่มสีสันของอาหารแล้ว ยังใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นเครื่องเทศที่ใช้ในอาหารไทยส่วนใหญ่ ยังมีสรรพคุณในทางยาที่ทำให้ถือว่าอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพ

เสน่ห์อาหารไทยนอกจากรสชาติกลมกล่อมลงตัว ประกอบไปวัตถุดิบในการปรุงที่ทรงอานุภาพเรื่องสุขภาพ และความอร่อยถูกลิ้นไม่ว่าใครได้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะ พริก กระชาย ขิง ข่า ใบโหระพาใบกะเพรา ตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ เรียกว่าขนสมุนไพรมาปรุงอาหารกันจนได้เป็นหลากหลายเมนูอร่อยเลื่องชื่อ

ชนิดของอาหารไทย
อาหารไทยแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ อาหารคาว และอาหารหวาน นอกจากนี้ยังมีอาหารว่าง ซึ่งเป็นอาหารคาวก็ได้ หรืออาหารหวานก็ได้ ไว้รับประทานระหว่างแต่ละมื้อ

อาหารคาว
อาหารคาวของไทยประกอบด้วยรสทุกรส ทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยว และมีรสเผ็ดอีกรสหนึ่ง ตามปกติอาหารคาวที่รับประทานตามบ้านทั่วๆ ไป จะประกอบด้วย

  1. แกง แกงของไทยมีหลายชนิด ได้แก่ แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงส้ม แกงจืด ต้มยำ ต้มโคล้ง ต้มส้ม ซึ่งจะใส่เนื้อสัตว์และผักต่างๆ ตามลักษณะของแกงแต่ละชนิด
  2. ผัด แยกได้เป็น ๒ อย่างคือ ผัดจืด และผัดเผ็ด ผัดจะใช้ผักและเนื้อทุกชนิด ปรุงรสด้วยน้ำปลา หรือซีอิ๊วขาว ส่วนผัดเผ็ด ใช้เนื้อทุกชนิดผัดกับพริกสด หรือพริกแห้ง ซึ่งอาจจะนำเครื่องแกงมาผัดแห้ง เช่น พะแนงไก่ ปลาดุก ผัดเผ็ด เป็นต้น
  3. ยำ เทียบได้กับสลัดผักของอาหารฝรั่ง รสของยำจะเหมาะกับลิ้นของคนไทยคือ มีรสจัด ยำแบบไทยแยกได้เป็น ๒ รส คือ รสหวาน และรสเปรี้ยว ยำที่มีรสหวานประกอบด้วย กะทิ มะพร้าวคั่ว เช่น ยำถั่วพู ยำทวาย ยำหัวปลี ส่วนยำที่มีรสเปรี้ยวได้แก่ ยำใหญ่ และยำที่ใช้เนื้อประกอบผัก
  4. ทอด เผา หรือย่าง สำหรับเนื้อสัตว์จะปรุงรส และดับกลิ่นคาว ด้วยรากผักชี กระเทียม พริกไทย และเกลือ เช่น กุ้งทอด หมูทอด ปลาทอด หรือจะเผาหรือย่าง เช่น กุ้งเผา ไก่ย่าง เป็นต้น
  5. เครื่องจิ้ม เป็นอาหารที่คนไทยชอบรับประทานมาก ได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกมะม่วง กะปิคั่ว แสร้งว่า ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน และน้ำปลาหวาน เป็นต้น เครื่องจิ้มนี้ จะรับประทานกับผัก ทั้งผักสด และผักสุก ผักสด ได้แก่ มะเขือ แตงกวา ผักบุ้ง ขมิ้นขาว ผักสุก ได้แก่ หน่อไม้ลวก มะเขือยาวเผาหรือชุบไข่ทอด ชะอมทอด ถ้าต้องการให้อร่อยมากขึ้น ก็จะรับประทานกับปลาทอด กุ้งเผา หรือกุ้งต้ม ตัวอย่างเช่น น้ำพริกและผัก รับประทานกับปลาทูทอด หรือกุ้งต้ม หลนกับปลาช่อนทอดและผัก น้ำปลาหวานยอดสะเดากับกุ้งเผาหรือปลาดุกย่าง เป็นต้น
  6. เครื่องเคียง อาหารไทยจะมีเครื่องเคียง หรือเครื่องแนมประกอบ เพื่อชูรสชาติยิ่งขึ้น เช่น แกงเผ็ด จะมีของเค็มเครื่องเคียง ได้แก่ ไข่เค็ม ปลาเค็ม หรือเนื้อเค็ม อาหารบางชนิดจะรับประทานกับผักดอง เช่น แตงกวาดอง ขิงดอง กระเทียมดอง เป็นต้น ผู้ปรุง หรือแม่ครัวจะต้องเลือกจัดให้เข้ากันตามลักษณะของอาหาร

