เสาวรส ลดไขมันในเส้นเลือด

19 สิงหาคม 2556 ไม้เลื้อย 0

เสาวรส เป็นผลไม้เขตร้อน ให้คุณประโยชน์ทางโภชนาการสูง มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ แก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเส้นเลือดและโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งสามารถกินได้ทั้งผลสดที่เป็นเนื้อใน รก เปลือก เนื้อส่วนนอกและน้ำคั้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora laurifolia L.
ชื่อสามัญ : Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla
วงศ์ : Passifloraceae
ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสาวรสเป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม

  • ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่
  • ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก
  • ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง

saowarosdok

” เสาวรส” เป็นผลไม้เขตร้อน ให้คุณประโยชน์ทางโภชนาการสูง มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตาปรับสมดุลในร่างกาย ให้ความสดชื่น นอกจากนี้ ยังช่วยสมานผิว ลดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าสามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางได้อีกด้วย

saowaross

เสาวรส หรือกะทกรก, กะทกรกฝรั่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Passifora spp.” พบครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก และนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2498 มี 3 สายพันธุ์ คือ
เสาวรส (Passion fruit) หรือที่เราเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า กะทกรกฝรั่ง เป็นไม้ผล
ประเภทเถาเลื้อย อยู่ในตระกูล Passifloraceae โดยมีลักษณะลำต้นเป็นเถา มีมือเกาะออกตาม
ซอกใบ และเมื่อผลสุกจะ มีสีต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากใน
ประเทศไทยมี 3 พันธุ์ คือ

  1. พันธุ์ผลสีม่วง เมื่อผลสุกจะมีสีม่วงเข้มผิวเป็นมัน น้ำจาก พันธุ์ผลสีม่วง มีรสชาติดีกว่าพันธุ์ผลสีเหลือง มีกรดต่ำสีสวยและหวาน จึงเหมาะสำหรับรับประทาน ผลสด ข้อเสียของพันธุ์นี้คือ ค่อนข้างจะอ่อนแอต่อโรค
  2. พันธุ์ผลสีเหลือง เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองขมิ้น ผิวเป็นมัน น้ำคั้นของพันธุ์นี้ มีกรดมาก ซึ่งมี pH ต่ำกว่า 3 เหมาะสำหรับส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูปมากกว่าการ รับประทานผลสด ข้อดีของพันธุ์นี้คือ ให้ผลดก และมีความต้านทานโรคและแมลงสูงกว่าพันธุ์ผลสีม่วง
  3. พันธุ์ลูกผสม เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ผลสีม่วงกับพันธุ์ผลสีเหลือง เพื่อคัดเลือกต้นพันธุ์ใหม่ ที่รวมลักษณะผลที่เด่นของแต่ละพันธุ์ไว้ ทำให้มีลักษณะผลใหญ่ ให้ผลดก มีรกห่อหุ้ม เมล็ดมาก เปลือกบาง ต้านทานโรค และมีช่วงเวลาในการให้ผลที่ยาวนาน พันธุ์นี้จะให้ทั้งผลที่มีสีม่วงและผลสีเหลือง พันธุ์ลูกผสมนี้เหมาะสำหรับปลูกเพื่ออุตสาหกรรมการทำน้ำเสาวรส เพราะสามารถเก็บผลได้ตลอดทั้งปี

ส่วนเปลือก ผลและเนื้อส่วนนอก มีลักษณะแข็ง ไม่สามารถรับประทานได้ และส่วนภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือดำจำนวนมาก ซึ่งเมล็ดจะมีรกเป็นเยื่อเมือกสีเหลืองหรือสีส้ม ลักษณะเหนียวข้นและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวห่อหุ้มอยู่โดยรอบ

saowarossook

คุณประโยชน์ของเสาวรส
น้ำเสาวรส มีวิตามินเอ บำรุงสายตา ช่วยรักษาสภาพเยื่อบุผิวหนัง มีวิตามินซี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค นำไปแต่งกลิ่นประกอบอาหาร ขนมต่างๆ
ใช้ทาหน้าก่อนนอน บำรุงผิวพรรณ ลดรอยเหี่ยวย่น ดื่มเพื่อให้ความสดชื่น ปรับสมดุลในร่างกายลดอาการวิงเวียนคลื่นไส้ บรรเทาอาการจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฟื้นฟูตับและไตที่อ่อนแอ กำจัดสารพิษในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด แก้หอบหืด และความดันโลหิตสูง
ยอดอ่อนรับประทานได้ มีรสชาติขมเล็กน้อย เนื้อหุ้มเมล็ดในผลรับประทานสดได้ มีกากใยอาหาร ใบสดใช้พอกแก้หิด ดอกใช้ขับเสมหะ แก้ไอ ต้นสดห้ามนำไปรับประทานเพราะอาจถึงตายได้
เปลือกเป็นอาหารสัตว์ และทำปุ๋ยหมักได้ เมล็ดมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ช่วยให้นอนหลับ ลดไขมันในเส้นเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
นอกจากนี้ ในประเทศอิตาลีได้ผลิตน้ำมันจากเมล็ดของเสาวรส และนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์กันแดด ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว ช่วยลดจุดด่างดำ เนื่องจากมีวิตามินซีสูงและวิตามินเอ ช่วยสมานผิวรักษาเยื่อ บุผิวหนัง ซึ่งในทางอโรมาจัดว่า น้ำมันเสาวรสเป็นน้ำมันที่ให้ความผ่อนคลายในการนวดได้ดี และนิยมใช้นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วย

