เพอร์มาคัลเชอร์ถูกออกแบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการจัดการภูมิประเทศและชีวิตอย่างยั่งยืน ในอนาคตเพอร์มาคัลเชอร์จะมีประโยชน์ในแง่จัดการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย
เพอร์มาคัลเชอร์เป็นระบบการออกแบบที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการออกแบบฟาร์มเกษตร แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้เพอร์มาคัลเชอร์ในการออกแบบเมือง หรืออื่นๆ ได้ หลักการพื้นฐานในการออกแบบของเพอร์มาคัลเชอร์ประกอบด้วย 8 เรื่อง คือ
เพอร์มาคัลเชอร์จึงครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น การออกแบบเชิงนิเวศน์ นิเวศน์วิศวกรรม การออกแบบที่อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม การก่อสร้างและการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ที่จะนำไปสู่สถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืน การสร้างที่อยู่อาศัยที่ซ่อมบำรุงรักษาตัวเองและสร้างตัวเองขึ้นใหม่ได้ และระบบการเกษตรที่ยืมรูปแบบนิเวศน์ในธรรมชาติมาใช้
การจัดพื้นที่แบบเพอร์มาคัลเจอร์ ยังเน้นการจัดวางที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดประโยชน์สูงสุดในตัวเอง และเมื่อสิ่งเหล่านั้นรวมกันแล้วจะต้องเกิดประโยชน์สูงกว่าการที่พวกมันอยู่เดี่ยวๆ โดยต้องใช้พลังงาน แรงงานและสร้างขยะให้น้อยที่สุด ซึ่งเราสามารถทดลองสร้างระบบเพอร์มาคัลเจอร์ของตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยการปลูกพืช 7 เลเยอร์ ซึ่งถือเป็นการปลูกพืชที่เกื้อกูลกันมากที่สุดและสามารถทำได้ไม่ว่าจะมีพื้นที่เล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม ดังนี้
1. Canopy Layer ต้นไม้ใหญ่
2. Understory Layer ต้นไม้ที่ต้องอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่อีกที
3. Shrub Layer พุ่มไม้ ต้นไม้ที่มีความสูงจำกัด เช่น ต้นไม้ตระกูลเบอร์รี่
4. Herbaceous Layer ต้นไม้ล้มลุก เช่น ต้นไม้ที่โตในช่วงหน้าหนาว และสมุนไพร
5. Groundcover Layer พืชคลุมดิน เพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพื้นดิน
6. Underground Layer พืชหัว เห็ด หรือสิ่งอะไรที่เกี่ยวข้องกับดิน รวมทั้งการให้แมลงต่างๆ ที่ช่วยพรวนดินมาอาศัยอยู่ด้วย
7. Vertical Layer ไม้เลื้อย
ปลูกผักแบบ Hugelkulture หรือ เพอร์มาคัลเจอร์แบบง่าย
เพอร์มาคัลเชอร์เป็นระบบการออกแบบที่ดินเชิงนิเวศน์ สามารถทำเพอร์มาคัลเจอร์แบบง่ายด้วยการใช้ท่อนซุงหรือพวกกิ่งไม้ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ ต่างๆ มากองเป็นฐานและก่อเป็นแปลงผักให้สูงขึ้นเพื่อใช้ในการปลูกผัก ซึ่งประโยชน์ของการปลูกผักโดยวิธีนี้ก็คือว่า พืชผักที่เราปลูกนั้นจะได้รับสารอาหารจากกิ่งไม้เศษไม้ที่เรากองไว้ด้านล่าง เป็นการช่วยให้อาหารและความชื้นตามธรรมชาติ เราจะต้องทำให้แปลงผักแบบกองสุมนี้ให้สูงเข้าไว้ โดยให้สูงอย่างน้อย 2 เมตร เพื่อให้ได้กองปลูกผักที่ไม่ต้องรดน้ำเลยตลอดหน้าแล้งในปีที่ 2 ซึ่งถ้ากอง Hugelkulture ยิ่งสูงมาก จะมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นที่ดีจนไม่ต้องรดน้ำ หรือใช้น้ำน้อยมาก
ป้ายคำ : เกษตรกรรมยั่งยืน