อาหารหวาน
อาหารหวานของไทยมีทั้งชนิดน้ำและแห้ง ส่วนมากปรุงด้วยกะทิ น้ำตาล และแป้งเป็นหลัก เช่น กล้วยบวชชี ขนมเปียกปูน ขนมใส่ไส้ (สอดไส้) ขนมเหนียว เป็นต้น ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวยุโรปได้ถ่ายทอดการทำขนมด้วยไข่ให้แก่คนไทยหลายอย่าง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา และขนมหม้อแกง
เมืองไทยมีผลไม้มากมายหลายชนิด จึงต้องหาวิธีเก็บรักษาผลไม้เหล่านั้นไว้รับประทานนานๆ คนไทยมีวิธีถนอมอาหารหลายวิธี ได้แก่ วิธีดอง เช่น มะม่วงดอง มะยมดอง วิธีกวน เช่น กล้วยกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน วิธีตาก เช่น กล้วยตาก วิธีเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเก เชื่อม วิธีแช่อิ่ม เช่น มะดันแช่อิ่ม ฟักแช่อิ่ม เป็นต้น
ขนมหวานชนิดแห้ง รับประทานได้ทุกเวลา ส่วนมากจะเป็นขนมอบ เพื่อเก็บใส่ขวดโหลไว้ได้นาน เช่น ขนมกลีบลำดวน ขนมโสมนัส ขนมหน้านวล ขนมทองม้วน และขนมผิง เป็นต้น
klongwan
ขนมไทยในสมัยโบราณ จะแสดงฝีมือในการสลัก แกะหรือปั้นเป็นรูปต่างๆ และจะอบให้หอมด้วยกลิ่นกุหลาบ มะลิ กระดังงา หรือควันเทียน

อาหารว่าง
ระหว่างอาหารแต่ละมื้อ ยังมีอาหารที่รับประทานเล่น เรียกว่า อาหารว่าง อาจเป็นอาหารคาวที่รับประทานกับน้ำชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ในตอนบ่าย ได้แก่ สาคูไส้หมู ปั้นสิบนึ่ง-ทอด ข้าวเกรียบปากหม้อ ข้าวตังเมี่ยงลาว ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมปังหน้าหมู หรืออาจเป็นขนมหวาน เช่น ขนมใส่ไส้ ขนมเบื้อง ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด หรือที่เรียกกันว่า กล้วยแขก เป็นขนมที่รับประทานเล่นในยามหิว หรือระหว่างสนทนากับเพื่อนฝูง

อาหารไทย ถือว่าเป็นอาหารที่มีพืชสมุนไพรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งหมายถึงพืชผักต่างๆ รวมทั้งเครื่องปรุง เครื่องเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของอาหารไทย การใช้เครื่องเทศนอกจากใช้ในการแต่งกลิ่น รส และเพิ่มสีสันของอาหารแล้ว ยังใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นเครื่องเทศที่ใช้ในอาหารไทยส่วนใหญ่ ยังมีสรรพคุณในทางยาที่ทำให้ถือว่าอาหารไทยนั้นเป็นอาหารที่เหมาะสมในการส่งเสริมสุขภาพ

วิธีปรุงอาหารไทย
อาหารไทยปรุงได้หลายวิธี แต่ละวิธีของการปรุงให้รสชาติ และลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่

