เมล่อน แตงเทศหรือแตงหอม

12 มกราคม 2560 ไม้เลื้อย 0

เมล่อน เป็นพืชในตระกูลแตงที่นิยมปลูกเพื่อการค้าชนิดหนึ่งที่มีราคาต่อผลสูง เนื่องจากเป็นแตงที่มีรสหอมหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วยวิตามินเอ และวิตามินซีสูงจึงเป็นแตงที่ที่นิยมบริโภคกันมากไม่แพ้แตงโมเลยทีเดียว

“ราชินีแห่งพืชตระกูลแตง” เมล่อนเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ในแถบทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่อยู่ในตระกูล (Family) Cucurbitaceae ใช้รับประทานผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน เจริญได้ดีในสภาพร้อนแห้ง แสงแดดจัด ปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลายสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดี ในสภาพภูมิประเทศของประเทศไทยการผลิตเมล่อนที่มีคุณภาพสูง จำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ในการเพาะปลูกและการจัดการแปลงผลผลิต

ชื่อสามัญ Cantaloupe Melon, Muskmelon;
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cucumis melo L.
วงศ์ Cucurbitaceae

แตงเทศเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศในแถบทวีปแอฟริกา เป็นพืชฤดูเดียว มีโครโมโซม 2n = 24 ลักษณะคล้ายแตงไทย
ราก เป็นระบบรากแก้ว อาจจะเจริญในแนวดิ่งลึก 1 เมตร รากแขนงจะเจริญในแนวนอน อยู่อย่างหนาแน่นในระดับ 30 เซนติเมตรจากผิวดิน ปกติรากจะยาวมากกว่าเถา รากแขนงบางส่วนอาจจะเจริญในแนวดิ่ง ซึ่งจะช่วยทดแทนรากแก้วเมื่อพืชเริ่มแก่ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมรากพิเศษจะเจริญจากข้อที่สัมผัสดินและมีความชื้นสูง

  • ใบ เป็นแบบใบเดี่ยวอยู่สลับกัน ใบหยักแบบใบปาล์มยาว 6 20 ซม. โดยทั่วไปจะมี 5 หยัก แต่ในบางพันธุ์จะมีหยักตื้น ๆ 3 7 หยัก ใบมีขน ผิวใบหยาบ กว้าง 7 30 ซม.
    ลำต้น เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนอ่อนที่ผิวของลำ ต้น ผิวเรียบหรือเป็นเหลี่ยม เถายาวประมาณ 3.0 เมตร แตกแขนงตามมุมระหว่างก้านใบและลำ ต้น ส่วนข้อจะมีมือเกาะ
  • ดอก อาจจะเป็นดอกสมบูรณ์ (perfect or complete flower) หรือ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน (monoecious) หรือ มีดอกตัวผู ้ และดอกกระเทย แยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน (andromonoecious) ดอกกว้าง 1.5 2.0 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมียส่วนใหญ่จะเจริญในข้อแรกของกิ่งแขนง สายพันธุ์ที่มีผลทรงกลมยาว ส่วนใหญ่จะมีดอกตัวเมียและดอกตัวผู้แยกกัน แต่อยู่บนต้นเดียวกัน (monoecious) สายพันธุ์ที่มีผลทรงกลม มีดอกตัวผู้และดอกกระเทยแยกกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน (andromonoecious) ดอกจะบานตอนเช้าและปิดตอนบ่าย
  • ผล มีลักษณะทรงกลมหรือกลมยาว ( รูปไข่ ) ผิวเรียบ หรือรอยแตกขรุขระ หรือมีลายนูนแบบร่างแหบางพันธุ์อาจมีร่องตามความยาวของผล ผิวสีเหลือง นํ้าตาลหรือเขียวปนเหลือง เนื้อจะมีสีส้ม สีเขียวหรือขาว

การงอกของท่อละอองเกสร ละอองเกสรจะมีลักษณะเหนียว ไม่สามารถแพร่กระจายด้วยลม หรือ ผสมตัวเอง จึงต้องช่วยผสม ดอกตัวผู้ 1 ดอกมีละอองเกสร ~12,000 เกสร ต้องให้เกสรตัวเมียได้รับ ~1,200 เกสร ซึ่งจะงอกและสามารถเข้าไปถึงรังไข่ได้ ~800 เกสร และเข้าไปผสมภายในรังไข่ ~500 เกสร เกิดเมล็ด 400-500 เมล็ด ท่อละอองเกสรจะงอกยาวลงไปที่ก้านเกสรตัวเมียยาว ~5 ม.ม. ภายใน 1 ช.ม. และงอกถึงชั้น placenta (รก) ใน 4 ช.ม. และถึงศูนย์กลาง 15 ช.ม. เสร็จสิ้นขบวนการผสม ~24 ช.ม.

เมล่อนที่พบเห็นโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้หลายชนิดเช่นแคนตาลูป(Cantaloupe)เมล่อนตาข่าย(Net Melon)เมล่อนผิวเรียบ (Honeydew) เป็นต้น
เมล่อนที่พบเห็นส่วนใหญ่สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ชนิด ดังนี้

  • C. melon var.cantaloupensis เรียกว่า Cantaloupe หรือ rock melon ขนาดผลค่อนข้างใหญ่น้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ขึ้นไปเปลือกผลหนาผิวขรุขระ มีร่องเป็นทางยาวโดยรอบจากขั้วถึงก้นผล เนื้อแตงแคนตาลูปส่วนใหญ่เป็นสีส้ม
  • C. melon var. recticulatus เรียกว่า musk melon , netted melon, persian melon ขนาดผลเล็กกว่าแคนตาลูป เปลือกของผลส่วนใหญ่เป็นตาข่ายสานกันเป็นนูนลายชัดเจน ผลมีลักษณะทรงกลมไม่มีร่องตามยาวเหมือนแคนตาลูป เนื้อมีลักษณะสีส้มและสีเขียว
  • C. melon var.inodorus เรียกว่า winter melon ผิวผลเรียบไม่มีตาข่าย
  • C. melon var.flexuosus เรียกว่า snak melon ซึ่งแตงไทยจัดอยู่ในกลุ่มนี้
  • C. melon var. conomon เรียกว่า oriental pickling melon

พันธุ์เพื่อการบริโภคมีอยู่ 3 วาไรตี้ ได้แก่

  1. วาไรตี้ แคนตาลูปเพนซิส (Cantaloupensis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. cantaloupensis มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ร็อคเมลอน (Rock melon) เพราะผลมีผิวแข็ง ขรุขระ แต่ไม่ถึงกับเป็นร่างแห เช่น พันธุ์ Hardrock Jaipur
  2. วาไรตี้ เรติคูลำตัส (Reticulatus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. reticulatus มีชื่อเรียกทั่วไปว่า เน็ดท์เมลอน (netted melon) มัสค์เมลอน (muskmelon) หรือ เปอร์เซียนเมลอน (persian melon) เป็นชนิดที่ผิวนอกของผลลักษณะขรุขระเป็นร่างแหคลุมทั้งผล และผลมีกลิ่นหอม เนื้อผลเป็นสีเขียว หรือสีส้ม เช่น พันธุ์ Bonus, Sky rocket, Delicate, PMR 45, PMR 5, PMR 6
  3. วาไรตี้ อินอะดอรอส (Inodorous) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า C. melo L. var. inodorous ผิวของผลเรียบ และมักไม่มีกลิ่นหอม เช่น Honey Dew, Honey Ball, Honey Drip, Sister Star.

สำหรับพันธุ์ที่มีปลูกในประเทศไทยโดยการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ภายในประเทศและวางจำหน่ายในท้องตลาด เป็นที่รู้จักกันดีและเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ได้แก่

  1. พันธุ์ซันเลดี้ (Sun lady) เป็นพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) ผลกลม เปลือกมีผิวเรียบ สีขาวครีม เนื้อภายในสีส้ม เมื่อแก่จัดมีรสหวาน และมีกลิ่นหอม มีน้ำหนัก 1 1.8 กก.ต่อผลขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้น เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในประเทศไทย แถบภาคกลาง ภาคตะวันตกและตะวันออก เพราะปลูกและติดลูกง่าย เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีความหวานปานกลาง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดีและทนทานต่ออากาศร้อน บริษัทเพื่อนเกษตรกร จำกัดเป็นเจ้าของพันธุ์
  2. พันธุ์ศรีทอง เป็นพันธุ์ลูกผสม (F 1 hybrid) เช่นเดียวกัน ผลิตโดยบริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อนเกษตรกร มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ซันเลดี้ มีผิวเรียบ สีเหลืองทอง หรือส้ม เนื้อภายในสีขาวอมเขียว มีขนาดน้ำหนักประมาณ 1 1.5 กก. ต่อผล
  3. พันธุ์ซันเนท 858 เป็นพันธุ์ลูกผสมของบริษัทเจียไต๋ เมล็ดพันธุ์จำกัด ผิวภายนอกผลสี ส้ม มีร่างแห เนื้อผลภายในสีส้ม เป็นพันธุ์เบาที่โตเร็ว เก็บเกี่ยวได้ไว
  4. พันธุ์มอร์นิ่งซัน 875 ผิวภายนอกสีขาว อมเขียว เนื้อภายในสีเขียว รสชำติหวาน น้ำหนัก ผลประมาณ 1.5 2 กก. อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 75 80 เป็นพันธุ์ลูกผสมของบริษัทเจียไต๋ เมล็ดพันธุ์จำกัด เช่นกัน
  5. พันธุ์จิงหยวน เป็นพันธุ์ลูกผสม (F1 hybrid) นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัทไทยเฟรซ จำกัด ปลูกในวงจำกัดเฉพาะเกษตรกรที่เป็นลูกไร่ของบริษัทฯ เท่านั้น ลักษณะผลภายนอกสีเขียว ผิวขรุขระเป็นร่างแห ตลอดทั้งผล เนื้อสีเขียว รสหวานจัดและมีกลิ่นหอม

วิธีการเพาะปลูก
การเพาะปลูก จะใช้วิธีการหยอดเมล็ดในภาชนะเช่นกระทง หรือถุงพลาสติก ควรคัดเลือกเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีอาหารสำ รองในเมล็ดมาก สามารถให้ต้นกล้าที่เจริญอย่างรวดเร็ว และสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรตรวจสอบความงอกก่อนที่จะนำ ไปเพาะปลูก

การเพาะเมล็ด
ใช้เมล็ด 80 -110 กรัมต่อไร่ (1 กรัม = 30- 40 เมล็ด หรอื 1000 เมล็ด หนกั 25 กรัม) ควรแช่เมล็ด ในเบนเลท ผสมกับ เคปแทน อัตราอย่างละ 6 กรัม ต่อนํ้า 1 ลิตร แช่ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง นำ มาล้าง และแช่โพแทสเซียมไนเตรท เข้มข้น 0.2 % เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นใช้ผ้าเปียกหุ้มเก็บไว้ในที่มืดอุณหภูมิสูงหรือใช้อุณหภูมิ 28- 30 องศาเซลเซียส เมล็ดจะเริ่มงอกภายในเวลา 12 ชั่วโมง และนำ ไปปลูกในกระทงเมื่อรากงอกยาว 0.5 ซม. อุณหภูมิดินที่เหมาะสำ หรับการงอกของเมล็ด 32 องศาเซลเซียส ตํ่าสุด 20 องศาเซลเซียส เพาะในถุงพลาสติกหรือกระทง ควรใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม.และย้ายกล้าลงปลูก เมื่อมีใบจริง 3 4 ใบ แต่ถ้าหากถุงหรือกระทงขนาดเล็ก ควรย้ายกล้าเมื่อมีใบจริง 1 – 2 ใบ หรือประมาณ 15 วันหลังจากหยอดเมล็ด การย้ายกล้าช้า หรือย้ายขณะที่มีรากเจริญขึ้นมารอบ ๆ ดินเพาะ จะทำ ให้รากกระทบกระเทือนจากสภาพอากาศ หรือการย้ายปลูกได้ เนื่องจากการเพาะในกระทงหรือถุง เมื่อดินรัดตัว จะทำ ให้เกิดช่องว่างระหว่างดิน และถุง หรือกระทง รากพืชซึ่งต้องการออกซิเจนจะเจริญขึ้นมาอยู่รอบ ๆ ดินเพาะ ซึ่งเป็นอันตรายได้ง่าย ดินที่ใช้เพาะเมล็ด ควรจะเป็นดินที่ร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูง เพื่อให้รากเจริญเติบโตสมบูรณ์ และผ่านการฆ่าเชื้อเช่นใช้ความร้อนหรืออบโดยสารเคมี โดยทั่วไปใช้ส่วนผสม 1:1:1 ดิน:ทราย:ปุ๋ยหมัก หรือ 1:1:2 ในดินเหนียว และใส่ 12- 24- 12 จำ นวน 150 กรัมต่อดิน 100 ลิตร

ดินและการเตรียมดิน
แตงเทศจะสามารถเจริญได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ในดินที่ร่วนซุยหน้าดินลึกมีอินทรีย์วัตถุสูง และระบายนํ้าดี เนื่องจากรากของแตงเทศ ต้องการออกซิเจนสำหรับการเจริญเติบโต และแลกเปลี่ยนธาตุอาหาร ดังนั้นดินร่วนปนทรายจะเหมาะสำ หรับปลูกแตงเทศมากกว่าดิชนิดอื่น ๆการปลูกแตงเทศ ควรปลูกพืชในระบบหมุนเวียน และใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะกลับมาปลูกที่เดิม ถ้าหากจำ เป็นต้องปลูกที่เดิมควรอบดิน หรือใช้วิธีการต่อกิ่งโดยใช้ต้นตอแตงไทย ฟักทอง ฟักเขียว หรือนํ้าเต้าเพื่อป้องกันโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. melones ซึ่งจะระบาดรุนแรงทำ ให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้

วิธีการปลูกมีสองแบบคือ
1. การปลูกแบบเลื้อย
ระยะปลูก 0.60 เมตร x 3.00 เมตร
ไต้หวัน ใช้ระยะปลูก 0.60 เมตร x 2.00 เมตร
ญี่ปุ่น ใช้ระยะปลูก 0.50 เมตร x 2.70 เมตร
2. การปลูกแบบขึ้นค้าง
ระยะปลูก 0.30 เมตร x 1.20 เมตร
ไต้หวัน ใช้ระยะปลูก 0.30 เมตร x 2.00 เมตร
ญี่ปุ่น ใช้ระยะปลูก 0.50 เมตร x 1.80 เมตร
การปลูกแบบเลื้อยหรือขึ้นค้าง อาจจะใช้แถวเดี่ยว หรือ แถวคู่ ระยะปลูกขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน พันธุ์ที่มีลำ ต้นและใบขนาดใหญ่ ควรปลูกห่าง ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าควรปลูกห่าง

การปลูกในเรือนโรง
การปลูกที่ต้องการคุณภาพ และมีตลาดที่แน่นอน ควรปลูกในเรือนพลาสติก เพื่อป้องกันฝน ซึ่งทำ ให้เกิดโรคทางใบ ลดความเข้มของแสง ลดอุณหภูมิ และเพื่อให้มีการจัดการปุ๋ย และนํ้าอย่างมี ประสิทธิภาพตลอดจนป้องกันแมลง โดยใช้มุ้งตาข่ายปิดรอบเรือนโรง ลักษณะของเรือนโรง จะต้องมีช่องระบายอากาศด้านบน และมีด้านล่างโปร่ง เพื่อให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นไป และอากาศเย็นพัดเข้ามาแทนที่ ซึ่งจะช่วยระบายอากาศ และลดอุณหภูมิใน เรือนโรง ใช้วัสดุพลางแสงในกรณีที่มีความเข้มแสงสูง และปิดด้านข้างด้วยมุ้งตาข่ายแปลงปลูกอาจจะใช้อิฐบล๊อคก่อเป็นแปลงปลูก และรองพื้นด้วยพลาสติก ผสมวัสดุปลูกใส่ลงไป หรืออาจจะใช้กระถางขนาดใหญ่ หรือใช้ถุงบรรจุวัสดุปลูก และเจาะหลุมปลูกดินปลูก ควรผสมอย่างดี ในพื้นที่ๆ ปุ๋ยหมักหาได้ง่าย อาจจะใช้ปุ๋ยหมักเป็นวัสดุปลูก เพื่อให้พืชสามารถเจริญได้อย่างเต็มที่ แตงเทศ ไม่สามารถปลูกซํ้าในพื้นที่เดิมได้ จะต้องเปลี่ยนวัสดุปลูก ทุกครั้งที่ปลูกใหม่ การปลูกวิธีนี้ถ้าหากใช้ปุ๋ยหมัก หรือเปลือกข้าวเป็นวัสดุปลูก จะทำ ให้ต้นทุน การปลูกตํ่ากว่าการอบดินด้วยสารเคมี และสามารถนำ ไปปลูกพืชชนิดอื่นได้ การให้นํ้า การปลูกในเรือนโรงจะให้ผลดี ถ้าหากใช้ระบบนํ้าหยด และผสมปุ๋ยลงในนํ้า จะทำให้ประหยัดแรงงาน ทำ ให้การใช้ปุ๋ยและนํ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีปฏิบัติดูแลรักษา
การปลูกควรเลือกต้นกล้าที่มีขนาดสมํ่าเสมอ ปลูกในแปลงเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นํ้า ในกรณีที่การเจริญเติบโตไม่สมํ่าเสมอกัน บางต้นอาจจะอยู่ในระยะที่ผลกำลังพัฒนา ซึ่งมีความต้องการนํ้ามาก บางต้นที่ติดผลก่อน ผลจะมีขนาดใหญ่ ถ้าหากให้นํ้ามากผลจะแตก นอกจากนี้จะสะดวกต่อการทำ ราวเพื่อใช้รองรับผล


การผสมเกสร เมล่อนเป็นพืชผสมข้าม ต้องอาศัยแมลง/มนุษย์ในการผสมเกสร

  • เลือกผสมเกสรในดอกที่เกิดขึ้นของแขนงที่ 9-12 (อายุ ~20-22 วันหลังย้ายปลูก)
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสม 06.00-10.00 น. ช่วงที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป
  • เก็บดอกตัวผู้จากต้นอื่นมาใช้ในการผสมเกสร โดยปลิดกลีบดอกออกให้หมดเหลือแต่อับละอองเกสรตัวผู้
  • นำมาคว่ำและเคาะเกสรตัวผู้ลงบนยอดดอกตัวเมีย หรือดอกสมบูรณ์เพศ ที่กำลังบาน เกลี่ยเกสรให้ทั่วยอดเกสรตัวเมีย หรือใช้พู่กันป้ายเก็บเกสร
    ของดอกตัวผู้ แล้วนำมาป้ายลงบนยอดเกสรตัวเมีย
  • ผสมจนครบ 4-5 ดอก


การเก็บเกี่ยว
เมื่อผลแตงสุกแก่ จะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอก คือ ในพันธุ์ที่ผิวมีร่างแหจะพบว่าร่างแหเกิดขึ้นเต็มที่คลอบคลุมทั้งผล ผิวเริ่มเปลี่ยนสีและอ่อนนุ่มลง และในบางพันธ์เริ่มมีกลิ่นหอมเกิดขึ้น เกิดรอยแยกที่ขั้วจนในที่สุดผลจะหลุดออกจากขั้ว ในการเก็บเกี่ยวผลแตงเทศเพื่อการจำหน่ายจึงต้องเก็บเกี่ยวในระยะที่พอดี หากเก็บเร็วเกินไปจะได้ผลแตงที่อ่อนเกินไป รสชำติยังไม่หวานและมีน้ำหนักน้อย หากเก็บเกี่ยวล่ำช้ำไป ผิวและเนื้อภายในจะอ่อนนุ่มเกินไปไม่เหมาะสำหรับการเก็บรักษาและการจำหน่าย อายุเก็บเกี่ยวของแตงเทศที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับพันธุ์ ซึ่งมีทั้งพันธุ์เบาที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 60 65 วันหลังหยอดเมล็ด หรือ 30-35 วันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์ซันเลดี้ ของบริษัทเพื่อนเกษตรกร จำกัด และพันธุ์ซันเน็ท 858 ของบริษัทเจี๋ยไต๋เมล็ดพันธุ์ จำกัด พันธุ์ปานกลางมีอายุเก็บเกี่ยว 70 75 วันหลังหยอดเมล็ดหรือ 40-45 วันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์มอร์นิ่งซัน 875 ของบริษัทเจี๋ยไต๋เมล็ดพันธุ์ จำกัด และพันธุ์ฮันนีดิว ของบริษัทเพื่อนเกษตรกร จำกัด และพันธุ์หนักที่มีอำยุเก็บเกี่ยวเกินกว่า 80 85 วันหลังเพาะเมล็ดหรือ 50-55 วันหลังดอกบาน เช่น พันธุ์เอ็มเมอรัลด์ สวีท ของบริษัทเพื่อนเกษตรกร เป็นต้น นอกจากการนับจำนวนวันแล้ว การเก็บเกี่ยวแตงเทศยังสามารถดูจากลักษณะภายนอกได้ด้วย แตงเทศที่เริ่มสุกแก่เก็บเกี่ยวได้จะเริ่มมีกลิ่นหอมในพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมและมีรอยแยกที่ขั้วผลเกิดขึ้นแสดงว่าผลแตงกำลังจะหลุดร่วงจากต้น โดยทั่วไปมักจะเก็บเกี่ยวเมื่อเกิดรอยแยกประมาณ 50 % หรือครึ่งหนึ่งของรอบขั้วผล ซึ่งเป็นระยะที่ผิวของผลแตงยังไม่อ่อนนุ่มจนเกินไปสามารถเก็บรักษา หรือขนส่งไปจำหน่ายในตลาดได้โดยไม่กระทบกระเทือน และอยู่ตลาด ได้อีกระยะหนึ่ง

