ในช่วงฤดูร้อน เราจะมีเห็ดฟางที่เหลือจากการทำนาเป็นจำนวนมาก เรามีปัญหาเกษตรไม่น้อยที่มีรายได้ไม่เพียงพอ เรามีเกษตรที่เผาฟางทิ้งไป ดังนั้นเราจึงมีการดำเนินการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านเห็ดฟาง , รายได้ของเกษตรกร รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีรูปแบบการทำงานหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะ จึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ได้
สิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว และส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดีถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการ เพาะต่าง ๆ แล้ว ตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดี กว่าปลายฟาง
อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดี และทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็มีส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน
เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามีหลักเกณฑ์การพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
สถานที่เพาะเห็ด เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลงหรือยากันเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ดฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดผลึกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก 1 อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะในที่ดินนั้นได้ดีขึ้น
สรุปแล้วที่กองเพาะเห็ดควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้องไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้
ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง
วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะจึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ได้
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเตรียมดิน
กรมวิชาการเกษตรได้ทำการศึกษาและพบว่า ถ้าปลูกเห็ดฟางลงไปโดยไม่ได้ขุดดินและทำให้ดินร่วน นอกจากจะได้เห็นเห็ดฟางบนกองแล้ว จะได้เห็นเห็ดอีกเล็กน้อยบนพื้นดินรอบๆ กอง ต่อมาได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ ถ้าขุดดินแล้วตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นก็ย่อยดินให้ละเอียด แล้วจึงเพาะเห็ด พบว่าได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีเห็ดอีกจำนวนมากขึ้นอยู่บนดินรอบๆกองนั่นเอง บางครั้งได้เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 ของจำนวนผลผลิตทั้งหมด
ในปัจจุบันจึงนิยมส่งเสริมให้มีการขุดดิน เตรียมแปลงดินไว้ล่วงหน้า เมื่อจะเพาะก็ย่อยดินให้ละเอียดขึ้น
ไม้แบบ
ใช้ไม้กระดานนำมาตอกเป็นกรอบแบบลังไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมูเพื่อทำเป็นแม่พิมพ์ ในปัจจุบันนิยมให้ด้านกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านยาว 120 เซนติเมตร ด้านสูง 30 เซนติเมตร ส่วนหนึ่งนิยมทำให้ด้านบนสอบเข้าคือ แคบลงหรือเอียงเข้ากันเล็กน้อย เพื่อไม้แบบยกออกจากกองคือ ทำเสร็จแล้วก็จะทำได้ง่ายกรอบไม้นี้ควรจะมีขนาด 1-1.5 เมตร