  1. การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกัน บางอย่างอาจตำ เพื่อนำไปประกอบอาหาร และบางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ปลาป่น กุ้งป่น น้ำพริกสด น้ำพริกแห้ง น้ำพริกเผา พริกกับเกลือ ส้มตำ
  2. การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์ และน้ำปรุงรส มาเคล้าเข้าด้วยกันเบาๆ จนให้รสซึมซาบเสมอกัน ยำของไทยมีรส หลักอยู่ ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี ตัวอย่างอาหารประเภทยำคือ ยำผัก เช่น ยำผักกระเฉด ยำถั่วพู ยำ เกสรชมพู่ ฯลฯ ยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำเนื้อย่าง ยำไส้กรอก ยำหมูยอ ฯลฯ
    อาหารประเภทพล่า ลาบ น้ำตก จัดอยู่ในอาหารประเภทยำเช่นกัน เพราะมีกรรมวิธี และรสชาติคล้ายกัน เช่น พล่ากุ้ง ลาบหมู ลาบเนื้อ ลาบเป็ด และเนื้อน้ำตก เป็นต้น
  3. การแกง หมายถึง อาหารน้ำ ซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียด นำมาละลายกับน้ำหรือน้ำกะทิให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วย ตัวอย่างเช่น
    • แกงรสเผ็ดใส่กะทิที่มี ๒ รสคือ เค็ม และหวาน เช่น แกงเผ็ดไก่ แกงเขียวหวานเนื้อ
    • แกงรสเผ็ดใส่กะทิที่มี ๓ รสคือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น แกงหมูเทโพ ฯลฯ
    • แกงรสเผ็ดไม่ใส่กะทิที่มี ๒ รสคือ เค็มและหวาน เช่น แกงป่าเนื้อ แกงป่าไก่ แกงป่าปลา แกงรสเผ็ดไม่ใส่กะทิที่มี ๓ รสคือ เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มผักกะเฉด แกงส้มผักรวม ฯลฯ
    • แกงรสไม่เผ็ดไม่ใส่กะทิ เช่น ต้มกะทิสายบัว ต้มข่าไก่ แกงเลียง ฯลฯ
    • แกงรสไม่เผ็ดไม่ใส่กะทิ เช่น ต้มส้ม ต้ม โคล้ง ฯลฯ
  4. การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุก ด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน ลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม ตัวอย่างอาหาร เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ
  5. การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง (ตามแบบสมัยโบราณปิ้งด้วยเตาถ่าน มิได้ใช้เตาอบเหมือนปัจจุบัน)
  6. การย่าง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อนๆ หมั่นกลับไปกลับมา จนข้างในสุก และข้างนอกอ่อนนุ่ม หรือแห้งกรอบ ต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงจะได้อาหาร ที่มีลักษณะรสชาติดี เช่น การย่างปลา ย่างเนื้อสัตว์ต่างๆ
  7. การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำ ตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุก ใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ เช่น การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์ ฯลฯ
  8. การกวน หมายถึง การนำอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวมารวมกัน ตั้งไฟแรงปานกลาง ใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคนให้เร็วและแรงจนทั่วกัน คือ ข้นและเหนียว ใช้มือแตะอาหารไม่ติดมือ เช่น การกวนกาละแม ขนมเปียกปูน ตะโก้ ถั่วกวน ฯลฯ
  9. จี่ หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยการทาน้ำมันน้อยๆ พอให้ทั่วกระทะแล้วตักอาหารใส่ กลับไปกลับมาจนสุกตามต้องการ เช่น การทำขนมแป้งจี่ ขนมบ้าบิ่น เป็นต้น
  10. หลาม หมายถึง การทำอาหารให้สุกในกระบอกไม้ไผ่ โดยใช้ไม้ไผ่สดๆ ตัดให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วบรรจุอาหารที่ต้องการหลามในกระบอกไม้ไผ่นั้น ก่อนหลามต้องใช้กาบมะพร้าวห่อใบตองอุดปากกระบอกเสียก่อน แล้วนำไปเผาจนสุก เช่น การหลามข้าวหลาม ฯลฯ

นอกจากนี้ คนไทยปัจจุบันนิยมการทำอาหารให้สุกด้วยวิธีที่รับหรือนำมาจากชนต่างชาติ เช่น ชนชาติจีน และยุโรป คนไทยทำจนคิดไปว่า การปรุงอาหารที่ทำอยู่นั้นเป็นคนไทยเราเอง

