ปัจจุบันวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตรในแต่ละปีในประเทศไทยมีจำนวนมาก และหาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่น ถ้าซื้อก็มีราคาถูก อาทิ ฟางข้าว เศษขี้ฝ้ายกากหรือเปลือกมันสำปะหลัง ชานอ้อย เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลืองและทะลายปาล์มน้ำมัน เป็นต้น เมื่อมีการนำวัสดุเหล่านี้มาเพาะเห็ดฟางจะสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ วัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดฟางยังสามารถมาทำปุ๋ยใส่ให้กับต้นไม้ได้อีก การพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดฟางมาหลากหลายรูปแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดคือวิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก มาถึงขณะนี้ได้ค้นหาวิธีการเพาะเห็ดฟางรูปแบบใหม่ประหยัดต้นทุนและทำได้ง่าย โดยนำก้อนขี้เลื่อยเก่าที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงพลาสติก (เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ฯลฯ) นำกลับมาเพาะเห็ดฟางในกระสอบได้
อุปกรณ์ที่จะใช้เพาะเห็ดฟางในกระสอบ จะใช้ถุงปุ๋ย ถุงข้าวสารหรือถุงอาหารสัตว์ก็ได้ หาซื้อง่ายและมีราคาถูก (ราคาถุงละ 2-5 บาท) สามารถนำมาใช้เพาะได้ถึง 5-6 ครั้ง ขั้นตอนในการเพาะจะใช้ก้อนขี้เลื่อยเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้า ประมาณ 15 ก้อน โดยแบ่งทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกนำก้อนขี้เลื่อยเก่า จำนวน 10 ก้อน ใส่ลงไปในกระสอบ ใช้ไม้ทุบหรือใช้เท้าเหยียบกระสอบให้ก้อนขี้เลื่อยแตกแบบหยาบ ๆ ให้มีส่วนที่แตกละเอียดบ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นก้อนเท่ากับผลมะนาว จากนั้นรดด้วยน้ำสะอาดให้ก้อนขี้เลื่อยมีความชื้นหมาด ๆ ทดสอบด้วยการใช้มือกำขี้เลื่อยแน่น ๆ ถ้าพบว่ามีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วมือเล็กน้อยเป็นว่าใช้ได้ หลังจากนั้นให้ทุบก้อนขี้เลื่อยที่เหลืออีก 5 ก้อนให้ละเอียดเพื่อใช้คลุกเคล้ากับเชื้อเห็ดฟาง
แบ่งเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน (แบบสปอน) ออกเป็น 3 ส่วน ในการเพาะแต่ละกระสอบจะใช้เชื้อเห็ดฟางเพียง 1 ส่วน นำเชื้อเห็ดฟางมายีออกจากกันในถังหรือภาชนะที่สะอาดและนำมาคลุกกับแป้งข้าวเหนียวอัตรา 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้ทั่ว และนำไปคลุกรวมกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อน นำผักตบชวาน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มาหั่นเฉียงคลุกเคล้าลงไปกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อนนั้น ให้นำกองขี้เลื่อยที่คลุกเชื้อ เห็ดฟางและผักตบชวาใส่ลงไปในกระสอบที่ก้นกระสอบมีก้อนขี้เลื่อยทุบรองอยู่แล้ว 10 ก้อน ใช้มือกดให้แน่นและเรียบ ใช้เชือกมัดปากกระสอบให้แน่น ถ้าเป็นการเพาะในช่วงฤดูฝนควรหักปากกระสอบลงเพื่อป้องกันน้ำเข้า นำกระสอบไปแขวนกับต้นไม้หรือราวไม้ไผ่ แขวนให้ปลายกระสอบตั้งขึ้นและให้ก้นกระสอบลอยสูงจากพื้น (ป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดกิน)
หลังจากเพาะไปได้ประมาณ 10 วัน จะเก็บเห็ดฟางในกระสอบรับประทานหรือนำมาจำหน่ายได้ ในแต่ละกระสอบจะเก็บเห็ดฟางได้ 1-2 ครั้งต่อการเพาะ 1 รุ่น และได้น้ำหนักเห็ดประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม นับเป็นวิธีการหนึ่งของการเพาะเห็ดฟางที่นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด.
การเพาะเห็ดฟางในถุงสามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องจัดซื้อใหม่ส่วนมากใช้วัสดุใช้แล้วนำมาทำความสะอาด และปรับแก้ให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้แก่
สำหรับการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมีวิธีการเตรียมดังนี้
1. ถุงเพาะเห็ดฟาง
ถุงเพาะเห็ดฟางเป็นถุงปุ๋ยเคมีที่ล้างทำความสะอาดแล้ว หรือถุงบรรจุข้าวสาร อาหารสัตว์ โดยเลือกถุงที่มีขนาด 50 กิโลกรัม นิยมใช้สีฟ้าหรือสีขาว ซึ่งให้ผลดีสำหรับเพาะเห็ดฟางในถุง และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกประมาณ 5-6 ครั้ง ไม่ควรใช้ถุงพลลาสติกชนิดถุงพลาสติกสีดำ สีเหลืองหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ทำให้เห็ดฟางเกิดดอกน้อย ซึงอาจจะไม่เกี่ยวกับสีของถุงโดยตรง แต่อาจจะเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายเทอากาศ ความชื้น อุณหภูมิที่ผ่านเข้าออกได้ การเพาะเห็ดฟางในถุง 1 ถุง ใช้วัสดุเพาะเห็ดฟางที่เหมาะสม ควรบรรจุเพาะเห็ดฟางประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อถุง
2. เชื้อเห็ดฟางที่ดี
เชื้อเห็ดฟางจัดเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ในการเพาะเห็ดฟางทุกวิธี ควรคัดเลือกเชื้อเห็ดฟางที่ดีมีคุณภาพ แลดะตรงตามที่ตลาดต้องการ เชื้อเห็ดฟางที่ผลิตในท้องถิ่นจะมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เชื้อเห็ดฟาง ถุง สามารถใช้เพาะเห็ดฟางได้ 4 ถุง
3. อาหารเสริม
อาหารเสริมเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง เพื่อให้เชื้อเห็ดฟางมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง อาหารเสริมที่นิยมใช้มีหลายชนิด ซึ่งดัดแปลงตามความเหมาะสมตามวัสดุที่มีอยู่ในห้องถิ่น เช่นผักตบชวาสด ไส้นุ่น ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกแห้ง ต้นกล้วยสดหั่นตากแห้งและขี้ฝ้าย การเลือกใช้อาหารเสริมควรพิจารณาถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้
4. อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง
อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหารที่ไปช่วยกระตุ้นเชื้อเห็ดฟางในระยะแรกๆ ทำให้เส้นใยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาหารวัสดุคลุกเชื้อเห็ดฟางเป็นวัสดุประเภทคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจจะทำให้ราเขียว หรือราชนิดอื่นเติบโตก่อนเชื้อเห็ดฟางก็ได้ ทำให้เห็ดฟางที่เพาะในถุงนั้นเสียหาย หรือไม่มีผลผลิตเลย อย่างไรก็ตามขอแนะนำการเลือกใช้อาหารคลุกเชื้อ ควรพิจารณาคุณสมบัติดังต่อไปนี้
การใช้อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง มีจุดประสงค์เพื่อ
5. วัสดุเพาะ
วัสดุเพาะ หมายถึง วัสดุที่ใช้เป็นอาหารเพาะเห็ดฟาง ควรเป็นวัสดุที่ย่อยได้ง่าย วัสดุเพาะเห็ดฟางดังกล่าว ต้องมีความสะอาดไม่มีเชื้อรา และอยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการที่จะนำไปเพาะเห็ดฟางดังกล่าวต่อไป
6. เชือกมัดถุง
เชือกมัดถุงเป็นเชือกฟางหรือเชือกอื่นๆก็ได้ ต้องมีความเหนียวรับน้ำหนักได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม ความยาว 1 เมตร
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง
1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง
ขั้นตอนนี้มี 3 ขั้นตอนย่อยคือ
1.1 การเตรียมวัสดุหลัก เป็นการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟางในถุง ต้องจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟางในถุง ดังนั้นจึงต้องเตรียมการล่วงหน้า ตามขั้นตอนโดยจัดเตรียมวัสดุแต่ละชนิดให้เหมาะสม
1.2 การเตรียมผักตบชวาสด เป็นการเตรียมผักตบชวาสด เพื่อนำมาเป็นอาหารเสริมสำหรับเพาะเห็ดฟางในถุง วิธีการจัดเตรียมผักตบชวาดังนี้
1.3 เตรียมเชื้อเห็ดฟาง
เป็นการเตรียมเชื้อเห็ดฟางให้พร้อมที่จะเพาะได้ทันที ควรเตรียมการก่อนเพาะเห็ดฟางเพียงเล็กน้อยหรือเตรียมการไปและเพาะไป เป็นขั้นตอนไปตลอดการเพาะ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเชื้อเห็ดฟางที่จะเพาะได้ เช่นเชื้อเห็ดฟางแห้งกลัง หรือมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นปะปน ซึ่งจะทำให้การเพาะไม่ค่อยได้ผล
2. ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง
การเพาะเห็ดฟางในถุงมีขั้นตอนการดำเนินการ การต่อเนื่องจากขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง มี 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ใช้วัสดุเพาะผสมกันบรรจุลงในถุง โดยมีส่วนผสม คือ วัสดุเพาะ อาหารเสริม หรือผักตบชวาหั่น และเชื้อเห็ดฟาง จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันดังนี้