โรคที่สำคัญ

  • โรคราน้ำค้าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิด Pseudoperonospora ชนิดหนึ่งซึ่งระบาดในสภาพอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสูง อาการของโรคเกิดขึ้นบนใบเป็นแผลสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยของเชื้อราสีขาวหม่นเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณที่ตรงกับแผล เมื่ออาการรุนแรง ทำให้ใบแห้ง และเถาตายได้ ในขณะที่กำลังออกดอกติดผลเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญสำหรับการปลูกแตงเทศในฤดูฝนของประเทศไทยที่มีสภาพแวดล้อมที่อำนวยต่อการระบาดของเชื้อโรค การป้องกันก่อนการเกิดโรคในฤดูฝน ควรมีการฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา
    จำพวกมาเน็บ หรือ ไซเน็บ เป็นระยะๆ ทุกสัปดาห์ ถ้าหากพบว่าเชื้อราเข้าทำลายแล้วควรควบคุมอาการของโรคด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราที่มีฤทธิ์ดูดซึม เช่น ริโดมิล สำหรับต้นที่มีอาการรุนแรงแล้ว ควรถอนต้นทิ้งแล้วนำมาเผาไฟเสีย เพื่อป้องกันการเชื้อโรคแพร่กระจำยออกไปมากยิ่งขึ้น
  • โรคเหี่ยวจากเชื้อฟูซาเลียม (Fusarium wilt) เกิดจากเชื้อราชนิด Fusarium ที่อยู่ในดิน ทำให้ต้นแตงเทศเกิดอาการใบเหลืองและเหี่ยวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลายในท่อน้ำท่ออาหาร การรักษาทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะเชื้อโรคอยู่ในดิน เมื่อพบว่ามีต้นเป็นโรคนี้ ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง การปรับค่ำความเป็นกรด-ด่างของดินให้มีค่ำสูงขึ้น จะช่วยชะลออาการของโรคนี้ได้ ถ้าพบว่าเกิดโรคนี้อย่างรุนแรงในพื้นที่ปลูกใด ควรงดการปลูกพืชในวงศ์แตงนี้ซ้ำในที่เดิมในฤดูติดกัน
  • โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส ต้นแตงเกิดอาการใบด่างเหลือง หยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งขึ้น ทำให้แตงชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกและติดผล ถ้าพบว่าเริ่มมีต้นแตงเทศเป็นโรคนี้ ควรรีบถอนต้นนั้นทิ้ง และนำไปเผาทำลาย ในการป้องกันการเกิดโรคนั้นต้องหลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดอื่นในวงศ์แตงในบริเวณใกล้เคียง และพยายามกำจัดแมลงศัตรูพืชทีเป็นพำหะของโรคนี้ คือ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน
    โดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง เป็นระยะๆ แต่ต้องงดการฉีดก่อนการเก็บเกี่ยว
  • โรคราแป้งขาว (Powdery mildew) เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่ง ระบาดในสภาพอุณหภูมิและความชื้นสูง อาการเกิดบนใบ และผล ทำให้ใบกรอบเป็นสีน้ำตาล อาจเกิดร่วมกับโรคราน้ำค้าง ป้องกันกำจัดได้ด้วยการฉีดพ่นกำมะถันผง หรือ สารป้องกันกำจัดเชื้อรำเบนโนมิล (Benomyl)

แมลงศัตรูที่สำคัญ
พืชผักตระกูลแตง (Cucurbitaceae) จัดเป็นพืชผักที่สำคัญทางเศรษฐกิจในประเทศไทย พืชที่สำคัญในตระกูลนี้ได้แก่ แตงโม แตงกวา มะระ ฟักทอง ฟักเขียว บวบและแคนตาลูป เป็นต้น ซึ่งผลิตและบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ทั้งในรูปบริโภคสดและแปรรูป เช่น แตงกวามีการส่งเสริมให้ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นผักดอง ส่งตลาดต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนมะระก็มีการผลิตเพื่อการส่งออกและบริโภคสด ดังนั้นพืชผักตระกูลนี้จึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต้องผลิตให้ได้คุณภาพดี แต่ปัญหาการผลิตที่สำคัญในขณะนี้ได้แก่ แมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายคือ เพลี้ยไฟฝ้าย นอกจากทำลายพืชให้เสียคุณภาพแล้ว บางครั้งติดไปกับผลผลิตทำให้มีปัญหาด้านการส่งออก จากรายงานของกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เมื่อประมาณต้นปี 2542 พบว่ามีเพลี้ยไฟฝ้ายติดไปกับมะระทำให้มีผลกระทบต่อการส่งออกดังนั้นการจัดการแมลงศัตรูที่สำคัญดังกล่าว ควรมีการป้องกันและควบคุมตั้งแต่การปลูกในสภาพไร่จนถึงหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งวิธีการต่างๆ นั้นจะต้องนำมาวิจัยเพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแนะนำให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อไป ชนิดของแมลงศัตรูพืชตระกูลแตงและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย

  • เพลี้ยไฟ (Thrips) เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากเท่าปลายเข็ม ตัวอ่อนมีสีแดง ตัวแก่เป็นสีดำ ดูดน้ำเลี้ยงที่ปลายยอดอ่อนของต้น ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หดสั้น บิดเบี้ยว ระบาดมากในสภาพอากาศร้อนและแห้ง ของฤดูร้อน โดยมีลมเป็นพำหะพำเพลี้ยไฟเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น ป้องกันกำจัดได้ด้วยการปลูกพืชที่กันชนที่ต้านทานเพลี้ยไฟ เช่น มะระ ล้อมรอบแปลง และฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
  • ด้วงเต่าแตง (Leaf beatle) เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาวประมำณ 1 ซม. ปีกมีสีเหลืองปนส้ม กัดกินใบแตง ให้แหว่งเป็นวงๆ ถ้าระบาดและทำความเสียหายให้กับใบจำนวนมาก ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เซฟวิน 85 หรือตั้งแต่ก่อนย้ายปลูก ให้หยอดสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึม คือ คาร์โบฟูราน หรือฟูราดาน ที่ก้นหลุม ก่อนย้ายปลูก ซึ่งจะมีฤทธ์ป้องกันแมลงต่างๆได้ประมาณ 45 วัน แต่ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดนี้อีกในระหว่างการเจริญเติบโตและติดผล เพราะจะตกค้างในผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

การเขียนลายสร้างมูลค่าเพิ่ม
อุปกรณ์ที่ใช้วาดลวดลาย เข็ม ตะปู หรือหัวแร้งบัดกรีใช้ความร้อน

  1. เลือกผลเมล่อนที่ผ่านการผสมดอกมาแล้ว 15-20 วัน ขนาดใกล้เคียง กับกำปั้นมือของเรา/ใหญ่กว่าเล็กน้อย ผิวผลยังไม่ขึ้นลาย
  2. ร่างลวดลายที่ต้องการลงผล และใช้ของเข็มขูดลงไปที่ผิวเปลือก ตามภาพที่ร่างไว้
  3. ปล่อยให้มีการเจริญตามปกติ ลายภาพจะชัดเจนขึ้นมา(อาจมีการขูดซ้ำ เพื่อให้ลายชัดเจนขึ้น)


โดยพันธุ์ของเมล่อนจะมีผลต่อลายที่เกิดขึ้นด้วย เช่น พันธุ์ที่เส้นตาข่ายค่อนข้างละเอียด ลวดลายก็จะชัดเจนและสวยงาม แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่มีลายตาข่ายห่างๆ บนผิวผล ลวดลายที่เราวาดก็จะไม่ค่อยชัด

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น