saowarospol

เสาวรส มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Passion Fruit ( แพสชั่นฟรุต ) หรือชื่อเรียกทั่วไปว่า กะทกรกฝรั่ง มี 2 ชนิดคือ

  • ผลสีม่วง ( Passiflora edulis )
  • ผลสีเหลือง ( P.edulis f. flavicarpa )

นอกจากนั้นมีพันธุ์ลูกผสม ระหว่างสีเหลืองและสีม่วงที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าพันธุ์เดิม ชนิดของเสาวรสแบ่งตามการใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

  1. ใช้รับประทานสด ได้แก่ชนิดผลสีม่วง ผลจะมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4 – 5 ซม. น้ำหนักผลประมาณ 50 -60 กรัม เมื่อสุกผลจะมีสีม่วงเข้ม มีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าชนิดผลสีเหลือง นิยมนำมารับประทานผลสด
  2. ใช้แปรรูป ได้แก่ชนิดผลสีเหลือง ซึ่งจะมีขนาดโตกว่าผลสีม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม. น้ำหนักผลประมาณ 80 – 120 กรัม ผลสุกมีสีเหลืองและเปลือกหนา เนื้อในให้น้ำคั้นที่มีความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง มีรสเปรี้ยว จึงเหมาะสมสำหรับการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มน้ำผลไม้

เสาวรสชนิดผลสีเหลือง พบว่ามีความทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัส และทนต่อไส้เดือนฝอย ได้ดีกว่าพันธุ์สีม่วง จึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งหรือต่อกิ่งของพันธุ์สีม่วง นอกจากนี้การผสมเกสรก็ต่างกันระหว่างทั้ง 2 ชนิด กล่าวคือชนิดผลสีม่วงสามารถผสมตัวเองได้ ดอกจะเริ่มบานในตอนเช้า ส่วนพันธุ์สีเหลือง จะเริ่มบานตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติด ต้องผสมเกสรข้ามต้น ส่วนมากจะมีแมลงภู่ช่วยผสมเกสร การผสมเกสรโดยใช้มือช่วย จะทำให้ผลมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักผลจะสูงกว่าผลที่ได้รับการผสม โดยธรรมชาติ

saowarospon

การขยายพันธุ์
การปลูกเสาวรสเพื่อการค้า หรือส่งโรงงานส่วนใหญ่ปลูกโดยการใช้เมล็ด ซึ่งเป็นเมล็ดที่เหลือจากการผลิตน้ำผลไม้ เมล็ดที่นำไปเพาะจะงอกภายในระยะเวลา 2 – 4 สัปดาห์ หากเก็บไว้นาน ความงอกจะลดลง เมื่อนำไปปลูกในแปลง 4 – 5 เดือน เสาวรสจะเริ่มออกดอกและติดผล ระยะจากการออกดอกและติดผล จนเก็บเกี่ยว ใช้เวลาประมาณ 50 – 70 วัน การขยายพันธุ์โดยการปักชำและเสียบยอดจะทำให้ได้ต้นพืชที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์และให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกโดยใช้เมล็ด การเสียบยอดนิยมใช้กับพันธุ์สีม่วงโดยใช้พันธุ์สีเหลืองเป็นต้นตอ

saowaroskla

พื้นที่ปลูก
เสาวรสสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ โดยพันธุ์สีม่วงสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีบนที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ส่วนพันธุ์สีเหลืองจะเจริญได้ดีในที่ราบต่ำ ในเขตที่ฝนตกชุก เสาวรสจะติดผลไม่ดีนัก เนื่องจากละอองเกสรจะถูกทำลายโดยน้ำฝน พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด

การปรับปรุงดินและการใส่ปุ๋ย
เสาวรส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินหลายชนิด ไม่ควรปลูกในดินที่ระบายน้ำเลว ชนิดผลสีเหลืองจะทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศและปรับตัวได้ดี มีผลผลิตสูง กว่าชนิดผลสีม่วง เสาวรส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่เป็นกรด แต่ถ้าค่าความเป็นกรด ( pH ) ต่ำกว่า 5.5 ควรจะใส่ปูนขาวลงไปด้วย การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลักครบ โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง / ปี และควรเพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนให้แก่พืช ในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชสร้างทรงพุ่มและมีการสะสมอาหาร ก่อนการออกดอกติดผล

ระบบการปลูก
ทรงต้นและการทำค้าง : ระยะปลูก มีตั้งแต่ 3 – 6 เมตร เนื่องจากเสาวรสมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยจึงควรมีการทำค้างแบบซุ้ม จะทำให้ได้ผลผลิตที่สูงกว่าการทำค้างแบบอื่น เกษตรกรต้องลงทุนทำค้างในปีแรกและเนื่องจากเสาวรสจะออกดอกในกิ่งที่แตกใหม่เท่านั้น จึงต้องมีการตัดแต่งกิ่งในปีต่อมา หลังจากการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว ( ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ) เพื่อบังคับให้แตกยอดใหม่ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตสูงกว่าเดิม และสูงกว่าต้นที่ไม่ได้ตัดแต่งกิ่ง แต่ไม่ควรตัดหนักเกินไป เพราะจะทำให้ต้นโทรมแห้งตายได้ในภายหลัง

saowaroskang

การให้น้ำ
เสาวรสมีความต้องการน้ำมากในช่วงของการออกดอก ติดผลไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ในพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝนเสาวรสจะให้ผลผลิตมาก ตั้งแต่เดือน กันยายน – ธันวาคม หลังจากนั้นจะกระทบแล้ง ผลเสาวรสจะร่วงหล่นก่อนแก่ และชะงักการเจริญเติบโต พอเข้าฤดูฝนก็จะแตก กิ่งก้าน สาขาใหม่ ถ้าหากสามารถให้น้ำแก่เสาวรสได้ตลอดปี จะทำให้มีผลผลิตทยอยออกทั้งปีได้ เสาวรสเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นจึงควรมีการคลุมโคนต้นในช่วงฤดูแล้ง เพื่อรักษาความชื้นในดิน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด
โรคร้ายแรงที่พบในแหล่งปลูกใหญ่ๆคือ โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะและติดต่อได้ ถ้าใช้เครื่องมือตัดแต่งกิ่งร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีพืชอาศัยตระกูลแตงและฟักทอง โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงในช่วงอากาศเย็น ทำให้ใบด่าง หงิกและงอ ขนาดของผลเล็กลง โรคสำคัญอีกโรคหนึ่งคือ โรคจุดสีน้ำตาลเกิดจากเชื้อรา มีอาการใบร่วงและจุดสีน้ำตาลที่ผล ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารประกอบ
คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แมลงศัตรูที่พบได้แก่ แมลงวันทอง ซึ่งจะเจาะผลอ่อนให้เป็นรูเล็กๆ และอาจทำให้ผลเหี่ยวและร่วงหล่นไป

การเก็บเกี่ยว
เสาวรสที่ต้องนำผลผลิตเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป ปกติจะเก็บเกี่ยวผลที่สุกแก่และร่วงหล่นลงดิน ทุก 2-3 วัน โดยผลมีอายุ 50-70 วัน หลังดอกบานหรือถ้าสามารถเก็บผลจากต้นเมื่อผลเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองหรือสีม่วงแล้ว 25 % และสามารถเก็บไว้ได้นาน 1 สัปดาห์ โดยไม่มีผลเสียต่อคุณภาพน้ำคั้น แต่จะมีกลิ่นแรงกว่าผลที่เก็บจากต้นใหม่ๆ

เครื่องดื่มจากเสาวรส
ส่วนผสม

  • เสาวรสสุก 2-3 ผล
  • น้ำต้มสุก 2 ถ้วย
  • น้ำเชื่อม 1/2 ถ้วย
  • เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. นำผลเสาวรสสุกล้างให้สะอาด
  2. ผ่า 2 ซีกและใช้ช้อนเอาเมล็ดและส่วนที่เป็นน้ำสีส้มออกให้หมดจากเนื้อผล
  3. เติมน้ำสุกและคั้นกรองด้วยกระชอนกับ ผ้าขาวบาง เพื่อแยกเอาเมล็ดและเส้นใยออก
  4. เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมรสตามชอบ

saowarospar saowarosnamd saowaroskan

คุณค่าทางโภชนาการ
ส่วนประกอบทางเคมีของน้ำเสาวรส ประกอบด้วยน้ำประมาณ 76-85% ของแข็งที่ละลายได้ประมาณ 17.4% คาร์โบไฮเดรตประมาณ 12.4% กรดอินทรีย์ประมาณ 3.4% นอกจากนั้นมีแคโรทีนอยด์ สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบที่ให้กลิ่น วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น