ดินเหนียวเป็นดินชนิดหนึ่งที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง ทั้งชนิดเคลือบและชนิดไม่เคลือบ เช่น กระถาง หม้อดิน โอ่ง อิฐ กระเบื้อง เป็นต้น เมื่อเผาดินเหนียวแร่บางชนิดในดินจะแปรสภาพ และยึดดินไว้ด้วยกัน สีของดินเผาก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดินเหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งต่างๆ ให้สีไม่เหมือนกัน เช่น ดินเหนียวเกาลิน จากลำปาง จะให้เครื่องปั้นดินเผาเป็นสีขาว ดินเหนียวจากราชบุรีให้สีแดง ดินเหนียวขากด่านเกวียนให้สีเหลือง น้ำตาลอมม่วง หรือน้ำเงิน
เครื่องปั้นดินเผานั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ซึ้งแต่เดิมคงทำขึ้นเพื่อเป็นภาชนะใส่อาหารและน้ำ ต่อมามนุษย์ก็พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพดีขึ้นและประโยชน์ใช้สอยของเครื่องปั้นดินเผาก็เพิ่มขึ้นตามลำดับเช่นกัน
สันนิษฐานกันว่าเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกๆ อยู่ในช่วงเวลาราวๆ 1500 BC ก่อนคริสตกาล ได้พบหลักฐานผลิตภัณฑ์ประเภทอิฐ (ใช้ในการก่อสร้าง) ครั้งแรกที่ประเทศบาบีโลเนีย เอสซีเรีย อียิปต์ และประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งในแถบนี้มีความก้าวหน้าในเรื่องเครื่องปั้นดินเผากันมาก รู้จักวิธีใช้ดินแดง ดินดำ ดินขาว มาตกแต่งผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะประเทศจีนมีความก้าวหน้าดีพอสมควร
ประวัติเครื่องปั้นดินเผาของจีนเริ่มในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องปั้นดินเผายังไม่มีการเคลือบ แต่ต่อมาก็มีการเคลือบเกิดขึ้นทั้งชนิดเคลือบตะกั่ว และเคลือบด่าง
ในราชวงศ์ถังมีการทำเคลือบได้หลายๆ สี ในสมัยซ้องสมัยย่วนและมิง มีการเคลือบแบบกังใสอีกด้วย (เคลือบปอร์สเลนที่เผาอุณหภูมิสูง) มีการเคลือบสีแดงครั้งแรกเกิดขึ้นและจีนได้ประสบความสำเร็จในการทำเคลือบสีต่างๆ สีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ แดง น้ำเงิน และเขียว
ส่วนในประเทศยุโรปก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผานานมาแล้ว ประเทศแรกที่ให้ความสนใจมากคือ อิตาลี ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดเนื้อหยาบและมีความพรุนตัวสูง เรียกว่า เมโจริก้า ต่อมาฝรั่งเศสก็ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาลักษณะเช่นเดียวกับอิตาลี เรียกว่า แฟร์ออง อยู่ในราวศตวรรษที่ 17 ชาวยุโรปพยายามทำปอร์สเลนแบบจีน แต่เนื่องจากใช้ดินแดงทำจึงไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมายุโรปได้พบดินขาวชนิดเกาลินขึ้น จึงตั้งชื่อว่า CHINA STONE ต่อมาโจเฮ็น เปรดดริค โบสเจอร์ได้ทำเครื่องปั้นดินเผาปอร์สเลนจนสำเร็จ และได้ตั้งโรงงานขึ้นเป็นครั้งแรก
ช่างที่ทำด้วยชามสังคโลกขึ้นเป็นครั้งแรกคือคนจีน ในประเทศไทยมีเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ เครื่องสังคโลกมีลักษณะเหมือนถ้วยชามของจีนในสมัยปลายแผ่นดินซ้อง เป็นชนิดเคลือบทึบ ต่อมาเมื่อสุโขทัยอยู่ภายใต้อยุธยา ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาก็เสื่อมลงเป็นแค่การปั้นดินหยาบๆ เท่านั้นปัจจุบันการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดขึ้นหลายแห่งส่วนหน่วยงานรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมค้นคว้าวิจัยได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและศูนย์วิจัยเครื่องปั้นดินเผา
ความหมายของเครื่องปั้นดินเผา
ในสายตาของคนทั่วไปเครื่องปั้นดินเผาเป็นเพียงแค่ภาชนะต่างๆ ต่างเท่านั้น บ้างก็มองทางเชิงศิลป์ว่าเป็นของตกแต่งที่สวยงามหรือเป็นโบราณวัตถุที่ควรค่าต่อการเก็บรักษาเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วใช่ว่าจะมีเพียงความหมายเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดินและหินที่ผ่านกรรมวิธีเผาให้คงทนแข็งแรง ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมการทำแก้ว โลหะเคลือบ การทำซีเมนต์ ปูนขาวปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งนับว่ามีประโยชน์เช่นกัน
ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย
ยุคหินกลาง พบเครื่องปั้นดินเผาผิวเคลือบมีความเงาและเครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกทาบ
สมัยหินใหม่ พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายแปลกใหม่เพิ่มขึ้นทีมีทั้งลายเรียบๆ ธรรมดาไปจนถึงลายที่มีความวิจิตรงดงามมาก ภาชนะสมัยหินใหม่ตอนต้นมีจุดเด่นคือ มีที่รองรับถาวร บ้างก็เป็นขากลวง 3 ขา มีรูเจาะไว้ 3 รู เพื่อไล่อากาศ
ยุคโลหะ ในยุคนี้ได้ถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นหัตถกรรมดั้งเดิม ที่ค่อยๆ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ
เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมมากในวัฒนธรรมของซานคือ การทำลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยง
เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น 6 ระยะดังนี้
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย พบเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณสนามบิน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล (ไทยขอม) เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ และเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลและน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลก
เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม
แหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา มีอยู่หลายแห่ง เช่น
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา มีขั้นตอนดังนี้
1.วัตถุดิบ คือ ดินซึ่งได้จากท้องนา การสังเกตดินที่ดี คือ ต้องมีสีดำเป็นมันเลื่อม และหน้าแล้งจะแตก ท้องนาบางแห่งต้องขุดเอาหน้าดินออกก่อนขั้นต่อไปจึงใช้ได้ แต่ที่นาบางแห่งหน้าดินใช้ได้ เมื่อถางหญ้าหรือกอฟางออกแล้วก็ขุดไปใช้ได้เลย การขุดจะทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋ากว้าง ประมาณด้านละ 4นิ้ว – 9 นิ้ว ดินที่ซื้อขายในอดีตขายเป็นเกวียน
2.การเตรียมดิน นำดินมาทุบให้ละเอียดใส่ลงเป๊าะ (ตะกร้า) นำไปแช่นี้ในหลุมที่ทำไว้โดยแช่ไว้ 1 คืน ตอนเช้าก็เอามานวดผสมทราย อัตราส่วนประมาณดิน 3 ส่วนต่อทราย 1 ส่วน
3.การขึ้นรูปและการปั้นหม้อดินเผา วิธีการขึ้นรูปจะกดดินเป็นแผ่นกลมเป็นส่วนก้นหม้อวางบนแป้นไม้ที่ผังแน่นม้อหรือพาชนะที่สูงขนาดแทนตอไม้ได้ แล้วปั้นดินเหนียวให้กลมยาวนำมาวางเป็นวงกลมบนส่วนก้นหม้อ ใช้มือบีบดินวงกลมให้เป็นทรงกระบอกใช้ไม้สำหรับตกแต่งกับมือขึ้นรูปหม้อต่อไป
การขึ้นรูปและปั้นจะวางชิ้นวางไว้บนตอไม้แล้วปั้นโดยการเดินรอบตอไม้ แทนการใช้แป้นหมุน ดังจะลำดับขั้นตอนการปั้นหม้อดินเผาดังนี้
4.การตกแต่ง โดยใช้ ไม้ขีดลงบนภาชนะ ที่ปั้นในขณะที่พะมอนหมุน แต่ในปัจจุบันมีการเพิ่มลวดลายใหม่ตามจินตนาการของช่างปั้น ปัจจุบันแยก ออกเป็น 3 แบบคือ การ การขูด การฉลุ และการปั้นแปะ โดยการใช้น้ำโคลนของดินชนิดเดียวกัน เป็นตัวประสานลายที่ปั้นแปะ
การย้อมสี มีการนำเอาดิน สีแดงมาละลายน้ำแล้วทาหม้อดินให้เป็นสีแดง เพื่อความสวยงาม
การผึ่ง นำภาชนะที่ขึ้นรูปเสร็จแล้วไปผึ่งที่โรงผึ่งซึ่งสร้างเป็นโรงหญ้าหลังคาคลุมถึงพื้นป้องกันลม แดด ฝน พื้นเป็นทรายใช้เวลาผึ่งตามฤดูการ ฤดูแล้ง 15 – 20 วัน ฤดูฝน 30 วัน
5.การเผาใช้ลานกว้างบริเวณบ้าน ก่อนจะเผาจะต้องเอาหม้อดินตากแดดให้ร้อนเสียก่อน หากวันไหนไม่มีแดดก็เผาไม่ได้ ใช้เศษหมอดินเผาที่แตกรองพื้นดิน เอาหม้อดินลงเรียง ซ้อนกันแล้วเอาไม้และฟาง ปกคลุมให้ครอบคลุมหม้อดินเผาให้หมด แล้วคลุมด้วยขี้เถ้าเสร็จแล้วจุดไปตรงขอบที่ติดดินรอบ ๆ กอง
ในสมัยโบราณ ชาวบ้านจะขุดเตาบริเวณจอมปลวกลึกลงไปใต้ดินโดยใช้ปากปล่องจอมปลวกเป็นปล่องเตา เรียกว่า เตาทุเรียง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้เตาเผาซึ่งทำจากอิฐดิบ แต่ยังคง สภาพลักษณะของเตาเป็นแบบดั้งเดิมอยู่ เพียงแต่มีข้อแตกต่างลักษณะเดียว คือเตาเผาปัจจุบันอยูบนผิวดิน
การสร้างเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ มีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่ 4 ประการ ได้แก่
ให้ได้อุณหภูมิในกำหนดเวลาและรักษาอุณหภูมิให้อยู่คงที่ได้ตามที่ต้องการ
ให้อุณหภูมิภายในส่วนต่างๆ ของเตาเผาได้ตามที่ต้องการ และเร่งความร้อนได้ตามส่วนต่างๆของเตาเผา
สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมีของชิ้นงานในเตาเผา เผาให้ได้อุณหภูมิสูงโดยใช้เชื้อเพลิงน้อย
การเผาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ แบ่งตามอุณภูมิของไฟ
ป้ายคำ : ภูมิปัญญา