ภูมิปัญญาชาวบ้านที่นับวันยิ่งเลือนหาย เดิมการสีข้าวในอดีตจะไม่มีเครื่องจักรกลที่ทันสมัย แต่เกษตรกรมีข้าวกล้องไว้บริโภคตลอดทั้งปี ดังนั้นคุณผ่าน ปันคำ ปราชญ์เกษตรแห่งโรงเรียนชาวนาเกษตรยั่งยืน ต.ศรีเมืองชุม อ.แม่สาย จ.เชียงรายจึงได้สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านโดยการประยุกต์วัสดุเหลือใช้ในปัจจุบันให้เป็นเครื่องสีข้าวกล้อง สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้แรงคนในการสีข้าวให้เป็นเมล็ดข้าวกล้องที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เครื่องสีข้าวกล้องประดิษฐ์เองมีส่วนประกอบเพียงไม่กี่อย่าง ใช้งานง่าย เกษตรกรมืออาชีพอย่างคุณก็สามารถทำได้
เครื่องสีข้าวกล้องประดิษฐ์เองแบบมือหมุน
มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน(ตามรูป)ดังนี้
วิธีการทำ/หลักการทำงาน
– เครื่องสีข้าวกล้องแบบมือหมุน มีวิธีการสีคล้ายโม่แป้ง เป็นเครื่องสีข้าวที่ทำด้วยท่อนไม้ มีรูปทรงกระบอก 2 ส่วน คือ ท่อนฟันบน และท่อนฟันล่าง เมื่อนำมาประกบซ้อนกัน โดยมีแกนหมุนที่อยู่กึ่งกลางติดอยู่กับท่อนฟันล่างเป็นตัวยึดรองรับตรงไม้ คานที่ติดกับท่อนฟันบน รอบท่อนฟันล่างใช้ยางรถยนต์ (ขอบ 14 นิ้ว, ขอบ 16 นิ้ว) ทำเป็นถาดรองรับข้าว ซึ่งมีขนาดใหญ่เล็กตามขนาดของท่อนฟันล่างและท่อนฟันบน
– เมื่อเทข้าวเปลือกลงไปจะไหลลงไปอยู่ระหว่างท่อนฟันบนและท่อนฟันล่างที่ขบกัน อยู่ เมื่อหมุนก็จะบดเปลือกข้าวหลุดออกนำข้าวเปลือกใส่ลงในช่องข้างบน จากนั้นจึงใช้แรงงานคนหมุนจากทางด้านขวาไปทางด้านซ้าย เปลือกข้าวจะหลุดออกตกลงไปในถาดรอง จึงค่อยนำไปฝัดในกระด้งแยกเปลือก เอาเปลือกออก จากนั้นมาคัดข้าวปลายในตะแกรงคัดปลาย ก็จะได้ข้าวกล้องนำไปหุงรับประทาน
– หลังจากนั้นจึงนำข้าวที่กะเทาะแล้วไปฝัด แยกเอาแกลบออก ก็จะได้ข้าวกล้อง นำมาหุงได้คุณค่าอาหาร ซึ่งเครื่องสีข้าวชนิดนี้ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงใดๆ ใช้เพียงแรงงานในครัวเรือนเท่านั้น
แหล่งที่มาของข้อมูล : ผ่าน ปันคำ.สัมภาษณ์,2 ตุลาคม 2558
เรียบเรียงโดย: พูนศักดิ์ ศรีสุทธา เจ้าหน้าสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
ป้ายคำ : เครื่องมือ