เพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์ม

6 มิถุนายน 2557 เห็ด 0

การใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันเพาะเห็ดฟางนั้น ทะลายปาล์มน้ำมันจะมีเชื้อจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด ทำการช่วยย่อยอาหาร เช่น เชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อต่างๆ เหล่านี้สามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากบรรยากาศได้ และบางชนิดจะย่อยสลายอาหารที่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นหลังจากการเพาะเห็ดเสร็จสิ้นแล้ว เศษทะลายปาล์มที่เหลือเหมาะที่ใช้เป็นปุ๋ยหมักสำหรับใช้ในสวนไม้ผลและพืชผักต่างๆ หรือนำกลับมาใช้ในสวนปาล์มน้ำมันอีก ซึ่งจะเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
อุปกรณ์ในการเพาะเห็ด ประกอบด้วย

  1. ทะลายปาล์มน้ำมันจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม / แปลงเกษตรกร
  2. อาหารเสริม เป็นสิ่งสำคัญในการเพาะเห็ด เพราะวัสดุที่นำมาใช้มีธาตุอาหารน้อย เราจำเป็นต้องเพิ่มอาหารเสริมให้แก่แปลงเห็ดซึ่งอาหารเสริมที่นำมาประกอบด้วย กากฝ้าย ไส้นุ่น ผักตบชวาแห้งสับ หากต้องการให้มีสารอาหารมากขึ้น ก็นำมาคลุกกับรำ ละเอียด ก็จะเป็นอาหารเสริมชั้นดีของเห็ดได้
  3. เชื้อเห็ดฟาง ควรเป็นเชื้อเห็ดพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง และเชื้อเห็ดไม่ควรแก่หรืออ่อนจนเกินไป
  4. บัวรดน้ำ ควรมีฝักบัวช่วยให้น้ำแพร่กระจายทั่วแปลง และความชื้นในแปลงสม่ำเสมอ
  5. พลาสติกคลุมแปลง เพื่อช่วยรักษาความชื้น และอุณหภูมิในแปลงเพาะเห็ดได้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด
  6. ไม้ไผ่ใช้ทำโครงคลุมผ้ายางพลาสติก
  7. เชือก ใช้วัดขนาดของแปลงเพาะ ให้ได้มาตรฐานและสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการเพาะเห็ด
ในการเพาะเห็ดควรเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม หากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารสูงก็ช่วยเพิ่มผลผลิตของเห็ด พื้นที่ดินควรเป็นดินร่วนปนทราย อยู่ใกล้แหล่งน้ำ สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ควรเพาะเห็ดฟางซ้ำ ๆ เพราะจะทำให้เห็ดไม่มีความสมบูรณ์ และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. หมักทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน โดยรดน้ำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก จากนั้นรดน้ำทุก 2 – 3 วัน / ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
  2. หลักจากหมักครบกำหนดแล้วจึงนำทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันมาเรียงเป็นแถวๆ ยาวประมาณ 10 เมตร
  3. เมื่อเรียงเป็นแถวเสร็จแล้วจึงใช้น้ำล้างทำความสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
  4. เตรียมเชื้อเห็ดฟางผสมกับอาหารเสริม หว่านบนแถวที่เตรียมไว้
  5. รดน้ำอีกครั้ง ไม่ต้องชุ่มมากนัก
  6. ใช้น้ำสกัดชีวภาพฉีดพ่นหรือรดให้ทั่วแปลง (ในกรณีที่ใช้น้ำสกัดชีวภาพ)
  7. คลุมด้วยผ้าพลาสติกที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นประมาณ 7 – 8 วัน แล้วค่อยเปิดดู
  8. สังเหตดูว่ามีใยขาวๆ ขึ้นบนแปลงเพาะหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเชื้อเห็ดฟางกำลังเดิน
  9. หลังจากนั้นเปิดดูทุกวันได้ อีกประมาณ 12 – 13 วัน จะมีดอกเล็กๆ ขึ้นมาปะปนกับดอกโตแล้ว จึงเก็บไปจำหน่ายได้

hedfangtalay
ขั้นตอนและวิธีการเพาะ

  1. การเตรียมพื้นที่
    – เลือกพื้นที่ให้เหมาะสม
    – ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ กำจัดสิ่งปฏิกูลออก
  2. การสร้างโรงเรือน
    – ใช้สแล็มหรือทางมะพร้าวป้องกันแดดประมาณ 70 %
    – ใช้สแล็ม ทางมะพร้าว หรือ สิ่งเหลือใช้อื่น ๆ เช่น กระสอบปุ๋ย กั้นด้านข้างเพื่อป้องกันลมพัดโดนผ้าพลาสติกคลุม
    – ความสูงประมาณ 180 ซ.ม. กว้าง,ยาวพอสมควร
  3. การเตรียมทลายปาล์มก่อนนำไปเพาะ
    – กองทลายปาล์มสูงประมาณ 70 ซ.ม.
    – เหยียบย่ำให้เรียบ
    – รดน้ำให้ทั่ว 3 วัน ต่อครั้ง นานครั้งละ 2 ชั่วโมง(ใช้ท่อขนาด 1 นิ้ว ฉีด)
    – คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด นาน 12 วัน
  4. การเตรียมแปลงเพาะ
    – เตรียมแปลงกว้าง 70 ซม.
    – ยาวครึ่งหนึ่งของผ้าพลาสติกคลุม
    – เหยียบร่องให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม
  5. การเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ
    – ก้อนเชื้อเห็ดแน่นแข็ง
    – มีเส้นใยสีขาวนวล
    – กลิ่นหอมรสดอกเห็ดฟาง
    – ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นปะปน
    – ไม่มีหนอนและแมลง
  6. การผสมเชื้อเห็ด
    – ขยำเชื้อเห็ดให้ร่วน
    – คลุกเคล้าเชื้อเห็ด อาหารเสริมและแป้งข้าวเหนียวให้ทั่ว (เข้ากันดี)
    อัตราส่วน
    – เชื้อเห็ดฟาง 75 ถุง
    – อาหารเสริม 1 ถุง (1.5 ก.ก.)
    – แป้งข้าวเหนียว 1 ถุง (1 ก.ก.)
  7. การโรยเชื้อเห็ดและคลุมร่อง
    – โรยเชื้อเห็ดที่ผสมแล้วลงบนร่องให้ทั่ว
    – รดน้ำให้ชุ่ม (ใช้บัว)
    – ใส่โครงไม้ไผ่คลุมด้วยพลาสติกดำ ชนิดบาง
    หมายเหตุ เชื้อเห็ด 75 ถุง + อาหารเสริม 1 ถุง + แป้งข้าวเหนียว 1 ถุง ต่อขนาดแปลงเพาะ กว้าง 70 ซม. ยาว 22 เมตร
  8. การดูแลรักษา
    – ตรวจดูความชื้นในแปลงอย่างสม่ำเสมอ
    – ความชื้นที่เหมาะสม 35-37 องศาเซนเซียส
    – สังเกตหยดน้ำใต้พลาสติกคลุม หากไม่มีหยดน้ำจับพลาสติกหรือมีน้อย ให้รดน้ำลงบนพื้นดินระหว่างแปลงเพาะ
    – หลังวันเพาะ 5 วัน ให้เปิดช่องระบายอากาศ ขนาด 1 ฝ่ามือทั้งหัวและท้ายร่อง
    – สังเกตดูเชื้อรา หากมีเชื้อราปะปนให้รีบกำจัดทันที
    – หลังวันเพาะ 9 – 10 วัน เห็ดจะเริ่มงอก
  9. การเก็บเกี่ยว
    – เก็บเมื่อได้ขนาด ดอกโตเต็มที่แต่ไม่บาน
    – พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด
    – ใช้มีดจับดอกเห็ดหมุนไปทางใดทางหนึ่งพร้อมดึงขึ้น
    – ดอกที่งอกบนดินควรใช้มีดตัดดอกเห็ดขึ้นมา อย่าดึงด้วยมือ
    – เวลาเก็บ ขึ้นกับความต้องการของตลาด
    – เก็บวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน นานประมาณ 15 วัน ต่อรอบ
  10. การตัดแต่งดอกเห็ด
    * ใช้มีดที่บางและคม
    * ตัดตีนให้สะอาดเรียบร้อย
    * ตัดแต่งดอกที่เป็นผิวคางคกให้เรียบร้อยไม่เสียราคา
  11. การเก็บผลผลิต
    การเก็บผลผลิตของเห็ดฟางให้ได้มาตรฐาน ควรเก็บในขณะที่เห็ดฟางเจริญเต็มที่ทั้งระยะ Buttons ส่วนเห็ดฟางที่มีมาตรฐานควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 3.5 ซม. สีของดอกเห็ดเป็นสีเทา หรือสีขาว รูปร่างกลมหรือรูปไข่ หากต้องการเก็บเห็ดฟางควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 10 – 15 องศาเซลเซียส ได้ประมาณ 3 วัน

hedfangkongs

hedfangklum

hedfanggong

หมายเหตุ

  • ห้ามทำซ้ำที่
  • พลาสติกคลุมต้องทำความสะอาดโดยการซักน้ำทุกครั้งก่อนนำไปใช้ครั้งต่อ ๆ ไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอไชยา 0-7743-1033
โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 สุราษฏร์ธานี
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศ กรมวิชาการเกษตร

การเพาะเห็ดฟางโรงเรือน
สูตรหมักปาล์ม 2
การหมักปาล์ม ให้เกิดอาหารเห็ดได้นั้น จำเป็นต้องหมักให้ถูกวิธี บางคนใช้วิธีกองปาล์มโดยเอาพลาสติกมาคุมไว้ 15-20 วัน ปล่อยให้เกิดการย่อยสลายเอง เป็นการหมักที่ได้อาหารเห็ดไม่ทั่วถึงและไม่มากพอ โดยปกติทุกสูตรขณะทำการหมักจะกลับกองหมักอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้การหมักได้ทั่วถึง
สูตร

  1. ปาล์มน้ำมัน 1000 กก.
  2. ปูนขาว 1 กก.
  3. ยิบซัม 2 กก.
  4. แป้งข้าวเหนียว 3 กก.
  5. รำละเอียด 5 กก.
  6. ปุ๋ยยูเลีย 500 กรัม
  7. Em ขยาย(ขยายล่วงหน้า7วัน) 5 ลิตร

เป็นสูตรที่หมักโดยไม่ต้องกลับกองปาล์ม ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน จะเกิดเชื้อราที่ชอบอากาศร้อนมาก เมื่ออบฆ่าเชื้อราเหล่านั้น จะกลายเป็นอาหารเห็ดฟาง กองปาล์มหมักควรอยู่ใกล้โรงเรือนเพาะ เพราะว่าสามารถขนขึ้นชั้นได้ใกล้ สะดวกในการทำงาน ตัวชี้ที่จะบอกว่าการหมักดีหรือไม่คือกลิ่นแก๊สแอมโมเนียหมดหรือยัง เพราะขณะทำการหมักจะมีความร้อนแฝง และเกิดแก๊สแอมโมเนีย ถ้าหมักจนมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นเห็ด แปลว่าการหมักได้ดี
hedfangyai
hedfangplams

วิธีหมักปาล์ม
วิธีทำ

  1. ปูนขาว+ยิบซัม+แป้งข้าวเหนียวและรำละเอียด ผสมเข้าด้วยกันทั้งหมด เรียกว่า ปุ๋ยแห้ง แล้วแบ่งเป็น 3 ส่วน ( เพื่อนำไปหว่านบนกองปาล์ม 3 ชั้น )
  2. Em ขยาย 5 ลิตร + ปุ๋ยยูเลีย 500 กรัม ( ครึ่งกิโลกรัม ) + น้ำเปล่า 100 ลิตร ละลายเข้าด้วยกัน เรียกว่า ปุ๋ยน้ำ แบ่งเป็น 3 ส่วน ( เพื่อนำไปโชยบนปาล์ม 3 ชั้น )
  3. วันที่ 1 กองปาล์มกว้าง 2 เมตรยาว 3 เมตร สูง 25 ซม. รดน้ำให้พอชื้น แล้วหว่านด้วยปุ๋ยแห้ง1ส่วน ที่เตรียมไว้ แล้วโชยด้วย ปุ๋ยน้ำ 1 ส่วน ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนเดิม จนครบ 3 ชั้น ความสูงกองปาล์มประมาณ 70-80 ซม.
  4. ในระยะ 1 เมตรแนวยาวกอง เจาะรูระบายอากาศจนถึงพื้นดิน แล้วคลุมพลาสติก ทิ้งไว้ 5-6 คืน
  5. วันที่ 7 เช้าเปิดพลาสติก จะมีกลิ่นหอม เป็นใช้ได้
  6. ถ้าในวันที่ 7 ยังมีกลิ่นแก๊สแอมโมเนีย ให้คลุมกองหมักต่อ อีก 2-3 คืน กลิ่นแก๊สแอมโมเนียจะหมด
  7. ไม่ต้องกลับกอง
  8. ขนขึ้นชั้น ล้างปาล์มให้สะอาด จนน้ำเริ่มใส เป็นใช้ได้ หวานด้วยแป้งข้าวเหนียว 3+รำละเอียด 6รวมเป็น 9 กก./ 1000 กก.
  9. ฉีดพ่นน้ำพอชื้น ปิดโรงเรือนเตรียมอบไอน้ำ 70 / นาน 3 ชม. ในวันรุ่งขึ้นhedfangrong

สูตรหมักปาล์ม 2
การหมักปาล์ม ให้เกิดอาหารเห็ดได้นั้น จำเป็นต้องหมักให้ถูกวิธี บางคนใช้วิธีกองปาล์มโดยเอาพลาสติกมาคุมไว้ 15-20 วัน ปล่อยให้เกิดการย่อยสลายเอง เป็นการหมักที่ได้อาหารเห็ดไม่ทั่วถึงและไม่มากพอ โดยปกติทุกสูตรขณะทำการหมักจะกลับกองหมักอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้การหมักได้ทั่วถึง
สูตร

  1. ปาล์มน้ำมัน 1000 กก.
  2. ปูนขาว 1 กก.
  3. ยิบซัม 2 กก.
  4. แป้งข้าวเหนียว 3 กก.
  5. รำละเอียด 5 กก.
  6. ปุ๋ยยูเลีย 500 กรัม
  7. Em ขยาย(ขยายล่วงหน้า7วัน) 5 ลิตร

เป็นสูตรที่หมักโดยไม่ต้องกลับกองปาล์ม ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน จะเกิดเชื้อราที่ชอบอากาศร้อนมาก เมื่ออบฆ่าเชื้อราเหล่านั้น จะกลายเป็นอาหารเห็ดฟาง กองปาล์มหมักควรอยู่ใกล้โรงเรือนเพาะ เพราะว่าสามารถขนขึ้นชั้นได้ใกล้ สะดวกในการทำงาน ตัวชี้ที่จะบอกว่าการหมักดีหรือไม่คือกลิ่นแก๊สแอมโมเนียหมดหรือยัง เพราะขณะทำการหมักจะมีความร้อนแฝง และเกิดแก๊สแอมโมเนีย ถ้าหมักจนมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นเห็ด แปลว่าการหมักได้ดี

hedfangpalm

วิธีหมักปาล์ม
วิธีทำ

  1. ปูนขาว+ยิบซัม+แป้งข้าวเหนียวและรำละเอียด ผสมเข้าด้วยกันทั้งหมด เรียกว่า ปุ๋ยแห้ง แล้วแบ่งเป็น 3 ส่วน ( เพื่อนำไปหว่านบนกองปาล์ม 3 ชั้น )
  2. Em ขยาย 5 ลิตร + ปุ๋ยยูเลีย 500 กรัม ( ครึ่งกิโลกรัม ) + น้ำเปล่า 100 ลิตร ละลายเข้าด้วยกัน เรียกว่า ปุ๋ยน้ำ แบ่งเป็น 3 ส่วน ( เพื่อนำไปโชยบนปาล์ม 3 ชั้น )
  3. วันที่ 1 กองปาล์มกว้าง 2 เมตรยาว 3 เมตร สูง 25 ซม. รดน้ำให้พอชื้น แล้วหว่านด้วยปุ๋ยแห้ง1ส่วน ที่เตรียมไว้ แล้วโชยด้วย ปุ๋ยน้ำ 1 ส่วน ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนเดิม จนครบ 3 ชั้น ความสูงกองปาล์มประมาณ 70-80 ซม.
  4. ในระยะ 1 เมตรแนวยาวกอง เจาะรูระบายอากาศจนถึงพื้นดิน แล้วคลุมพลาสติก ทิ้งไว้ 5-6 คืน
  5. วันที่ 7 เช้าเปิดพลาสติก จะมีกลิ่นหอม เป็นใช้ได้
  6. ถ้าในวันที่ 7 ยังมีกลิ่นแก๊สแอมโมเนีย ให้คลุมกองหมักต่อ อีก 2-3 คืน กลิ่นแก๊สแอมโมเนียจะหมด
  7. ไม่ต้องกลับกอง
  8. ขนขึ้นชั้น ล้างปาล์มให้สะอาด จนน้ำเริ่มใส เป็นใช้ได้ หวานด้วยแป้งข้าวเหนียว3+รำละเอียด6รวมเป็น 9 กก./ 1000 กก.
  9. ฉีดพ่นน้ำพอชื้น ปิดโรงเรือนเตรียมอบไอน้ำ 70 / นาน 3 ชม. ในวันรุ่งขึ้น

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด เห็ด

แสดงความคิดเห็น