อีกแบบหนึ่งมีผู้ได้ทำไม้แบบโดยการทำเป็นชิ้น ชนิดที่ถอดออกวางเป็นแผ่นได้เมื่อจะใช้นำมาประกบกันก็กลายเป็นแม่พิมพ์ แบบนี้สะดวกต่อการเก็บ คือสามารถวางซ้อนๆ กัน และไม่เปลืองเนื้อที่
บัวรดน้ำ
จะเป็นบัวพลาสติกหรือบัวสังกะสีก็ใช้ได้ทั้งนั้นขอให้ใช้ตักน้ำได้และรดน้ำแล้วได้น้ำเป็นฝอย ๆ ก็ใช้ได้แล้ว ปัจจุบันที่ทำมาก ๆ จะใช้เครื่องสูบไดโว่หรือเครื่องสูบน้ำฉีดน้ำเป็นฝอยรดกองฟางให้เปียกชุ่มก่อนเริ่มการหมักได้ก็จะสะดวกดี
วัตถุดิบ
ตัวหลักคือเห็ดฟาง ที่ถอนมาหลังจากปล่อยให้ดินแตกระแหง จะได้รากและเศษดินติดมาด้วย หรือจะเกี่ยวที่โคนต้น หรือเป็นเห็ดฟางที่ได้จาการนวดข้าวแล้วเป็นปลายฟาง หรือแม้แต่ลำโคนข้าง คือ เศษข้าวที่พ่นออกมาจากเครื่องนวดข้าว
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เปลือกของฝักถั่วเขียว เป็นอาหารเสริม ช่วยในการเพาะเห็ด แต่หลายแห่งของภาคอีสาน ก็ได้เปลี่ยนของการใช้เปลือกถั่วเขียว เปลือกของฝักถั่วเหลืองในการเพาะเห็ด แต่ใช้เป็นฐานะวัตถุดิบ
การทำให้เห็ดฟางเปียก
นำฟางลงแช่ในน้ำเช้าใช้ตอนเย็น หรือแช่ตอนเย็นทำตอนเช้า หรือว่าจะนำลงใส่ภาชนะขึ้นไปย่ำ หรือใส่ลงถัง หรือใส่ในแปลงนา สูบน้ำเข้าแล้วนำไปย้ำเพื่อให้เปียกเต็มที่
การเพาะเห็ดฟางในชั้นแรก
เราจะใส่พวกวัตถุดิบ นั่นคือฟางได้แช่น้ำเอาไว้หรือเป็นวัตถุอื่น เช่นพวกก้านกล้วย ใบตองแห้ง หรือขี้เลื่อย ที่แช่น้ำเอาไว้แล้ว ใส่ลงไป จากนั้นก็ขึ้นไปย้ำพร้อมกับรดน้ำ เพื่อให้วัตถุดิบนี้อุ้มน้ำได้เต็มที่ ในปัจจุบันนิยมให้ความสูงของชั้นแรกนี้ สูงประมาณ 10 เซนติเมตร
การใส่อาหารเสริม
นำอาหารเสริม มาแช่น้ำให้เปียกชุ่มชื้นดีเสียก่อน อาหารเสริมตั้งแต่เริ่มต้นใช้ ไส้นุ่น ต่อมามีการเปลี่ยน ไปอีกหลายอย่าง เช่น เมล็ดที่ได้นำไปสกัดเอาน้ำมัน เอาส่วนอื่นๆ ออกไปแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ก็เป็นเศษฝ้าย บางคนก็เรียกว่า ขี้ฝ้าย หรืออาจจะใช้ เปลือกของฝักถั่วเขียว เปลือกของฝักถั่วเหลือง ใบถั่วเขียว ใบแคฝรั่ง ใช้ได้ทั้งอย่างแห้งและใบสด ผักตบชวาและจอก หรือจอกหูหนู ใช้ได้ทั้งอย่างแห้งและอย่างสด ถ้าเป็นชิ้นใหญ่ก็นำมาสับหรือหั่นให้เป็นชิ้นเล็กเสียก่อน ก้านกล้วย ใบตองแห้ง บางครั้งเอาหยวกกล้วย เอามาสับให้ชิ้นเล็ก ก็ได้เช่นกัน
หรือแม้แต่มูลสัตว์ที่แห้ง อาจจะใช้ขี้วัว ขี้ควายแห้งป่น สามารถดัดแปลงที่เป็นชิ้นเล็ก อุ้มน้ำได้ง่าย และเห็ดชอบกิน ใส่ลงไปภายในแม่แบบที่เราเพาะเห็ดอยู่ โดยใส่ริมๆด้านในและกดติดกับวัตถุดิบ หรือเนื้ออาหารนั้น
เชื้อเห็ด
เชื้อเห็ดที่แนะนำมักมีอายุ 1-2 สัปดาห์ อย่างน้อยที่สุดเจริญเต็มทั้งถุงนั้นแล้ว อย่างมากต้องไม่แก่จนเกินไป ถ้าแก่มากๆ เส้นใยมักจะรวมกันและสร้างเป็นดอกเห็ดให้เห็นอยู่ ถ้าแก่เกินกว่านั้นอีก ดอกเห็ดก็จะยุบ เส้นใยก็จะยุบเป็นน้ำเหลือง แสดงว่าแก่เกินไป
เชื้อเห็ดที่ดีไม่ควรจะมีศัตรูตกค้างอยู่ในนั้น เช่น ตัวไร ขนาดเล็กๆที่มากินเส้นใยเห็ด ไม่ควรจะมีหนอนของพวกแมลงหวี่ แมลงวัน ไม่ควรจะมีเชื้อราชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นราสีเขียว ราเหลือง หรือเป็นเชื้อราชนิดอื่น และไม่ควรจะมีเห็ดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดเยี่ยวม้าอาจจะปนติดมาได้
