สวนเราทำเกษตรยั่งยืน ในรูปแบบวนเกษตร เกษตรผสมผสาน สวนสมรม เราจึงมีต้นไม้มากมายที่สามารถนำมาใช้ได้ ชีวมวลที่ได้จากกิ่ง ก้าน ลำต้นของต้นไม้ที่นำมาทำเป็นพลังงาน เราเลือกที่จะแปรรูปเป็นถ่าน
จากการศึกษาทดลองทำเตาเผาถ่านที่เหมาะสมกับตนเอง เราเลือกเตาเผาถ่านถัง200ลิตร (แบบตั้ง) รุ่น S1 ของศูนย์วิจัยพลังงานจากไม้ กรมป่าไม้
เตารุ่นนี้เน้นการเผาไม้ให้ได้ถ่านเป็นหลัก ทำเตาง่าย เผาง่าย ใช้เวลาน้อย และเคลื่อนย้ายเตาได้สะดวก
ส่วนประกอบของเตา
- ตัวเตาเป็นถังเหล็ก 200 ที่มีท่อรับความร้อนที่ก้น
- ฝาเตามีท่อติดตังไว้ด้านบน ช่วยระบายอากาศ ควัน และเป็นปล่องไฟ
- ตะแกรงเหล็ก ช่วยรับน้ำหนักไม้/ถ่าน ที่รองรับหยดน้ำในเตาและห้องระบายลม
วิธีทำเตา
- นำถังเหล็ก 200 ลิตรแบบมีฝาปิดเปิดมาเจาะรูที่ก้น ขนาด 3×3 นิ้ว
2.นำท่อเหล็กกล่อง 3×3นิ้วยาว 50ซม. ตัดทะแยง 4×6 ซม. ,3×7 ซม. กลับข้างแล้วเชื่อมติดกันให้เป็นท่อรูปตัวJ โดยมีมุมโค้ง 50 องศา
3.นำท่อตัว J ด้านสั้นมาใส่ช่องก้นถังเแล้วเชื่อมติดกันให้สนิท ใช้เหล็กตัน1×1ซม. เชื่อมฐานท่อกับขิบสันถังเพิ่มความแข็งแรงท่อ
4.นำฝาถังมาเจาะรู2.5×2.5 นิ้ว แล้วพับขอบขึัน นำท่อเหล็กกล่อง 3×3นิ้วยาว 50ซม.ใส่ในท่อแล้วเชื่อมติดกัน
5.ใช้เหล็กแบนยาว168 ซม.ดัดและเชื่อมติดกันเป็นวงกลม เชื่อมแกน 3 เส้นด้วยเหล็กตัน 1×1 ซม. นำเหล็กแบน ตัดให้ยาวลดหลั่นกัน11เส้น เชื่อมติดบนคานเหล็กทุกจุดตัด ทำขาตะแกรงด้วยเหล็กแบน 15ซม. ที่ดัดงอมาเชื่อมติดเป็นขารองตะแกรง ใช้แผ่นเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้วเชื่อมปิดตรงกลางตะแกรงสำหรับบังคับให้ความร้อนไปทั่วทั้งเตา
ขั้นตอนการเตรียมเผาถ่าน
- เตรียมไม้ นำไม้แห้งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน4นิ้วมาตัดเป็นท่อนยาว30-40 ซม.
- เตรียมเตา ใช้ก้อนอิฐ ดิน ทำเป็นฐานรองเตาสูงประมาณ 30 ซม.ทำเป็นรูปตัวU และวางเตาบนฐานให้ปลายท่อทางเข้าความร้อนสูงจากพื้นประมาณ 10 ซม.
3.ใส่ตะแกรงลงในเตา แล้วใส่ไม้ในเตาโดยแบ่งเป็น3ส่วนตามข้อของถังชั้นล่างสุดใส่ไม้ท่อนเล็ก ช่วงกลางใส่ไม้ท่อนใหญ่ ช่วงบนใส่ไม้ท่อนเล็ก หากไม้มีขนาดเท่าๆกันใส่ลงได้ทั้งหมดในคราวเดียว จนท่อนไม้เต็ม นำฝามาปิดแล้วล็อกฝาให้แน่น
ขั้นตอนการเผาถ่าน
1.นำไม้ฟืนวางเรียงช่องปล่องไฟหน้าเตา เริ่มจุดไฟหน้าเตา ให้ความร้อนและเปลวไฟเข้าในปล่องท่อ เติมไม้เชื้อเพลิงต่อเนื่องอย่าให้ไฟดับ และให้มีเปลวไฟตลอดเวลา แล้วสังเกตุควันจากปล่องด้านบน
- การสังเกตุควันในระยะต่างๆ
2.1 ช่วงควันเบา เป็นระยะสะสมความร้อน จะมีควันออกมาแบบเบาๆ เรื่อยๆ เอื่อยๆสลับกับควันแรง จนควันออกมาต่อเนื่อง ควันมีทั้งสีใส สีขาวและสีขุ่น
2.2 ช่วงควันบุ๋ย ลักษณะควันเป็นลำพุ่งออกมาเป็นสีขาวขุ่นเต็มปลายท่อ เป็นระยะสะสมความร้อนจนไฟในเตาเริ่มติด ให้หยุดเติมเชื้อเพลิงหน้าเตา
2.3 ช่วงควันบ้า เป็นช่วงไม้ในเตาคายแก๊สในเนื้อไม้ออกมาเผาตัวเอง เตาเนื่องจากปริมาณอากาศในเตามีจำกัดจึงพ่นควันสีขาวขุ่น สีขาวปนเหลืองออกมาอย่างรุนแรงต่อเนื่อง
2.4 ช่วงควันบาง เมื่อไม้ในเตาคายแก๊สและเผาตัวเองอย่างต่อเนื่องจนแก๊สใกล้หมด ควันที่ออกมาจะพุ่งออกมาอย่างแรง ช่วงปลายท่อเริ่มเป็นควันใสแต่สูงขึ้นไฟเป็นควันขาว รอจนช่วงปลายท่อเป็นควันบางใสเต็มทั้งท่อโดยไม่มีควันขาวปน แสดงว่าไม้ในเตาเป็นถ่านทั้งหมดแล้ว
- ปิดเตาโดยใช้ดินเหนียวอุดช่องทางเข้าไฟด้านล่างให้มิด รอให้ควันที่ปลายท่อด้านบนเบาบางลง แล้วใช้ผ้าห่อดินเหนียวชุบน้ำหมาดๆ นำไปปิดปลายท่อด้านบนให้สนิท อาจมีควันออกมาทางขอบฝาถังเพราะแรงดันในเตาเมื่อความดันน้อยลงควันจะหายไปเตาจะปิดสนิทด้วยตัวเอง
- รอให้เตาเย็น ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง นำถ่านออกจากเตา เก็บถ่านไว้ใช้งาน
เตาเผาถ่านถังตั้ง “S1” เป็น
เตาเผาที่มีประสิทธิภาพสูงโดยอาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่มีอยู่ใน
เตาเพื่อทำให้ไม้กลายเป็นถ่านหรือเรียกว่า กระบวนการคาร์บอนไนเซชั่น โครงสร้างปิดของถังทำให้ควบคุมปริมาณอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ จึงได้ถ่านที่มีคุณภาพมีขี้เถ้าน้อย และ
ผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่านคือ น้ำส้มควันไม้
เตาเผาถ่านถัง200ลิตร(แบบตั้ง) รุ่น S1 ทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ทำง่าย ประหยัด เผาง่าย ได้ถ่านเร็ว
คุ้มค่า คุ้มเวลา และพึ่งตนเองได้