กุ้งฝอย แต่เดิมนั้นพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำต่างๆ แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
มีการสะสมของสารพิษ เกิดการตื้นเขินและถูกบุกรุกทำลายเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่น จึงทำให้แหล่ง
ที่อยู่อาศัยของกุ้งฝอยในธรรมชาติลดน้อยลง แต่ขณะที่ความต้องการกุ้งฝอยเพื่อการบริโภคมีมาก จึงทำให้ราคากุ้งฝอยที่จำหน่ายในท้องตลาดราคาสูงขึ้นมาก อย่างที่ขายกันในภาคอีสานนั้น แต่ก่อนนั้นเพียงกิโลกรัมละ 35 50 บาท แต่ตอนนี้ขึ้นมาถึง 160 200 บาท
“กุ้งฝอยจะผสมพันธุ์ภายใน โดยเพศเมียจะมีไข่ขนาดเล็ก ๆ อยู่ในหัวและเมื่อได้รับการผสมแล้ว จะเคลื่อนที่มาอยู่บริเวณท้อง จนกว่าไข่จะแก่ เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าไข่สีเขียวเข้มจนเป็นสีเทาแสดงว่าไข่แก่ เมื่อน้ำมีสภาพดี โดยเฉพาะถ้าเป็นน้ำขุ่นจะเจริญเติบโตดีมากกว่าน้ำใส ซึ่งในกรณีของน้ำที่ใช้เลี้ยงนี้ กำลังอยู่ระหว่างช่วงการศึกษาเกี่ยวกับความขุ่นของน้ำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้งฝอยว่า ควรเป็นเท่าใด และกุ้งฝอยจะชอบน้ำมีสีเขียวที่มีแพลงก์ตอนพืชและไรแดง จะชอบมากและวางไข่ ลูกกุ้งจะลอยน้ำในแนวดิ่ง”
สำหรับบ่อที่ใช้เลี้ยงกุ้งฝอย ควรเป็นบ่อขนาด 1 งาน หรือประมาณ 0.5 ไร่ ถ้าขนาดใหญ่เกินไปจำทให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ความลึกของบ่อประมาณ 1.5 เมตร เติมน้ำสูงประมาณ 1เมตร
สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ การป้องกันศัตรู ดังนั้น บริเวณบ่อต้องให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของกบ เขียด งู ที่จะมาลงกินกุ้งฝอยในบ่อเลี้ยงด้วยการล้อมรอบบ่อด้วยไนล่อนเขียวตาถี่ นอกจากนี้ในบ่อเลี้ยงต้องมีการกำจัดปลาที่เป็นศัตรูอย่าง ปลาช่อน ปลาดุก โดยใช้กากชา หางไหล ใส่ทิ้งไว้ 3 5 วัน
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกำจัดศัตรูดังคำแนะนำข้างต้นแล้ว แต่ในช่วงระยะเวลาการเลี้ยง ยังจะพบศัตรูชนิดอื่น ๆ ด้วย ลูกกุ้งฝอยนี้จะเป็นอาหารที่โปรดปรานมากของสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น แมลงน้ำ มวนนวน มวนกรรเชียงและแมลงที่ชอบเกาะดูดเลือดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ
“ฉะนั้น ก่อนปล่อยพ่อ-แม่กุ้ง ควรใช้น้ำมันโซล่า (ดีเซล) สาดใส่ในบ่อเพื่อกำจัดแมลงต่าง ๆ หรือใช้อวนลากแมลงขึ้นมาก่อนเพื่อเป็นการกำจัดศัตรูของลูกกุ้งฝอยจะดีมาก”
การเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งฝอย
อาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งฝอย
วิธีจับกุ้งฝอย
ตลาดกุ้งฝอย
กุ้งฝอยสามารถจำหน่ายได้ดีในปัจจุบัน ซึ่งนิยมบริโภคกุ้งฝอยกันมาก โดยซื้อไปประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น พล่า แกงเลียง ทอดมัน ทอดใส่ไข่เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำกุ้งฝอยเป็นๆมาใส่ในตู้ปลาตามร้านอาหาร
หรือภัตตาคาร เพื่อจำหน่ายสดๆ ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน แต่หากเห็นว่าปริมาณกุ้งฝอยจากการเพาะเลี้ยง
มีปริมาณมากเกินไปสามารถนำมาแปรรูปได้ โดยนำไปทำเป็นกุ้งจ่อม (กุ้งหมัก) ซึ่งจำหน่ายได้ราคาดีมาก
ดังนั้นจะเห็นว่าการเลี้ยงกุ้งฝอยจะจำหน่ายได้ตลอดเวลาและราคากุ้งฝอยจะสูงมากในช่วงฤดูหนาว
การเลี้ยงกุ้งฝอย โดย อ.เฉลียว ปานเนียม
อาจารย์เฉลียว ปานเนียม หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แนะนำเทคนิคการเลี้ยงกุ้งฝอยแบบง่ายๆ โดยใช้ EM ในการดูแล ดังนี้
การจับกุ้ง
เมื่อต้องการจับกุ้ง ใช้ไซที่ทำจากตาข่ายสีฟ้าพันรอบโครงไม้ไผ่
เจาะรูให้มีขนาดพอดีกับขวดน้ำอัดลม นำขวดมาตัด เอาเฉพาะด้านบนขวดในไปในช่องที่ตัดไว้ให้รอบ
เวลาจับกุ้ง ใส่อาหารเม็ดปลาดุกเข้าไปในไซ มัดเชือกปิดไว้ แล้วหย่อนใส่ลงในบ่อ 1 คืน กุ้งจะเข้ามากินอาหารในไซออกไม่ได้ รุ่งเช้ามาเก็บไซ เปิดปากไซแล้วเทกุ้งฝอยออกจากไซ
วิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูของกุ้ง
ศัตรูของกุ้ง ได้แก่ แมลงปอ คางคก กบ เขียด งู ปลากินเนื้อ ทุกชนิด
แมลงปอ นำท่อพลาสติกพีวีซี มาต่อเป็นวงสี่เหลี่ยม ขนาด 1 x 1 เมตร ลอยน้ำแล้วติดหลอดไฟไว้ด้านบน เพื่อล่อแมลงปอให้มาเล่นไฟ หยดน้ำมันพืชลงไว้วงสี่เหลี่ยมที่ผิวน้ำ เมื่อแมลงมาเล่นไฟก็จะตกลงบนน้ำมันพืชไปไหนไม่ได้
คางคก กบ เขียด งู ใช้ตาข่ายสีฟ้าล้อมบริเวณรอบบ่อเลี้ยง
การจำหน่าย
หลังจากเลี้ยงได้ 4 เดือน สามารถจับขายได้สัปดาห์ละครั้งๆ ละ ประมาณ 500-600 บาท
กุ้งฝอยสามารถจำหน่ายได้ดีในปัจจุบัน ซึ่งนิยมบริโภคกุ้งฝอยกันมาก โดยซื้อไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น พล่า แกงเลียง ทอดมัน ทอดใส่ไข่ จ๋อมกุ้ง ฯลฯ การเลี้ยงกุ้งฝอยจึงนับเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี ขอบคุณ อาจารย์เฉลียว ปานเนียม ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลดีฯ เพื่อเป็นหนทางสร้างอาชีพ
ป้ายคำ : สัตว์น้ำ
ดีมากค่ะ
น้ำEMคืออะไรและซื้อได้ที่ไหนครับ
ผมอยากลองเลี้ยงดูนะครับขอคำแนะนำด้วยนะ