วิธีที่ 2 การเพาะเห็ดฟางแบบจัดเรียงวัสดุเพาะ ที่เตรียมไว้เป็นชั้นในถุงเพาะ โดยการเรียงวัสดุเพาะเป็น 3 ชั้น คือใส่วัสดุเพาะไว้ด้านล่างในถุงแล้วกดให้หนาประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นใส่อาหารเสริมหรือผักตบชวาสดหั่นวางเป็นชั้นเหนือวัสดุเพาะ และสุดท้ายใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ เสร็จแล้ว ใส่เป็นชั้นบนผักตบชวาสดหั่นแล้วมัดปากถุงและนำไปเพาะในสถานที่เพาะ
การปฏิบัติดูแลการเพาะเห็ดฟางในถุง
1. อุณหภูมิ มีความสัมพันธ์กับความชื้นในโรงเรือนในฤดูฝน และฤดูร้อนช่วงวันแรกถึงวันที่ 4 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ส่วนฤดูหนาวช่วงวันแรกถึงวันที่ 6 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง เป็นช่วงเวลาที่เชื้อเจริญเติบโต และต้องการอุณหภูมิประมาณ 37-40 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิอยู่ที่ 30-35 องศาเซลเซียส เวลาลากลางวัน ในช่วงเวลา 13.00-15.00 นาฬิกา ส่วนช่วงเลยวันดังกล่าวคือ ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน ช่วงวันที่ 5-8 ของการเพาะเห็ดฟาง ส่วนช่วงฤดูหนาวช่วงวันที่ 7-12 เห็ดฟางต้องการอุณหภูมิภายในวันสดุเพาะ28-32 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนอยู่ที่ 25-27 องศาเซลเซียส ในช่วงนี้เชื้อเห็ดฟางจะเจริญและพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ดี ดังนั้นผู้เพาะเห็ดฟางควรควบคุมอุณหภูมิในช่วงดังกล่าวให้ดี เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อการเพาะเห็ดฟางได้
การแก้ปัญหาอุณหภูมิสูงเกินไป
การแก้ปัญหาอุณหภูมิต่ำเกินไป
2.ความชื้น
ความชื้นของวัสดุเพาะเห็ดฟางควรอยู่ที่ระดับ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นภายในโรงเรือนควรมีระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ผู้เพาะเห็ดฟางควรติดตั้งไฮโดรมิเตอร์ เพื่อวัดระดับความชื้นภายในโรงเรือน ความชื้นในวัสดุเพาะเห็ดฟางที่สูงเกินไป แก้ไขปัญหาโดยการเปิดถุงออกให้ความชื้นระเหยออก ประมาณ 1-3 ชั่วโมง แล้วปิดปากถุงไว้เช่นเดิม แต่ถ้าวัสดุเพาะเห็ดฟางแห้งเกินไปควรใช้กระบอกฉีดน้ำพ่นเป็นละอองฝอย แต่ห้ามใช้บัวรดน้ำเพราะจะทำให้เส้นใยเห็ดฟางขาด เส้นใยไม่เจริญเติบโตเน่าเสียได้ง่าย หรือแก้ไขโดยรดน้ำด้วยบัวไปที่ผิวภายนอกที่ถุงเพาะนั้น รดแบบผ่านไปเร็วๆ 2-3 ครั้ง ให้ทั่ว
การระบายอากาศภายในถุงเพาะเห็ดฟาง
เป็นการช่วยเห็ดฟางได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จะทำในช่วงวันที่ 4 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ของฤดูร้อนหรือฤดูฝน ส่วนฤดูหนาวเป็นช่วงวันที่ 5-6 หรือสังเกตความหนาแน่ของเส้นใยเห็ดฟาง มีความหนาแน่นน้อย หรือเจริญแบบบางเกินไป ควรยืดเวลาออกไป 1-2 วัน การระบายอากาศทำได้โดยระบายอากาศในช่วงเย็น -1 ชั่วโมงในช่วงเย็น
การให้น้ำเพื่อตัดเส้นใยของเชื้อเห็ดฟาง
ใช้บัวรดน้ำแบบฝอยละเอียดรดไปยังวัสดุเพาะเห็ดฟาง แบบผ่านไปมาค่อนข้างเร็ว 2-3 ครั้ง หรือใช้กระปุกฉีดน้ำเป็นละอองฝอย ฉีดพ่นไปยังวัสดุเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 3-5 ครั้ง ทำให้เชื้อเห็ดฟางขาดทำให้เชื้อเห็ดฟางพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้มากขึ้น ควรทำต่อเนื่องจากการระบายอากาศไปเลย
การเก็บเกี่ยวดอกเห็ดฟาง
ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวดอกเห็ด การเพาะเห็ดฟางในถุงมักให้ผลผลิตช้ากว่าการเพาะเห็ดฟางแบบเดิม 1-2 วัน คือ ในฤดูร้อนและฤดูฝน ดอกเห็ดฟางจะเจริญเติบโตมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 9-10 แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น การเพาะเห็ดฟางในถุงจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น 1-2 วัน คือเก็บเกี่ยวได้ในช่วงวันที่ 7-8 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ถ้าอุณหภูมิต่ำลงจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ ช้าลง 1-2 วัน คือเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในวันที่ 11-12 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง
การเพาะเห็ดฟางในถุงยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ขอให้ผู้สนใจศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนลงมือปฏิบัติ
ป้ายคำ : เพาะเห็ด
A good paper!