วิธีปรุงอาหารที่นำมาจากชนชาติจีน คือ

  1. การนึ่ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยไอน้ำ โดยนำอาหารใส่ลงในลังถึง ตั้งน้ำให้เดือด ใช้ฝาปิดไม่ให้ไอน้ำออกได้ เช่น ปลานึ่งเกี้ยมบ๊วย ปลาแป๊ะซะ ฯลฯ
  2. การผัด หมายถึง การทำอาหารสิ่งเดียว หรือหลายสิ่ง ซึ่งต้องการให้สุกสำเร็จเป็นอาหารสิ่งเดียว ให้รสอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการใช้น้ำมันใส่ลงในกระทะ พอร้อน ใส่ของที่ต้องการให้สุกลงไป คนให้สุก และปรุงรสตามชอบ การปรุงอาหารแบบนี้ใช้ไฟแรง เวลาสั้น เช่น การผัดผักบุ้ง ผัดถั่วลันเตา ผัดโป๊ยเซียน ฯลฯ

วิธีปรุงอาหารที่นำมาจากชนชาติยุโรป คือ

  1. การอบ หมายถึง การทำอาหารให้สุก ด้วยความร้อนในเตาอบ โดยการใช้อุณหภูมิตามลักษณะอาหารชนิดนั้นๆ อาหารที่ได้จะต้องมีลักษณะที่ภายนอกสุกเหลือง เกรียม แต่ภายในนุ่ม เช่น การอบขนมเค้ก พายต่างๆ เป็นต้น

วัสดุในการทำอาหารไทย
ข้าว
อาหารไทยใช้ข้าวเป็นหลัก ข้าวของไทยมีหลายประเภท คือ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว (ข้าวเหนียวดำและขาว) และข้าวฟ่าง
กรรมวิธีในการประกอบอาหาร
kawsaoy

  1. หุง
    ใช้ข้าวเจ้าหุงให้เป็นข้าวสวย เดิมหุงโดยใช้หม้อดิน แล้ววิวัฒนาการมาเป็นหม้ออะลูมิเนียม ปัจจุบันนิยมใช้หม้อไฟฟ้า ถ้าหุงใส่กะทิแทนน้ำเรียกว่า “ข้าวมัน” ใช้รับประทานกับแกงไก่ หรือส้มตำ
  2. นึ่ง
    ใช้ข้าวเหนียว และข้าวเจ้า ในการนึ่ง เดิมนึ่งด้วย “หวด” ปัจจุบันนึ่งด้วยลังถึง ข้าวเเหนียวที่นึ่งแล้ว ใช้เป็นอาหารคาวและหวานได้

    • ข้าวเหนียวที่ใช้เป็นอาหารคาว ใช้รับประทานกับไก่ย่าง ส้มตำ ลาบ แกงแห้ง เช่น พะแนง แกงฮังเล
    • ข้าวเหนียวที่ใช้เป็นอาหารหวาน ใช้มูนกับกะทิ เป็นข้าวเหนียวที่นำมารับประทานกับสังขยา มะม่วง หรือทุเรียน นำมานึ่งใส่กะทิ เป็นข้าวเหนียวตัด หรือนึ่งแล้วกวนกับกะทิน้ำตาล เป็นข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวกวน รับประทานกับหน้ากุ้ง สังขยา ปลาแห้ง และกระฉีก
  3. ย่าง
    ใช้ข้าวเหนียวดำหรือขาวก็ได้ ใส่กะทิ แล้วใส่กระบอกย่างเป็นข้าวหลาม หรือนำมาปั้นเป็นก้อน เสียบด้วยไม้ แล้วชุบไข่ย่างไฟอ่อนๆ เรียกว่า “ข้าวจี่” เป็นอาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  4. เปียกหรือกวน
    ใช้ข้าวเหนียวทำข้าวเหนียวเปียก ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว มีการทำอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า “ข้าวยาคู” ใช้ข้าวเจ้าที่ออกรวงใหม่ๆ เปลือกสีเขียว ลักษณะภายในของเมล็ดข้าวยังเป็นน้ำนม นำมากวนกับกะทิ น้ำตาลให้มีลักษณะข้นๆ ใช้ในพิธีทำบุญสารทตอนสิ้นเดือน ๑๐

เนื้อสัตว์
เนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารมีทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก ที่นิยมรับประทานกันเป็นอาหารประจำวัน ได้แก่ เนื้อหมู วัว ไก่ ปลา ปู กุ้ง หอย กบ และเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่อยู่ในนาหรือหนองใกล้บ้าน สัตว์ปีก เช่น นก นิยมรับประทานกันมาก เพราะหาได้ง่าย สำหรับสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ในสมัยก่อน จะรับประทานเนื้อสัตว์เหล่านี้เฉพาะเมื่อมีงานบุญพิเศษเท่านั้น แต่ปัจจุบันรับประทานได้ทุกโอกาส เพราะมีขายตามท้องตลาด นอกจากนำมาปรุงเป็นอาหารประจำวันแล้ว ยังมีวิธีเก็บไว้รับประทานนานๆ โดยนำไปตากแห้งเป็นเนื้อเค็ม ปลาเค็ม หรือหมักเป็นปลาร้า ปลาเจ่า หรือแช่เย็น เป็นต้น

พืชผัก
พืชผักประเภทที่มีผู้นิยมรับประทาน ได้แก่

  1. พืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ที่ข้างบ้าน ริมทาง ในไร่นา ป่าดง เช่น ผักหวาน ผักหนาม ผักเสี้ยน กระถิน ผักบุ้ง ตำลึง ผักกระเฉด และใบบัวบก เป็นต้น ในแต่ละภาคจะมีผักแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
  2. พืชปลูก ทั้งที่ปลูกแบบสวนครัว และสวนผักทั่วไป เช่น พริก มะเขือ ผักบุ้ง ข่า และตะไคร้ เป็นต้น

ส่วนต่างๆ ของผักที่ใช้เป็นอาหาร ได้แก่

  • ใบ เช่น ใบยอ ใบชะมวง ใบย่านาง ใบบัวบก ใบสะระแหน่ ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบโหระพา ฯลฯ
  • ราก หัว เหง้า เช่น ขิง ข่า กระชาย รากผักชี หัวผักกาด หัวหอม หัวกระเทียม หัวสาคู
  • เมล็ด เช่น พริกไทย แมงลัก งา ถั่ว ผักชี ฯลฯ
  • ผล เช่น มะกรูด มะนาว มะระ ส้มซ่า มะอึก มะเขือพวง ฯลฯ
  • เปลือก เช่น อบเชย ฯลฯ
  • ดอก เช่น ดอกขจร ดอกแค ดอกโสน
  • ลำต้น เช่น บอน คูน (พืชหัวชนิดหนึ่งคล้ายเผือก ก้านใบ และแผ่นใบสีเขียวอ่อน มีนวล ก้านใบใช้เป็นผักได้) ฯลฯ

pakpuanbann
รสชาติของอาหารไทย

  • รสเค็ม
    อาหารไทยได้รสเค็มจากน้ำปลาเป็นส่วนใหญ่ การประกอบอาหารไทยเกือบทุกชนิด ถ้าต้องการรสเค็มแล้ว จะขาดน้ำปลาไม่ได้เลย สังเกตจากเวลารับประทานอาหาร จะต้องมีถ้วยน้ำปลาเล็ก ๆ รวมอยู่ในสำรับอาหาร แต่บางครั้งนอกจากน้ำปลาแล้วยังใช้เกลือหรือซีอิ๊วขาวเป็นตัวปรุงรสอาหารให้เกิดความเค็ม
  • รสหวาน
    การประกอบอาหารไทยรสหวาน โดยทั่วไปในอาหารไทยใช้น้ำตาลทรายในการประกอบอาหารแล้ว ยังมีน้ำตาลอีกหลายชนิด เช่น น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลโตนด น้ำตาลงบ ฯลฯ
  • รสเปรี้ยว
    อาหารไทยนอกจากจะได้จากน้ำส้มสายชู แล้วยังมีมะนาว และที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันมาก โดยที่ประเทศอื่น ๆ ไม่มีใช้ก็คือ ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มมะขามเปียก น้ำมะกรูด น้ำส้มซ่า นอกจากนั้นรสเปรี้ยวจากใบมะขามอ่อน ใบมะดัน ใบส้มป่อย มะดัน ซึ่งรสเปรี้ยวจากสิ่งเหล่านี้มีแต่ในอาหารไทย
  • รสเผ็ด
    รสชาติอาหารของประเทศใดก็ไม่เผ็ดร้อนเหมือนอาหารไทย รสเผ็ดที่ได้จากอาหาร มาจากพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้าสด เรายังนำมาตากแห้งเป็นพริกแห้ง คั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น รสเผ็ดเป็นรสที่อาหารไทยจะขาดไม่ได้ ในการประกอบอาหารคาวชนิดที่ต้องมีรสเผ็ด การจะใส่พริกมากน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการรสของผู้บริโภค
  • รสมัน
    อาหารไทย ได้รสมันจากกะทิและน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ในการประกอบอาหารไทยโดยเฉพาะอาหารประเภทแกงกับขนมไทย ความมันที่ได้จะมาจากแกงที่ใส่กะทิ เช่นแกงหมูเทโพ แกงเขียวหวาน ขนมชั้น ตะโก้ ฯลฯ ฉะนั้นรสชาติของอาหารไทย จึงมีความกลมกล่อมจากรสชาติต่างๆ
    อาหารไทยภาคต่าง ๆ

อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ ที่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด (เชียงใหม่เชียงรายลำปางลำพูนแม่ฮ่องสอนพะเยาอุตรดิตถ์แพร่น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก
arharnthainear

อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งในเขตที่ราบ ในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครอาศัยลำน้ำสำคัญ เช่น ชี มูล สงคราม โขง เป็นต้น และชุมชนที่อาศัยในเขตภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทือกเขาภพานและเทือกเขาเพชรบูรณ์ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดการอาหารของชุมชนแตกต่างกันไปด้วย แต่เดิมในช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านจะหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวัน เท่านั้น เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ และหากวันใดจับปลาได้มากก็แปรรูปเป็นปลาร้าหรือ ปลาแห้งไว้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก ชาวบ้านจะ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก สวนหลังบ้านมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแหล่งอาหารประจำครัวเรือน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญ
อาหารอีสานจะเน้นไปทางรสชาติที่อ่อนหวาน เช่น ผัดหมี่โคราช ส้มตำ
arharnthaiesaen

อาหารภาคกลาง
ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้
ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทยดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวนขนมหวานประเภททองหยิบทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วงจ่ามงกุฎหรุ่ม ลูกชุบกระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ผัก ผลไม้แกะสลัก
เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วงหรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแหนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อกระทงทองค้างคาวเผือกปั้นขลิบนึ่งไส้กรอกปลาแนมข้าวตังหน้าตั้ง
arharnthaiklang

อาหารภาคใต้
ภาคใต้มีภูมิประเทศเป็นทะเล ชาวใต้นิยมใช้กะปิในการประกอบอาหาร อาหารที่ปรุงในครัวเรือนก็เหมือนๆกับอาหารไทยทั่วไป แต่รสชาติจะจัดจ้านกว่า อาหารใต้ไม่ได้มีเพียงแค่ความเผ็ดจากพริกแต่ยังใช้พริกไทยเพิ่มความเผ็ดร้อน อีกด้วย และเนื่องจากภาคใต้มีชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก ตามจังหวัดชายแดนใต้ก็ได้มีอาหารที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างอาหารใต้ที่ขึ้นชื่อได้แก่

  • แกงไตปลา (ไตปลา ทำจากเครื่องในปลาผ่านกรมวิธีการหมักดอง) การทำแกงไตปลานั้นจะใส่ไตปลาและเครื่องแกงพริก ใส่สมุนไพรลงไป เนื้อปลาแห้ง หน่อไม้สด บางสูตรใส่ ฟักทอง ถั่วพลู หัวมัน ฯลฯ
  • คั่วกลิ้ง เป็นผัดเผ็ดที่ใช้เครื่องแกงพริกและสมุนไพรปรุง รสชาติเผ็ดร้อน มักจะใส่เนื้อหมูสับ หรือ ไก่สับ
  • แกงพริก แกงเผ็ดที่ใช้เครื่องแกงพริกเป็นส่วนผสม เนื้อสัตว์ที่ใช้ปรุงคือ เนื้อหมู กระดูกหมู หรือไก่
  • แกงป่า แกงเผ็ดที่มีลักษณะที่คล้ายแกงพริกแต่น้ำจะใสกว่า เนื้อสัตว์ที่ใช้ปรุงคือ เนื้อปลา หรือ เนื้อไก่
  • แกงส้ม หรือแกงเหลืองในภาษากลาง แกงส้มของภาคใต้จะไม่ใส่หัวกระชาย รสชาติจะจัดจ้านกว่าแกงส้มของภาคกลาง และที่สำคัญจะต้องใส่กะปิด้วย หมูผัดเคยเค็มสะตอ เคยเค็มคือการเอากุ้งเคยมาหมัก ไม่ใช่กะปิ
  • ปลาต้มส้ม ไม่ใช่แกงเผ็ดแต่เป็นแกงสีเหลืองจากขมิ้น น้ำแกงมีรสชาติเปรี้ยวจากส้มควายและมะขามเปียก

