เกษตรกรรมยั่งยืน วิถีแห่งความยั่งยืน

18 กุมภาพันธ์ 2556 ภูมิปัญญา 0

เกษตรกรรมยั่งยืน เป็นวิถีเกษตรกรรมที่ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและพอเพียงตามความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร และผู้บริโภค พึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้เพื่อความผาสุกและความอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติโดยรวม

ในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเกษตรกรรมตามยุคสมัย การเปลี่ยนผ่าน ของระบบเกษตรกรรม ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ

  1. ยุคระบบเกษตรกรรมแบบยังชีพ (Subsistence Agriculture) ในช่วงแผนฯ 1 ถึงต้นแผนฯ 3 (พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2516) โดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อเลี้ยงชีพโดยใช้ต้นทุนต่ำ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเปลี่ยนแปลง เกิดจากการเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  2. ยุคระบบเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial Agriculture) ในช่วงปลายแผนฯ 3 ถึง ปลายแผนฯ 6 (พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2533) โดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อขายโดยใช้ปัจจัยการผลิตเต็มที่เพื่อให้ได้ ผลตอบแทนสูงสุดต่อหน่วยพื้นที่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เกิดจากการปฏิวัติเขียวและการ พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร
  3. ยุคระบบเกษตรกรรมเชิงทวิลักษณ์ (Dualistic Agriculture) ซึ่งหมายถึงระบบเกษตรกรรมที่มีทั้งการเกษตรเชิงแข่งขันและการเกษตรแบบยั่งยืน ในช่วงต้นแผนฯ 7 ถึงแผนฯ 9 (พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2549) โดยมีเป้าหมายการผลิตเพื่อขายให้ได้ ผลตอบแทนสูงโดยลดต้นทุน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง เกิดจากกระแสการทำการเกษตร แบบยั่งยืน และในช่วงท้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานแนวคิด ทฤษฎีใหม่ และในปี พ.ศ. 2542 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบเกษตรทางเลือกขยายกว้างขวางกลายเป็นกระแสหลักในประเทศไทย (ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. 2551: 25 37)

การเกษตรมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาความอดอยากของมวลมนุษย์ด้วยการทำ หน้าที่สร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ แสงแดด มาใช้ในการผลิตอาหารเลี้ยงพลโลก บทบาทดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติในฐานะ ทรัพยากรเพื่อการผลิต และมนุษย์ในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
จากบทบาทข้างต้นทำให้การเกษตรมีความเกี่ยวข้องกับคุณธรรม ด้วยคุณธรรมเป็น เรื่องของความดีความถูกต้อง การเกษตรที่ดีที่ถูกต้องย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ต้องมี ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและคุณภาพของผลผลิตที่จะไปสู่ผู้บริโภค หากการทำการเกษตรมีความเกี่ยวข้องกันเป็นระบบ หากมองการทำการเกษตรแบบองค์รวม อาจเรียกการทำการเกษตรทั้งหมดว่าเป็น ระบบการเกษตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าพัฒนาการของระบบ การเกษตรเริ่มมาจากการเกษตรเพื่อปากท้องของตนเอง หรือการเกษตรแบบยังชีพ และนำไปสู่การ ทำเกษตรเพื่อปากท้องของผู้อื่นโดยมีการแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือเงินตรากับผลผลิตทางการ เกษตร หรือระบบการเกษตรเชิงการค้า

ปัญหาของระบบการเกษตรเชิงการค้าไม่ได้อยู่ที่ระบบหรืออยู่ที่เทคโนโลยี หากแต่อยู่ ที่คนภายในระบบเกษตรเกิดความโลภ อยากได้มากขึ้นและมากขึ้น จนกลายเป็นการเอารัดเอา เปรียบมากเกินไป ขาดสำนึกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ส่งผลต่อเพื่อนมนุษย์ และส่งผลต่อตนเอง
ผลของการพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมาขาดความสมดุลโดยมุ่งแต่ผลทางด้านเศรษฐกิจ ยิ่งพัฒนากลับพบความยากจนมากขึ้น เนื่องจากเกิดความไม่เท่าเทียมกันในการแบ่งสรรทรัพยากร ชาวบ้านทั่วไปถูกบีบคั้นให้ดิ้นรนต้องบุกรุกผืนป่าและใช้ทรัพยากรอย่างมากเพื่อให้อยู่รอดพอประทัง ชีวิต เมื่อมีการใช้ทรัพยากรมากทำให้ยิ่งเสื่อมโทรมเร็วมากขึ้น การดำรงชีวิตตามปกติต้อง ยากลำบากขึ้น เกิดเป็นวงจรแห่งความยากจนอย่างไม่สิ้นสุด ทางออกที่มีนักวิชาการเสนอไว้คือการ ใช้แนวคิดของการพัฒนาแบบยั่งยืนที่เน้นความสำคัญของการเสมอภาคทางสังคมและให้มีทรัพยากร ใช้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต ด้วยการใช้อย่างประหยัดและแบ่งปัน ไม่มีผู้ใดผูกขาดเอารัด เอาเปรียบแต่ฝ่ายเดียว นั่นคือ การทำเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture)

เกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการเกษตรที่อิงอยู่บนแนวคิดแบบองค์รวม (Holistic Approach) ซึ่งมองว่าทุกอย่างต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ต้องสร้างสมดุลตามหลักการพัฒนาแบบ ยั่งยืนใน 3 มิติ ได้แก่ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้าน สังคม หมายความว่า ต้องดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ ทรัพยากรธรรมชาติต้องได้รับการบำรุงรักษาให้ ดีขึ้นอย่างเหมาะสมไม่เบียดเบียนธรรมชาติ ต้องมีความยุติธรรมทางสังคมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการ ใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน และสามารถสร้างรายได้อย่างเพียงพอตามอัตภาพในสภาพแวดล้อม ที่ตนเองอาศัยอยู่อย่างกลมกลืน ผลผลิตที่ผลิตได้ต้องอาศัยสมดุลในกระบวนการผลิตจนถึงมือ ผู้บริโภคใน 3 มิติเช่นกัน คือ ต้องเป็นระบบการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรต้อง สามารถเลี้ยงตนเองได้ และต้องสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารเพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอ

kasetyangyernpak

กล่าวโดยสรุป เกษตรกรรมยั่งยืนคือรูปแบบและวิธีการทำการเกษตรที่เน้นการ ผสมผสานและการเกื้อกูลกันระหว่างสิ่งมีชีวิตและกิจกรรมการผลิตต่างๆ ในแปลงเกษตร โดยให้มี สภาพคล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่อนุญาตให้ใช้สารเคมีในการเกษตร ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบใด
ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน สามารถจำแนกได้หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

การทำไร่นาสวนผสม การทำเกษตรอินทรีย์ ไร่หมุนเวียน เกษตรทฤษฏีใหม่ ที่หลายคนกล่าวถึงกันในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งเกิดจาการนำเอาวิถีแห่งธรรมชาติมาประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่แปลงของตนเอง

เกษตรอินทรีย์นั้นมีจุดเริ่มต้นจากยุโรป ต่อมาได้แพร่หลายไปยังสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกจนปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตทางการเกษตรที่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาระบบตลาด และมาตรฐานการผลิตมารองรับเป็นการเฉพาะ แต่จริงๆ แล้ว นี่คือวิธีการผลิตของปู่ยาตายาวชาวไทยและจีนมาแต่อดีต คนจีนปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาบำรุงดิน สำหรับประเทศไทย การบุกเบิกเกษตรกรรมอินทรีย์และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกิดจากการผลักดันขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร และเชียงใหม่ ประสบการณ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ขององค์กรพัฒนาเอกชน จนสามารถพัฒนาการตลาดอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้พรรคการเมืองนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ไปใช้สำหรับการหาเสียง จนในที่สุดนโยบายเกษตรกรรมอินทรีย์ได้ถูกบรรจุไว้ในนโยบายของประเทศ

หากเกษตรอินทรีย์พัฒนาไปในทิศทางที่มุ่งเน้นการค้าเป็นหลัก มุ่งผลิตพืชเชิงเดี่ยว หรืออยู่ภายใต้ระบบและการผูกขาดของบริษัทขนาดใหญ่ แทนที่จะมุ่งในเรื่องของความมั่นคงด้านอาหาร การทำเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ก็จะไม่ถือว่าเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แท้จริง และผิดหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน

เกษตรกรสามารถจัดสังคมของพืชในแปลงพืชท้องถิ่น ด้วยการเลือกปลูกพืชไล่ตามลำดับความสูง ลักษณะพื้นที่ซึ่งต่างๆ กัน รวมถึงการปลูกพืชยึดหน้าดินโดยอาศัยพืชท้องถิ่น พืชจากป่า เพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศภายในแปลง โดยการจำลองจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น กระชายป่า กระชายดำ ขมิ้น ขิง ข่า ปูเลย ว่านนกคุ้ม ว่านหางจระเข้ หญ้าหนวดแมว นางแลว ใต้ต้นไม้ชนิดอื่น สามารถปลูกภายในทรงพุ่มของไม้ชนิดอื่นได้ หากปลูกให้ห่างจากต้นไม้นั้นประมาณ 50 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย ที่สำคัญควรจะมีแสงส่องถึงพื้นได้พอสมควรหรืออาจจะเลือกตัดแต่งกิ่งต้นไม้บ้าง

การจัดลำดับสังคมพืชในแปลงเป็นการสร้างความหลากหลายของพันธุ์พืช ใช้พืนที่ในการทำเกษตรอย่างเกิดประโยชน์ อาศัยความต้องการแสงของพืชแต่ละชนิดเป็นหลัก หากชนิดใดต้องการมากก็ปลูกในที่แจ้ง บางชนิดที่ต้องการน้อยสามารถปลูกใต้ทรงพุ่มของต้นอื่นได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซ้ำพืชที่ปลูกสามารถอาศัยอาหารและน้ำที่ให้กับต้นไม้ใหญ่ในการเจริญเติบโต

kasetkamyangyean

สมุนไพรใต้ทรงพุ่มยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นยาอบสมุนไพร โดยมีส่วนผสม ดังนี้

ขมิ้น ไพล ตระไคร้ มะรุม ใบสมปล่อย ใบเป้า ใบหนาด ใบพลับพลึง ผักบุ้ง มะกรูด (ทั้งใบและผล) การบูร นำส่วนผสมทั้งหมดมาหั่นบางๆ แล้วนำมาตากแห้ง (สามารถเก็บไว้นานๆ) จากนั้นจึงนำยาทั้งหมดมารวมกันให้ได้ครึ่งกิโลกรัมนำการบูรมาใส่ 1 ซ้อนชา มาใส่ในหม้อต้มในกระโจมที่เตรียมไว้ (มีเก้าอี้เพื่อนั่งหนึ่งตัว) เขาไปอบหนึ่งคนนาน 30 นาที ออกมาพักให้ร่างกายเย็นแล้วกลับเข้าไปในกระโจมนาน 20 นาที ออกมานอกกระโจมเพื่อให้ร่างกายเย็นแล้วไปอาบน้ำ ดดยมีสรรพคุณในการรักษาโรคความดันโลหิตรักษาผิวกาย รักษาอาเกิดจากอาหารเป็นพิษ (ขับสารพิษในร่างกาย)

วิธีการคัดเลือกพันธุ์พืชนั้นก็ทำได้ไม่ยาก โดยเลือกต้นพืชที่มาจากธรรมชาติ สายพันธุ์พืชท้องถิ่นที่มีอยู่ภายในชุมชน หรือพื้นที่ซึ่งมีลักษณะนิเวศใกล้เคียงกับพื้นที่ปลูกของเรา เพราะพืชจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการปรับตัวมากนัก ใช้ต้นที่แข็งแรง ไม่มีโรค แมลง รบกวน นำมาเพาะชำในถุงไว้ประมาณ 1 เดือน เท่านี้ก็สามารถนำมาปลูกได้

การปลูกพืชท้องถิ่นนั้นให้ขุดดินเป็นหลุมเล็กๆ (อย่าขุดหลุมใหญ่เพราะดินจะเป็นโพรงข้างใต้ ทำให้ต้นล้มง่าย) นำถุงกล้าที่เพาะไว้มาปลูก พร้อมกับปักไม้มัดกับตอกหลวมๆ เพื่อป้องกันต้นล้ม และควรเริ่มต้นปลูกในช่วงหน้าฝน (ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง มิถุนายน) จะทำให้เจริญเติบโตได้ดี

ทั้งนี้พืชท้องถิ่นนั้นปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก สามารถปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติได้เลย หากปลูกแล้วตายก็เพียงนำมาปลูกใหม่ หรือ ถ้าไม่ต้องการให้ตายหรือปลูกในช่วงหน้าแล้งก็ให้น้ำเป็นระยะตามความเหมาะสม อาจจะมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงบ้างตามความเหมาะสม

ระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนควรจะสามารถ

  • ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าสารอาหารด้านโภชนาครบถ้วน และสามารถสร้างรายได้ในระดับที่เพีให้ผลผลิตหลากหลายชนิด เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงด้านอาหาร
  • ยังพอต่อการดำรงชีวิตให้กับเกษตรกร
  • ใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ใช้ประโยชน์จากความมีประสิทธิภาพของระบบการผลิตในที่ดินแปลงเล็กหรือของเกษตรกรรายย่อย
  • ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการผสมเกษรตามธรรมชาติ (open pollination) เพื่อให้ความเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์กลับมาอยู่ในมือของเกษตรกรและชุมชน และส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พื้นเมืองเพื่อความเหมาะสมกับท้องถิ่นที่เพาะปลูก
  • ใช้เครื่องมือการเกษตรที่อาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ไม่มีความซับซ้อน เพื่อลดต้นทุนด้านเศรษฐกิจและลดการใช้ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ทรัพยากรในดิน
  • ปรับเข้าได้กับวัฒนธรรมการผลิตของท้องถิ่น และสามารถตกทอดสู่รุ่นลูกหลานต่อไปได้
  • เป็นวิธีที่ทำได้โดยเกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินแปลงเล็ก ขนาดราว 10 ไร่ ไม่ว่าเกษตรกรผู้ผลิตจะมีฐานะทางเศรษฐกิจระดับใดก็ตาม

วิธีการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไม่ควรจะ

  • พึ่งพาเครื่องจักรการเกษตรขนาดใหญ่
  • พึ่งพิงการใช้ปุ๋ยหรือใส่สิ่งเพิ่มเติมจำนวนมากลงในดิน (รวมทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก) ที่ไม่สามารถผลิตได้เองจากในพื้นที่ที่ทำการเกษตร
  • ต้องใช้ทรัพยากรหรือผลผลิตจากทรัพยากรที่ไม่สามารถหามาทดแทนได้ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม
  • ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เพื่อเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนโลก ต้องลดน้อยถอยลง แต่ในทางกลับกันทำให้มีเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเท่าที่จะทำได้

kasetkamyangyeancy

ความมั่นคงด้านอาหารของโลกขึ้นอยู่กับการ กลับสู่พื้นฐาน เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมนยชนบท การทำการเกษตรและการผลิตที่ฉลาดขึ้น จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของทางแก้ปัญหา

ป้ายคำ : , , , , ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น