การเลี้ยงปลาในนาข้าวจะกระทำได้เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปีหรืออย่างน้อย ๓-๖เดือน ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลาพอที่จะใช้เป็นอาหารได้
การเตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา มีความกว้าง ๐.๕๐-๑.๕๐ เมตร และลึก ๐.๒๕-๐.๔๐ เมตรนำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น ภายในแปลงนาควรซอยคูเล็กๆ ติดต่อกับคูรอบนอกเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำจับปลาและวางท่อระบายน้ำเข้าและออก
ปลาที่นำมาเลี้ยงในนาข้าวจะต้องเป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถอยู่ได้ในน้ำตื้นซึ่งมีอุณหภูมิสูง และทนทานต่อความขุ่นของน้ำ ชนิดของปลาที่นิยมเลี้ยงในนาข้าว ได้แก่ ปลาไน ปลาหมอเทศ ปลาสลิด ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาหมอตาล
การเลี้ยงปลาในนาข้าวอาจดำเนินได้ ๒ ระยะด้วยกันคือ ระยะแรกเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำนา การปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องให้ต้นข้าวตั้งเป็นตัวก่อน ๑-๒ สัปดาห์ มิฉะนั้น ปลาจะว่ายหาอาหาร ทำให้ต้นข้าวหลุดลอยเสียหาย และระยะที่ ๒เลี้ยงปลาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว ในระยะข้าวสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวต้องลดระดับน้ำลง ปลาจะลงหลบอาศัยในส่วนลึก หลังจากเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลาต่อโดยเก็บตอซังข้าวในผืนนามากองไว้เป็นที่สำหรับเป็นปุ๋ย และระบายน้ำเข้าเพื่อเลี้ยงปลาต่อไป
การเลี้ยงปลาในนา เป็นการผลิตอาหารแป้งและอาหารโปรตีนในที่เดียวกัน ทำให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีอาหารโปรตีนบริโภคอีกด้วย ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าวพอสรุปได้ คือ
ข้าวเป็นพืชหลักในการทำนา ฉะนั้น การเลี้ยงปลาจึงต้องปรับให้เข้ากับการปลูกข้าว ก่อนอื่นควรจะวางท่อทางระบายน้ำไว้อย่างสมบูรณ์ และจะต้องมีที่ส่วนลึก ให้ปลาได้หลบอาศัยเมื่อระดับน้ำลดต่ำ
การเลี้ยงปลาในนาข้าวจะกระทำได้เฉพาะในท้องที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีการชลประทาน มีน้ำตลอดปีหรืออย่างน้อย ๓-๖เดือน ซึ่งพอเพียงสำหรับการเจริญเติบโตของปลาพอที่จะใช้เป็นอาหารได้
การเตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลา ควรขุดคูรอบแปลงนา มีความกว้าง ๐.๕๐-๑.๕๐ เมตร และลึก ๐.๒๕-๐.๔๐ เมตรนำดินจากคูดังกล่าวขึ้นไปเสริมคันให้สูง และกว้างตามปริมาณของดินที่ขุดขึ้น ภายในแปลงนาควรซอยคูเล็กๆ ติดต่อกับคูรอบนอกเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำจับปลาและวางท่อระบายน้ำเข้าและออก
ปลาที่นำมาเลี้ยงในนาข้าวจะต้องเป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถอยู่ได้ในน้ำตื้นซึ่งมีอุณหภูมิสูง และทนทานต่อความขุ่นของน้ำ ชนิดของปลาที่นิยมเลี้ยงในนาข้าว ได้แก่ ปลาไน ปลาหมอเทศ ปลาสลิด ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาหมอตาล
การเลี้ยงปลาในนาข้าวอาจดำเนินได้ ๒ ระยะด้วยกันคือ ระยะแรกเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำนา การปล่อยปลาลงเลี้ยงต้องให้ต้นข้าวตั้งเป็นตัวก่อน ๑-๒ สัปดาห์ มิฉะนั้น ปลาจะว่ายหาอาหาร ทำให้ต้นข้าวหลุดลอยเสียหาย และระยะที่ ๒เลี้ยงปลาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว ในระยะข้าวสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวต้องลดระดับน้ำลง ปลาจะลงหลบอาศัยในส่วนลึก หลังจากเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว ก็เตรียมแปลงนาสำหรับเลี้ยงปลาต่อโดยเก็บตอซังข้าวในผืนนามากองไว้เป็นที่สำหรับเป็นปุ๋ย และระบายน้ำเข้าเพื่อเลี้ยงปลาต่อไป
การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นวิธีที่ดีนะคะแต่อย่าลืมว่าผืนนาทุกแห่งมิใช่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาในนาเสมอไปการเลี้ยงปลาในนาข้าวจึงมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ เช่นในบางท้องที่อาศัยเฉพาะน้ำฝน หรือบางที่ชาวนาไม่สามารถรักษาระดับน้ำในผืนนาไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้น หากเพียงแต่นาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักน้ำในผืนนาไว้ให้ได้มากกว่าปกติเพียงประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เป็นอย่างน้อยตลอดฤดูกาลทำนาและทั้งสามารถควบคุมปริมาณน้ำโดยไม่ให้ท่วมผืนนาได้อีกด้วยแล้ว นาแปลงนั้นก็สามารถที่จะเลี้ยงปลาในนาได้ผลดี จึงควรที่จะยึดหลักในการเลือกผืนนาให้มีสภาพดังนี้
ขนาดของแปลงนาข้าว
แปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลงขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
พันธุ์ปลาที่ควรเลี้ยงในนาข้าว
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในนาข้าว ควรมีคุณสมบัติดังนี้
พันธุ์ปลาดังกล่าว ได้แก่ ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาหัวโต หรือปลาซ่ง ซึ่งปลาต่าง ๆ เหล่านี้กินอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา ประเภทพืชและสัตว์เล็ก ๆ ได้ดีจึงโตเร็ว และนอกจากนี้ยังกินอาหารเสริมต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นอีกด้วย
ขนาดของแปลงนาข้าว
แปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลงขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การเตรียมแปลงนาข้าว
การเตรียมแปลงนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาในผืนนาไปด้วยนั้น ควรเตรียมให้เสร็จก่อนระยะเตรียมดินและไถคราด โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
ต้องเลือกแปลงนาที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถหล่อเลี้ยงในแปลงตลอด 3 เดือน โดยทำาการขุดบ่อสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง ยาว และลึก 1 เมตร เท่ากัน ไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของแปลงนาเพื่อใช้เป็นที่หลบภัย ให้อาหารและรวบรวมปลาจากนั้นเซาะร่องลึก และกว้าง 50 เซนติเมตร ขนานตามคันนาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 4 ด้าน ขนาดความยาวเท่ากับคันนาต่อเชื่อมกับบ่อสี่เหลี่ยมที่ขุดไว้ก่อนแล้ว เมื่อเตรียมร่องเสร็จจึงเตรียมดินด้วยการไถดะและไถแปรปรับผิวหน้าให้เรียบ หรือทำาเทือกให้เรียบร้อย จึงปักดำกล้า ขังน้ำในนาลึก 5-10 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ดีจึงเพิ่มระดับน้ำเป็น 15-20 เซนติเมตร นำพันธุ์ปลาขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร ปล่อยลงในนาข้าว จำานวน 2,000 ตัว ต่อไร่ด้วยอัตราผสม ระหว่างปลานิลกับปลาตะเพียน อัตรา 1:1 เพื่อให้ลูกปลาเจริญเติบโตดีขึ้น
ช่วงเวลาการปล่อยปลา
หลังจากไถคราดและปักดำเสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ 15-20 วัน เมื่อเห็นว่าต้นข้าวแข็งแรง และรากยึดติดดินดีแล้ว จึงนำปลาไปปล่อยลงเลี้ยง
ตารางแสดงอัตราการปล่อยปลาในนาข้าว
ปลาหมอเทศ อัตราการปล่อย/ไร่ ๑,๐๐๐-๑,๒๐๐ ตัว
ปลาไน อัตราการปล่อย/ไร่ ๕๐๐๖๐๐ ตัว
ปลานิล อัตราการปล่อย/ไร่ ๕๐๐-๑,๒๐๐ ตัว
กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เลี้ยงปลาในนาข้าวโดยปล่อยลูกปลา 400-600 ตัวต่อไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตอาหารจากการทำนาปกติเป็นเนื้อปลาได้ 20-30 กก.ต่อไร่ ซึ่งยังต่ำมาก ทำให้เกษตรกรไม่สนใจนัก เนื่องจากอาหารปลาตามธรรมชาติที่มีอยู่ในนาข้าวมีจำกัด การที่แหนแดงสามารถเลี้ยงขยายในนาข้าวได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถใช้เป็นอาหารปลาที่เลี้ยงในนาข้าวได้ ดังนั้นถ้าเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยเลี้ยงแหนแดงควบคู่ไปด้วย ข้อจำกัดเรื่องอาหารปลาก็จะหมดไป วิธีการดังกล่าวน่าจะเป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตในระบบการเลี้ยงปลาในนาข้าวที่มีประสิทธิภาพ
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมควรเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว อดทน หาพันธุ์ได้ง่าย ไม่ทำลายต้นข้าว และเนื้อมีรสดี เป็นที่นิยมของท้องถิ่น เช่น ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ ปลาหัวโต เป็นต้น โดยที่ปลานั้นๆ ควรมีขนาดความยาว 5-10 ซม. ซึ่งสามารถเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูได้ดี
ปลาที่นิยมเลี้ยงในนาข้าวได้แก่ ปลานิล ปลาไน และปลาตะเพียนขาว เนื่องจากเป็นปลากินพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตดี สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ปลาทั้งสามชนิดเหมาะที่จะปล่อยรวมกัน โดยปกติใช้อัตราส่วนเท่าๆ กัน ใช้ปลา 600 ตัวต่อไร่ หรืออย่างละ 200 ตัว ขนาดปลาที่ปล่อย 3-5 ซม. ถ้าเลี้ยงแหนแดงเป็นอาหารปลาด้วยก็สามารถเพิ่มจำนวนลูกปลาได้อีก 3 เท่า การปล่อยลูกปลาหลังจากปักดำเสร็จหรือหลังจากใส่แหนแดง ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ซึ่งพอข้าวเก็บเกี่ยวได้ ปลาก็มีขนาดโตสามารถจับไปบริโภคหรือจำหน่ายได้
การเลี้ยงปลาในนาข้าว เป็นการให้อาหารธรรมชาติในผืนนาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของปลา จำเป็นต้องเร่งให้เกิดอาหารธรรมชาติ โดยการใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบ ได้แก่ รำ ปลายข้าวต้มผสมรำ ปลวก แมลง ผัก และหญ้า สำหรับพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรเป็นข้าวอายุกลางจนถึงหนัก ประมาณ 130-150 วัน จากนั้นเตรียมดินตามปกติ ด้วยวิธีการไถดะ ไถแปร ทำเทือก และปักดำ เมื่อข้าวตั้งตัวได้ดี คือหลังปักดำแล้วประมาณ 10 วัน จึงปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงในนา
ควรให้อาหารเสริม เช่น รำข้าว เศษผักจากครัวเรือน ปลวก หรือไส้เดือน กินทุก 3-4 วัน ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ขณะเดียวกันเศษอาหารเหลือจากปลากินจะกลายเป็นปุ๋ย ให้กับต้นข้าว ทำให้ผลผลิตข้าวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 7-10 เปอร์เซ็นต์ ด้วยสาเหตุจากการเพิ่มปุ๋ยลงในนาที่ได้จากเศษอาหาร วัชพืชในนาก็เป็นอาหารปลาได้ดี อีกส่วนหนึ่งปลาก็จะจับแมลงที่มาเกาะต้นข้าวกินเป็นอาหาร จึงช่วยลดการเข้าทำลายของแมลงลงได้ สุดท้ายได้ทั้งข้าว ทั้งปลา นำไปจำหน่ายได้เงิน มีแหล่งอาหารโปรตีนสำาหรับครอบครัว นอกจากนี้ทำาให้เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีความยั่งยืนในการประกอบอาชีพการเกษตรต่อไป
ป้ายคำ : นาข้าวอินทรีย์, สัตว์น้ำ