การแบ่งเชื้อ
เมื่อซื้อเชื้อมาถุงหนึ่ง ก็จะใช้กับกองเห็ดมาตรฐาน 1 กอง นำเชื้อมาแบ่งเป็น 4 ส่วน เพื่อจะได้ใส่ส่วนละ 1 ชั้น ชั้นที่1 และชั้นที่ 2 โรยทับลงไปบนอาหารเสริมส่วนนั้นเก็บเอาไว้เพื่อจะใช้ไว้โรยบนพื้นดิน
การใส่เชื้อ
เชื้อที่เราแบ่งไว้นั้น นำมาบิแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเสียก่อนมิฉะนั้นการใส่เชื้อบางครั้งติดเป็นก้อน ทำให้จุดหนึ่งไดเชื้อมาก อีกจุดหนึ่งแทบจะไม่ได้เชื้อเลย ส่วนในกรณีของการที่จะใส่เชื้อลงไปในดินนั้น เราก็จะใช้หลังจากที่ซุยดิน รอบกองเสียก่อน ดังนั้นใส่ชั้น 1 ชั้น2 ชั้น3 ให้เรียบร้อยเสียก่อน เหลืออีกส่วนหนึ่งเพื่อจะใส่ให้แก่ดินรอบกองต่อไปนี้
การเก็บเห็ดฟาง
เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน
การเก็บดอกเห็ด
ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม และมีการดูแลเป็นอย่างดีแล้ว ประมาณวันที่2 ใยเห็ดจะเจริญแผ่ในกองฟาง และจะเจริญแผ่ไปทั่วในวันที่ 6 วันที่ 7หรือ 8 เส้นใยที่อยู่ริมกองและด้านบนก็จะเริ่มปรากฎเป็นตุ่มเล็กๆ นี้จะค่อยๆ โตขึ้น จนถึงวันที่9-10 ก็จะโตขึ้นพอเก็บได้
วิธีการเก็บดอกเห็ด
ให้ใช้นิ้วชี้กับหัวแม่มือกดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อย ยกขึ้นเบาๆ ดอกเห็ดจะหลุดลงมา ในกรณีที่ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นหัวแป้นอยู่ ก็ควรรอไว้ได้อีกวันหนึ่งหรือครึ่งวัน แต่เมื่อดอกเห็ดมีลักษณะหัวยืดขึ้นแบบหัวพุ่ง ก็ต้องเก็บทันที มิฉะนั้นดอกเห็ดจะบานออก ทำให้ขายไม่ได้ราคา
การเผากอง
ในบางพื้นที่บางแห่ง ซึ่งมีดินเปรี้ยว เกษตรกรบางราย อาจจะใช้วิธีเมื่อเพาะเห็ดเสร็จหมดเรียบร้อยแล้ว นำแบบพิมพ์ออกเรียบร้อยแล้วก็เอาฟางแห้ง เอามาโรยบนกองนั้น แล้วจุดไฟเผาเลียไหม้ฟางแห้ง
ส่วนที่เอามาโรยคลุมได้ถูกเผากลายเป็นขี้เถ้าหมด ต่อมารดน้ำให้เปียกชื้น ขี้เถ้าเหล่านั้นก็ละลายน้ำ กลายเป็นด่างช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน แต่วิธีอาจจะไม่สม่ำเสมอ อาจจะไม่สามารถกำหนดให้พอเหมาะพอดี
การให้น้ำแก่ดิน
การคลุมกองและไม่รดน้ำไปที่กองนั้น มีหลายแห่งที่นิยมปฏิบัติอยู่ แต่ให้กองฟางได้รับความชุ่มชื้น โดยการรดน้ำลงไปที่ดิน หรือถ้ามีจำนวนมากก็ฉีดน้ำพ่น เพื่อให้น้ำลงไปเปียกที่ดิน น้ำจะระเหยจากดินออกมา แล้วถูกพลาสติกภายในเก็บเอาความชื้นเอาไว้ เป็นไอน้ำทำให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ ความชุ่มชื้นพอแต่การคลุมตลอดอย่างนั้น อาจจะทำให้การถ่ายเทอากาศไม่ดี เมื่อถ่ายเทอากาศไม่ดี คาร์บอนไดออกไซด์มาก ถ้าประกอบกับความร้อน ก็จะทำให้ดอกเห็ดที่เกิดภายในวันที่ 6-7 นั้น บานเร็วขึ้น
การดูแลรักษา
ศัตรูและการป้องกันกำจัด
วิธีแก้คือการเก็บ
ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ
การย้ายที่เพาะ
คือการเลื่อนไปปลูกเห็ดลงพื้นที่ซึ่งไม่เพาะเห็ดมาก่อน วิธีนี้ลดปัญหาพวกเชื้อราได้
ข้อดี ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
ข้อเสีย ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
ป้ายคำ : เพาะเห็ด