เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 – 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
วิธีการการขยายหัวเชื้อบิวเวอเรียจากข้าวเปลือก
วัสดุ อุปกรณ์
- ขวดแก้วแบบแบน
- หน้ากากอนามัย
- แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
- สำลี
- หม้อหุงข้าว
- ทัพพี
- ข้าวเปลือก
- ตราชั่ง (กิโล)
ขั้นตอนการทำ
เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ
- หุงข้าวปริมาณข้าวเปลือก 3 ส่วน ต่อ น้ำ 4 ส่วน พอข้าวสุก (ครึ่งสุกครึ่งดิบ)
- นำข้าวสุกมาใส่ลงในขวดแก้วแบบแบน แล้วปล่อยไว้ให้ข้าวอุ่น (แนบแก้มให้รู้สึกว่าอุ่น)
- นำเชื้อบิวเวอเรียใส่ลงในขวดข้าวสุกที่เตรียมไว้ 10 15 เม็ด : 1 ขวด
- นำสำลีมาอัดปากขวดให้แน่น เขย่าให้ข้าวสุกกับเชื้อบิวเวอเรียผสมกัน จึงค่อยๆนำไปวางในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ (ก่อนวางถุงควรใช้แอลกอฮอล์ฉีดพ่นเพื่อฆ่าเชื้อบริเวณพื้นที่เสียก่อน
- หลังจากขยายเชื้อบิวเวอเรียได้ 10 วัน เกษตรกรสามารถนำไปปั่นให้ละเอียดแล้วผสมน้ำก่อนฉีดพ่น
การเขี่ยเชื้อ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเขี่ย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ประกอยด้วย ตะเกียง แอลกอฮอล์ (และแอลกอฮอล์ 95 % สำหรับเติมตะเกียง) เข็มเขี่ยเชื้อ และแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับฆ่าเชื้อ
- เตรียมอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาด แล้วเช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
- นำถุงเมล็ดข้าวเปลือกที่นึ่งแล้วใส่เข้าไปในตู้ ด้านซ้ายมือ แล้วปิดตู้
- เริ่มทำการเขี่ยเชื้อโดย จุดตะเกียง ใช้มือขวาจับเข็มเขี่ยด้วยสามนิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นำมาลนไฟที่ปลายให้แดง แล้วลนมาทางด้ามจับ 2 3 ครั้ง
การบ่มเชื้อ
นำถุงเมล็ดข้าวเปลือกที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวเปลือก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น
การนำไปใช้
- การใช้เชื้อบิวเวอเรียที่เจริญบนเมล็ดข้าวสุก นำมาขยำหรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำพอประมาณ กรองด้วยผ้าขาวบางและเอาเฉพาะของเหลวนำไปผสมน้ำฉีด (อัตรา เชื้อบิวเวอเรีย 1 ขวด / น้ำ 20 ลิตร)
- การนำเชื้อบิวเวอเรียไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ปฏิบัติดังนี้
2.1 ฉีดพ่นให้ถูกตัวแมลงหรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชอาศัยอยู่ให้มากที่สุด
2.2 ช่วงระยะเวลาพ่นควรเป็นเวลาเย็น เพราะมีสภาพความชื้นสูงและแสงแดดอ่อนๆ
2.3 ควรให้น้ำแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น หากฝนไม่ตกเพื่อเพิ่มความชื้น
2.4 สำรวจแปลงพืช (ภายใน 5 วัน) ถ้ายังพบแมลงศัตรูพืชให้ฉีดพ่นเชื้อบิวเวอเรียซ้ำอีกครั้ง
การเก็บรักษา
- เก็บในที่ร่ม อุณหภูมิปกติ ใช้เวลาประมาณ 20-30 วัน
- เก็บเชื้อบิวเวอเรียในภาชนะที่ปิดมิดชิด นำไปแช่ในตู้เย็นสามารถเก็บได้นาน 3 เดือน
ข้อจำกัดในการใช้
- ความร้อน ความชื้นจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การมีชีวิตอยู่ ความคงทนของเชื้อบิวเวอเรีย และประสิทธิภาพการควบคุมและการทำลายศัตรูพืช
- ห้ามนำสารกำจัดแมลงและโรคพืชผสมกับเชื้อบิวเวอเรียโดยเด็ดขาด
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช
- เนื่องจากเชื้อค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดด และอุณหภูมิสูง จึงควรใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ
- ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องตลาด ให้ใช้วิธีและอัตราการใช้ที่ระบุไว้ในฉลาก
- เชื้อราบิวเวอร์เรียชนิดสด ที่รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืช หรือที่เกษตรกรผลิตขยายได้เอง ใช้ในอัตราก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัม ( 2 ถุง) ต่อน้ำ 25 50 ลิตร โดยนำก้อนเชื้อใส่ลงในตาข่ายเขียว แล้วนำไปยี หรือขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดลงไปในน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดออกทิ้งไป แล้วนำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่น
- ระหว่างที่ฉีด ให้กวนน้ำเป็นระยะ และควรปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียด จะฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น
- เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด รวมถึงแมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดด้วย ดังนั้นถ้าหากพบว่ามีศัตรูธรรมชาติอยู่มาก ก็ควรงด หรือชะลอการฉีดออกไป
- เชื้อราจะเข้าทำลายแมลงได้ในสภาพที่มีความชื้นสูง ดังนั้น การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงฤดูแล้ง หรืออากาศแห้งแล้ง อาจจำเป็นต้องเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ หรือพ่นละอองน้ำ ก่อนและหลังการใช้