arharntay

อาหารขึ้นชื่อของชาวมุสลิม
ข้าวยำน้ำบูดู เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวยใส่ผักนานาชนิดอย่างเช่น ถั่วฝักยาวซอย ดอกดาหลาซอย ถั่วงอก แตงกวาซอย ใบพลูซอย ใบมะกรูดอ่อนซอย กุ้งแห้งป่น ราดด้วยน้ำบูดู อาจจะโรยพริกป่นตามความต้องการ
กือโป๊ะ เป็นข้าวเกรียบปลาที่มีถิ่นกำเนิดมาจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย) มีแบบกรอบซึ่งจะหั่นเป็นแผ่นบางๆแบบข้าวเกรียบทั่วไป แบบนิ่มจะมีลักษณะเป็นแท่ง เวลารับประทานจะเหนียวๆ รับประทานกับน้ำจิ้ม
ไก่ย่าง ไก่ย่างของชาวมุสลิมในภาคใต้นั้น จะมีลักษณะพิเศษคือราดน้ำสีแดงลงไป น้ำสีแดงจะมีรสชาติเผ็ดนิดๆ หวาน เค็ม และกลมกล่อม สามารถหาได้ตามแผงอาหารทั่วไป ตามตลาดนัด หรือตลาดเปิดท้ายทั่วไป
ไก่ทอดหาดใหญ่ จริงๆแล้วไก่ทอดหาดใหญ่เป็นไก่ทอดทั่วไป แต่ไก่ทอดหาดใหญ่เป็นไก่ทอดที่ขึ้นชื่อในภาคใต้

อาหารชาววัง
อาหารชาววัง หรือ กับข้าวเจ้านาย คืออาหารที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยผู้คนในรั้ววัง มีอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์และความสดใหม่ของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีกรรมวิธีในการทำซับซ้อน ประณีต ต้องใช้เวลาและกำลังผู้คนในการทำจำนวนมาก มีลักษณะความแปลกแตกต่าง ความวิจิตรบรรจง รวมถึงมีรสชาติที่นุ่มนวลไม่เผ็ดมาก มีความกลมกล่อมเป็นหลัก องค์ประกอบของอาหารชาววัง ในแต่ละมื้อจะประกอบด้วยอาหารที่มีความหลากหลาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีประเภทอาหารอย่างน้อยที่สุด 7 ประเภท คือ ข้าวเสวย เครื่องคาว เครื่องเคียงแกง เครื่องเคียงแขก เครื่องเคียงจิ้ม เครื่องเคียงเกาเหลา เครื่องหวาน อาหารมีครบรส คือ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อาหารชาววังแตกต่างจากอาหารชาวบ้านคือ การจัดอาหารเป็นชุด หรือ สำรับอาหาร
จากหลักฐานอ้างอิงเดอ ลาลูแบร์จดบันทึกไว้ว่า อาหารชาววัง คือ อาหารชาวบ้าน แต่มีการนำเสนอที่สวยงาม ไม่มีก้าง ไม่มีกระดูก ต้องเปื่อยนุ่ม ไม่มีของแข็ง ผักก็ต้องพอคำ หากมีเมล็ดก็ต้องนำออก [ถ้าเป็นเนื้อสันก็เป็นสันใน กุ้งก็ต้องกุ้งแม่น้ำไม่มีหัว ไม่ใช้ของหมัก ๆ ดอง ๆ หรือของแกงป่า หรือของอะไรที่คาว

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene