หยีเป็นพืชท้องถิ่นในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัก พบในกัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ใบรูปไข่คล้ายใบพิกุล ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลออกเป็นพวง เมื่อดิบสีเขียว สุกแล้วเป็นสีดำ เนื้อสีน้ำตาล หวานอมเปรี้ยว เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างแบน ผลมีวิตามินซีสูง ไม่รับประทานสดแต่นิยมนำมาแปรรูป เช่น ลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ใช้ทำน้ำผลไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dialium cochincinchiense Pierre
วงศ์ CAESALPINIACEAE
ชื่อพื้นเมือง หยี เขลง หมากแดง เขล็ง เคง นางดำ อีด่าง หมากเคง กาหยี (นราธิวาส) ,นางดำ (นครราชสีมา ) ,ยี (ภูเก็ต) ,หยี (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลูกหยี เป็นผลไม้พื้นเมืองภาคใต้ชนิดหนึ่ง รับประทานได้เมื่อสุก ลักษณะผลเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะมีสีดำ เนื้อในเป็นสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว แต่นิยมเอามาปรุงรสมากกว่าจะรับประทานสด ๆ ซึ่งทำได้หลายอย่าง เช่น กวน ฉาบน้ำตาล หรือทรงเครื่อง เมื่อปรุงรสใหม่แล้วจะจำหน่ายได้ราคาดีขึ้น
ต้นหยี ชอบขึ้นในที่ดอน ป่า หรือเชิงเขา ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เฉพาะกิ่งใบจะมีใบเป็นชุดกิ่งละ 5-7 ใบ ลักษณะคล้ายใบพิกุล ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้าง 5 เซนติเมตร อายุยืนเป็นร้อยปี กว่าจะให้ผลได้ต้นหยีต้องมีอายุ 30 ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อให้ผลและถูกเก็บเกี่ยวแล้วจะหยุดให้ผลไปปีหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการเก็บเกี่ยวผลต้องใช้วิธีรานกิ่งลงมาเนื่องจากต้นสูงใหญ่มาก กว่าจะแตกกิ่งใหม่และให้ผลอีกจึงต้องใช้เวลาถึง 2 ปี
ลักษณะผลของลูกหยี เมื่อดิบจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกเปลือกจะเป็นสีดำ เนื้อในสีน้ำตาล ขนาดผลโตเต็มที่เท่าปลายนิ้วชี้ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีดำหรือน้ำตาล ลักษณะแบน
การเก็บลูกหยี เมื่อรานกิ่งลงมาแล้ว เด็ดผลออกจากก้าน จากนั้นจึงเอาไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วเอาใส่กระสอบ ฝัดให้เปลือกสีดำกะเทาะออก ใช้กระด้งฝัดเอาเปลือกดำออกจนเหลือแต่เนื้อในสีน้ำตาล นำไปตากแดดอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าจะรับประทานสดก็เพียงแต่แกะเปลือกสีดำออกก็รับประทานได้แล้ว แต่ถ้าจะให้มีรสอร่อยและเพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาจะต้องปรุงรสอีก การปรุงรสลูกหยีให้ได้รสอร่อย นิยมทำกัน 3 วิธีคือ ทำเป็นลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่องและฉาบน้ำตาล
วิธีการปลูก
ต้นหยีเจริญเติบโตได้ดีทั่วไปตามธรรมชาติ สามารถขยายพันธุ์โดยนำเมล็ดซึ่งมีเปลือกแข็งมากมาแช่ในน้ำนาน ๆ ก่อนเพาะ การแช่เมล็ดก่อนเพาะนั้นจะช่วยให้การเพาะเมล็ดได้ดี หลังเพาะประมาณ ๒ เดือน ก็สามารถย้ายต้นอ่อนไปปลูกได้ ระยะเวลาในการปลูกต้นหยีจนกว่าจะออกดอกให้ผลต้องใช้เวลานานมาก ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าใช้ระยะเวลาในการปลูกนาน เท่าไร เกษตรกรบางคนเล่าว่าต้องใช้เวลาปลูก ๑๕ – ๑๗ ปี เกษตรกรบางท่านบอกว่า ใช้เวลาปลูกมากกว่า ๑๕ – ๑๗ ปี ต้นหยีที่จังหวัดปัตตานีจะออกดอกกลางเดือนเมษายน
คุณค่า/ประโยชน์
ลูกหยีสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี โดยนิยมแปรรูปได้ดังนี้
เนื้อไม้ แข็งและหนักใชสร้างอาคาร บ้านเรือนในสวนที่ต้องการความแข็งแรง เสา คาน รอด กระดานพื้น เป็นต้นผลดิบ นำมาต้มรับประทานได้มีรสฝาดผลสุก เปลือกสีดำเนื้อในสีส้มรับประทานได้มีรสหวานฝาด ราก รักษาแผล บำรุงน้ำนม รัษาโรกผิวหนัก เป็นยาระบาย เป็นต้น
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง