ลูกเนียงหรือเมล็ดเนียง เป็นผักที่ นิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย เรา ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสด ใช้ลูกอ่อนปอก เปลือกจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรส เผ็ด หรือบริโภคลูกเนียงเพาะ (นำลูกเนียงไปเพาะในฟางจนต้นอ่อนงอก) ลูกเนียงดอง หรือทำให้สุก โดยต้มหรือย่าง ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน วิตามิน กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมี กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด บางคนรับประทานแล้วเกิดอาการผิดปกติ หรือเกิดอาการแพ้ ชาวบ้านเรียกว่า เนียงมัด มักเกิดอาการภายใน 2-14 ชม. ภายหลังรับประทาน เริ่มด้วยมีอาการปวดตามบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลำบาก ปวดปัสสาวะมาก บางรายไม่มีปัสสาวะ (anuria) ปัสสาวะขุ่นข้น บางคราวปัสสาวะเป็นเลือด บางรายมีอาการปวดท้องแบบ colic ปวดท้องน้อย และปวดหลัง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง
เนียงเป็นไม้ป่ายืนต้นอายุยืนนานหลายสิบปี เจริญเติบโตดีในเขตป่าดิบที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำตลอดปี ตั้งแต่นราธิวาส ผ่านแนวเทือกเขาตะนาวศรีไปจนถึงแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่เกิดเอง ปัจจุบันยังไม่มีใครปลูกเป็นสวนไม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ ปลูกง่ายโตเร็ว เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปีหลังปลูก ติดผลปีละ 1 รุ่น ปกติเนียงออกดอกช่วงเดือน ธ.ค.- เม.ย. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.โดยเนียงในเขตยะลา.นราธิวาส.เก็บเกี่ยวช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. แต่เนียงในเขตชุมพร. สุราษฎร์ธานี. เก็บเกี่ยวช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. คาดว่าสาเหตุมาจากการปลูกในพื้นที่ต่างเส้นรุ้งกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Archidendron jiringa (Jack) I.C. Nielsen
ชื่อพ้อง Pithecellobium lobatum Benth.,P. jirniga (Jack) Prain ex King
วงศ์ Leguminosae-Mimosoideae (Fabaceae)
ชื่ออื่น ๆ ขางแดง ชะเนียง เนียงใหญ่ เนียงนก ผักหละต้น พะเนียง มะเนียง มะเนียงหย่อง ยิริงหรือยือริง ยินิกิง หย่อง เจ็งโกล ตานิงิน
ลักษณะของพืช
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำ
เนียงเป็นพืชตระกูลถั่ว พันธ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลเป็นฝักใหญ่ ในหนึ่งฝักอาจมี 10-14 เมล็ด เนื้อในเมล็ดใช้บริโภค เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองนวล มีรสมันกรอบ กลิ่นฉุน ธาตุและสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ในลูกเนียงประกอบด้วยแป้งร้อยละ 70 โปรตีนร้อยละ 15 นอกจากนี้ประกอบด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 บี 12 วิตามินซี ฟอสฟอรัส กำมะถัน กรดโฟลิค กรดอะมิโน 12 ชนิด และกรดแจงโคลิค (djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก และเป็นพิษต่อร่างกาย สารเป็นพิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาทของไตให้เสื่อมลง ถ้ารับประทานลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าอาการมากระบบไตจะล้มเหลว และถึงตายในที่สุด
การป้องกันพิษของลูกเนียง ก่อนที่จะนำมารับประทาน
วิธีรักษา
ผู้ป่วยที่แพ้พิษลูกเนียง ปัจจุบันให้ผู้ป่วยรับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต ดื่มน้ำมากๆ หากปัสสาวะออกน้อย หรือปัสสาวะไม่ออก ใช้สายยางสวนปัสสาวะ
พืชอื่นที่มีลักษณะและรสใกล้เคียงกัน ซึ่งนิยมรับประทานได้แก่ สะตอ ลูกเหรียง ชะเนียงนก แต่การเกิดพิษยังไม่ค่อยมี
สายพันธุ์
เนียงมี 3 ชนิด คือ เนียงคาน เนียงข้าว และเนียงนก เนียงคาน ในหนึ่งช่อมี 10 – 12 เมล็ด เนียงข้าวจะมีเมล็ดกลมป้อมในหนึ่งช่อมีถึง 15 – 20 เมล็ด สำหรับเนียงนกมียอดอ่อนสีเขียวนวล ในฝักมีเมล็ดขนาดเท่าหัวแม่มือเรียงเป็นแถบแน่น เนียงจะออกดอกเดือนธันวาคม – เมษายน ฝักจะแก่ประมาณเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม
เนียงธรรมดา : ลักษณะฝักตรง ข้อระหว่างเมล็ดคอดเว้าชัดเจน ผิวเปลือกสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลอมม่วงขนาดผลใหญ่ เยื่อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลอมแดง
เนียงนก : ลักษณะฝักเกือบตรงหรือข้อระหว่างเมล็ดคอดเว้าน้อยกว่า ขนาดฝักเล็กกว่าเนียงธรรมดาออกดอกช่วงเดือน ม.ค.- มี.ค. ผลแก่เก็บเกี่ยวช่วงเดือน พ.ค.- ก.ค. ผิวผลสีแดงอมส้มเยื่อหุ้มเมล็ดสีสีม่วง รสชาติด้อยกว่าเนียงธรรมดา นิยมบริโภคได้ทั้งเปลือกหุ้มเมล็ดเพราะจะไม่มีกลิ่นติดปาก จึงราคาดีกว่าเนียงธรรมดา
เนียงเพาะ : เป็นลูกเนียงที่นำไปเพาะให้งอกเป็นต้นอ่อนก่อน ซึ่งก็คือวิธีการถนอมอาหารนั่นเอง หลังจากงอกแล้วจึงใช้บริโภค รสมันกรอบ กลิ่นแรง ขนาดโตกว่าเนียงธรรมดา
ขยายพันธุ์
ตอน เพาะเมล็ด (ไม่กลายพันธุ์).
เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, ผักพื้นบ้าน