เต่าร้างเป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่มีหน่อและขึ้นเป็นกอ พบทั่วไปในป่าดิบทุกแห่ง ชอบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ต้นเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไป บางต้นเตี้ย บางต้นสูงถึง 6-12 เมตร ต้นมีกาบหุ้มเป็นเส้นประสานกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caryota mitis Lour.
ชื่อสามัญ : Burmese fishtail palm, Clustered fishtail palm, Common fishtail palm, Wart fishtail palm, Tufted fishtail palm
ชื่ออื่น : เต่าร้างแดง มะเด็ง
วงศ์ : ARECACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น พืชจำพวกปาล์ม ลำต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 10 เมตร สามารถแตกหน่อด้านข้างในตำแหน่งใต้ดินหรือใกล้ผิวดิน สีแดงเข้มปนน้ำตาลจนเกือบดำ
ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อยรูปสามเหลี่ยมหยักเว้า ปลายแหลมคล้ายหางปลา โคนรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเป็นมัน กาบใบยาว มีขนสีน้ำตาลแดงปนเทาหรือสีดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลปกคลุมที่โคน
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามลำต้น ช่อดอกจะมีดอกย่อยออกจากภายใต้กาบใบ ช่อดอกประกอบด้วย ดอกเพศผู้ดอกสีเหลืองนวล ดอกเพศเมียสีเหลือง เป็นพวง แขนงช่อดอกจะมีดอกออก 2 ข้าง แบบช่อเชิงลด รวมเป็นกระจุก กระจุกละ 3 ดอก
ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ออกเป็นพวง ทรงกลม ผลสุกสีแดงคล้ำ
ข้อมูลทั่วไป
มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การปลูกเลี้ยงและการใช้ประโยชน์
การปลูกเลี้ยง
ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดจัด
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด แยกกอ
เต่าร้างบางทีก็เรียก เต่ารั้ง หรือมีชื่ออื่น ๆ อีกคือ เขืองหมู่, เกี๋ยง (ภาคเหนือ) หมากมือ (น่าน) เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง) เต่ารั้งแดง (นครราชสีมา) มะเด็ง (ยะลา) งือเด็ง เป็นพืชตระกูลปาล์ม ที่มีหน่อและขึ้นเป็นกอ พบทั่วไปในป่าดิบทุกแห่ง ชอบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง ต้นเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไป บางต้นเตี้ย บางต้นสูงถึง 6-12 เมตร ต้นมีกาบหุ้มเป็นเส้นประสานกัน เส้นผ่าศูนย์กลางต้นประมาณ 10 ซม.ผลของ เต่าร้าง มีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ผลกลมเท่าปลายนิ้ว เป็นพวงระย้า ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีแดงคล้ำถึงดำ ผิวของผลมีขนละเอียดเล็ก ๆ ถ้าได้สัมผัสจะทำให้คันมาก เช่นเดียวกับตำแยหรือหมามุ่ย สรรพคุณทางสมุนไพรของ เต่าร้าง มีดังนี้ ราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด
– หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ นอกจากนี้ ส่วนที่ใช้เป็นอาหารคือยอดอ่อนและผล เมื่อผลสุกรับประทานได้ แต่เนื่องจากยางของผลเมื่อถูกผิวอาจคันหรือเข้าตาอาจตาบอดได้ เนื้ออ่อนข้างในตรงบริเวณโคนต้น กินได้ แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน ทำน้ำตาลได้จากต้นเต่าร้างแดงได้เช่นเดียวกับมะพร้าว ข้อควรระวัง คือ ยางของ เต่าร้าง โดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการคัน หรือถ้าเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ (ข้อมูลจาก www.legendnews.net/)
การใช้ประโยชน์
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ : ไม้ประดับในอาคาร ปลูกกลางแจ้งในสวนสาธารณะ ริมสระว่ายน้ำ
รูปทรงสวย แต่ไม่ควรปลูกใกล้ทางเดิน สนามเด็กเล่น หรือบริเวณที่พักผ่อน เพราะผลถูกผิวหนังจะคันอยู่ริมทะเลได้
ประโยชน์ : ยอดอ่อนนำไปปรุงอาหารรับประทานได้
สรรพคุณ
ราก ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ แก้หัวใจพิการ แก้ตับทรุด
หัว ดับพิษที่ตับ ปอด หัวใจ บำรุงตับ แก้กาฬขึ้นที่ตับ แก้ตับทรุด แก้ช้ำใน บำรุงหัวใจ
เมล็ด แก้เบาหวาน แก้บิด แก้ท้องเสีย
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ตับทรุด
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, สมุนไพร