การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก

3 ธันวาคม 2556 สัตว์ 0

การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติก ดัดแปลงมาจากการเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก ที่กำลังนิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมากใน และกำลังประสบปัญหาเรื่องปลาดุกล้นตลาด ทั้งที่มีส่งเสริมการแปรรูป เช่น การทำปลาดุกย่าง การทำปลาดุกย่าง การทำปลาดุกร้า เป็นต้น ทางสำนักงานประมง พยายามหาเทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนาเกษตรกรที่สนใจและได้ทำการทดลองแล้ว ปรากฏว่า การเลี้ยงกบในบ่อพลาสติกนี้ จะมีผลตอบแทนมากกว่า การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก เพราะสามารถเพิ่มจำนวนกบที่เลี้ยงและขยายพื้นที่เลี้ยงได้ และเลี้ยงได้หลายรุ่นและขยายจำนวนบ่อของเกษตรกรได้

สถานที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงกบ

  • ควรอยู่ใกล้บ้านและสะดวกต่อในการดูแล
  • อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี เพียงพอตลอดการเลี้ยง
  • เป็นพื้นที่สูงหรือที่ดอนเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม
  • ห่างไกลจากแหล่งชุมชนหรือบริเวณที่มีเสียงอึกทึกรบกวน
  • อยู่ใกล้แหล่งจำหน่ายอาหารกบ
  • สะดวกในการจับ

พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
กบที่เหมาะสมจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการจะใช้เวลาเลี้ยงเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว / กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว
การสังเกตเพศ กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และส่วนที่เห็นได้ชัดคือ กบนาตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวๆ มุมปากล่างทั้งสองข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบนาตัวผู้จะส่งเสียงร้องและในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส

อัตราการปล่อย
50-100 ตัว / ตร.ม. การเลี้ยงกบ จำเป็นต้องคอยคัดขนาดของกบให้มีขนาดเท่าๆ กัน ลงเลี้ยงในบ่อเดียวกัน มิฉะนั้น กบใหญ่จะรังแกและกินกบเล็ก

การให้อาหาร
อาหารที่นิยมเลี้ยงกบมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

  1. อาหารสด ได้แก่ หนอน , ปลวก , ปลาเป็ด และไส้ไก่
  2. อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดสำหรับปลาดุก และอาหารเม็ดสำหรับกบ

การให้อาหาร ควรให้วันละ 2 ครั้ง คือเช้าและเย็น พยายามอย่าให้อาหารเหลือในบ่อมากเพราะจะทำให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้

วัสดุอุปกรณ์ต่อ 1 บ่อ

  • พันธุ์กบขนาด 2 เซนติเมตร จำนวน 100 ตัว
  • อาหารปลาดุกเล็ก จำนวน 30 กิโลกรัม
  • พลาสติก (ปูบ่อ) ขนาด 2 X 2 เมตร จำนวน 1 ผืน
  • ตาข่ายอวน (กันงู ,นก) จำนวน 1 กิโลกรัม
  • มุ้งเขียว จำนวน 1 ม้วน

kobplasticbo kobplasticood kobplasticbol kobplasticlek kobplasticlok kobplastickob

โรคและการป้องกันรักษา
ปัญหาโรคของกบที่เกิดขึ้น มักเกิดจากความผิดพลาดของการเลี้ยงและการจัดการ โรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่

  1. โรคท้องบวม สาเหตุเกิดจากการปล่อยลูก อ๊อดหนาแน่นเกินไป มีการให้อาหารปริมาณมาก ทำให้คุณภาพน้ำในบ่อเน่าเสีย สำหรับวิธีการป้องกันและแก้ไข ให้ใช้ EM ใส่ลงไปในบ่อเพื่อปรับ pH ของน้ำให้ดีขึ้น
  2. โรคแผลที่หัวและลำตัว บริเวณหัวและลำตัวของกบจะเป็นแผลเน่าเปื่อย สาเหตุเกิดจากสภาพบ่อสกปรกมาก ดังนั้นควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใช้ EM ใส่ลงไปในบ่อ

หากไม่อยากให้เกิดโรค ไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป หรือ ถ้าพบกบตัวใดมีอาการผิดปกติควรจับแยกออกเลี้ยงต่างหาก และควรดูแลเรื่องระบบน้ำในบ่อให้ดีอยู่เสมอ

ผลตอบแทน
รายได้จากการจำหน่ายกบ ปล่อยกบ 100 ตัว อัตรารอด 80% คงเหลือ 80 ตัว เลี้ยงประมาณ 4 เดือน ได้กบขนาด 5 ตัว/ กิโลกรัม การเลี้ยงรุ่นที่ 2 ไม่ต้องลงทุน ผ้าปูบ่อพลาสติก และมุ้งเขียว

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น