อโศก ไม้บังแดดต้านลม

11 สิงหาคม 2557 ไม้ยืนต้น 0

ต้นอโศก เป็นต้นไม้ยืนต้น ซึ่งถ้าอยู่ในวัดจะทำให้ได้ร่มเงา บริเวณ ทำให้บริเวณวัดดูร่มเย็น นอกจากนี้ การมีต้นอโศก ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์แก่สัตว์ต่างๆ อาทิเช่น นกที่มาอาศัยทำรัง หรือบางทีอาจมีกระรอก มาอาศัย รอมถึงแมลงต่างๆ ด้วย

อโศก เป็นชื่อต้นไม้หลายชนิดในสกุล Saraca วงศ์ Leguminosae เช่น อโศกน้ำ อโศกเหลือง เป็นต้น มีชื่อเรียกสามัญว่า Asoka Tree มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงราว 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเป็นมันดกทึบ ใบรูปหอก ยาวประมาณ 10-15 ซม.ปลายใบแหลม ก้านใบสั้นติดกิ่ง ดอกจะออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง เริ่มแรกดอกจะมีสีเหลือง และจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสี แสดหรือสีส้ม จนกระทั่งเป็นสีแดง ตามอายุของดอก ดังนั้นบางครั้งในแต่ละช่วงจะเห็นสีทั้งสามแซมสลับกันอย่างสวยงาม มีกลีบรองดอกยาวเหมือนดอกเข็ม ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และจะออกดอกในราวเดือนมกราคม-เมษายน ส่วนฝักมีลักษณะแบนยาว มีช่อละ 1-2 ฝัก เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลและแตกออก แต่ละฝักมีเมล็ด 2-3 เมล็ด

asoktons

ลักษณะ

  • ต้น – เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปปิรามิดแคบๆ สูงเต็มที่ได้ถึง 25 m . กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น ทำให้แลดูต้นสูงชลูดมาก เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทาเข้ม หรือเทาปนน้ำตาล
  • ใบ – ใบเดี่ยวรูปใบหอกแคบๆ ปลายแหลมยาว 15- 20 cm . สีเขียวเป็นมันเงางาม ขอบใบเป็นคลื่น
  • ดอก – ออกดอกในระหว่างเดือน มี.ค. – เม.ย. จะออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นกระจุกตามข้างๆ กิ่ง แต่ละดอกเป็นรูปดาว 6 แฉก กลีบดอกเป็นคลื่นน้อยๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5- 2 cm . ดอกบานอยู่นาน 3 สัปดาห์
  • ผล – ผลรูปไข่ ยาว 2 cm . เมื่อสุกสีดำ

asoktaw

asokbai

ลักษณะพิเศษอื่นๆ

ไม้ต้นทรงสูงชลูด เป็นแท่งกลมปลายแหลม ทรงพุ่มแผ่นทึบ ใบรูปหอก แนว ยาวสีเขียวเข้ม ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อสีเขียวอ่อน รูป ดาว 6 กลีบ ดอกมีกลิ่นอ่อน

asokton

โศกชนิดนี้ชอบขึ้นบริเวณชายน้ำ ตามริมแม่น้ำลำธารทั่วไป จึงมักเรียกว่าโศกน้ำ กำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย เห็นได้จากชื่อวิทยาศาสตร์ว่า indica คนอินเดียเรียกว่าอโศก เมื่อนำมาเมืองไทย คนไทยเรียกสั้นลงเป็นโศก ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเป็นตรงข้ามคือ จากไม่มีโศก (อโศก) เป็นโศกเศร้า เช่นเดียวกับต้นอรัก (ไม่รัก) เมื่อมาถึงไทยกลายเป็นต้นรักนั่นเอง

ต้นอโศกนี้จะสามารถทนต่อแสงแดดที่สาดส่องลงมาทั้งวันมาตลอดหลายปี และนอกนี้ ต้นอโศกก็ยังสามารถทนต่อความหนาวเย็น และยังทนต่อการขาดแคลนน้ำได้ดีกว่าคน นอกจากนี้จะสังเกตที่พื้นมีการปูด้วยอิฐ ซึ่งสำหรับต้นอโศกแล้วเมื่อต่อไปเจริญเติบโตขึ้น ลำต้นใหญ่ขึ้น มันจะขยายลำต้นออกทำให้อิฐเหล่านี้จะหลุดออกไปได้ นอกจากนี้ ถ้าเราสังเกตบริเวณที่ลำต้นจะพบว่ามีการตอกเอาไม้มาติดเป็นป้าย ซึ่งต้นไม้ยังทนต่อได้ นอกจากนี้ยังสังเกตด้วยว่าการปลูกต้นอโศกจะช่วยเพิ่ม gas O2 ในอากาศ เพราะใบอโศกจะทำการสังเคราะห์แสดงโดยใช้ CO2 และน้ำและใช้แสงแดด จะได้ C6H12O6 ซึ่งต้นอโศกจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อปล่อย gas O2 ออกมา ทำให้เป็นผลดีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และจะเห็นค่าใบของต้นอโศกต้องการแสงแดดในการสังเคราะห์แสง ใบจึงพยายามแผ่ออกไปเพื่อให้ได้รับแสงได้มากที่สุด โดยในการสังเคราะห์แสงจะทำให้สามารถผลิต C6H12O6 นี้ จะเป็นสารปฐมภูมิ ของพวกคาร์โบไฮเดรต และเป็นสารทุติยภูมิ สำหรับพวกน้ำมันหอมระเหย ยาง (terpene)และในประเทศไทยไม่ปรากฏสรรพคุณทางสมุนไพรของโศกชนิดต่างๆ ในตำราแพทย์แผนไทย แต่แพทย์พื้นบ้านในอินเดียนิยมนำเปลือกและรากโศกมาปรุงเป็นยาบำรุงเลือด คงจะเป็นโศกชนิด Saraca indica Linn. นั่นเอง

asok

ประโยชน์หลักของโศกน่าจะเป็นดอกที่มีรูปทรงสีสันงดงาม กลิ่นหอม และนำมากินได้ คนไทยนิยมนำมาแกงส้ม นอกจากนั้น ทรงพุ่มและใบอันงดงามแปลกตา โดยเฉพาะใบอ่อนที่ไม่เหมือนต้นไม้ ชนิดอื่น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ เป็นร่มเงา และปรับปรุงสภาพแวดล้อม

asokonn

ประโยชน์ของอโศกทางด้านพืชสมุนไพรนั้น ที่อินเดียได้นำเปลือกมาสกัดเป็นยา ใช้รักษาอาการเลือดลมผิดปกติในผู้หญิง เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ โรคระดูขาว โรคเลือดออกในมดลูก และโรคริดสีดวงทวาร เป็นต้น

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น