เหยียบกะลานวดฝ่าเท้า

8 มกราคม 2559 สุขภาพพึ่งตน 0

กะลานวดฝ่าเท้า ใช้สำหรับนวด บริหารฝ่าเท้า โดยการใช้เท้าเหยียบ ลงบนกะลาให้อุ้งเท้าสัมผัสกับยอดแหลมของกะลา ทำครั้งละ 10-20 นาที วันละ 1-2 ครั้ง จะเป็นการบริหารคลายเส้น ช่วยลดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ช่วยให้ผ่อนคลาย ร่างกายสดชื่น และนอนหลับ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้

kalayeabs

การบริหารร่างกายโดยใช้กะลามะพร้าว
อุปกรณ์ กะลามะพร้าวซีกตัวผู้ คือตรงกลางเป็นรู โดยมีลักษณะส่วนยอดเต้าแหลมหรือป้านต่างกัน ส่วนสูงของกะลาควรเลือกขนาดความสูงใกล้เคียงกัน ขนาดอาจเล็กใหญ่ก็ได้ แต่ทั้ง 2 ซีก ควรมีขนาดไม่ต่างกันมากนัก ส่วนขอบเรียบเสมอกันโดยรอบ

ท่าที่ 1 ท่าข้อแกร่ง
วางกะลา 2 ใบ บนพื้นราบ ห่างจากหลักยึดพอประมาณ ยืนเหยียบกะลาให้หลังตรง มือทั้งสองข้างจับหลักยึด เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เลื่อนสันเท้าทั้งสองลงมาที่พื้นราบ โดยให้อุ้งเท้าและปลายเท้าแนบกับกะลา นับ 1-5 ทำสลับกันเช่นนี้จนครบ 3 นาที

ท่าที่ 2 ท่าขาแข็ง
วางกะลา 2 ใบ บนพื้นราบ ห่างจากหลักยึดพอประมาณ ยืนเหยียบกะลาโดยให้หลังตรง มือทั้งสองข้างจับหลักยึด ยืนเขย่งปลายเท้าบนกะลา นับ 1-5 กลับมาในท่าพัก โดยอุ้งเท้าและปลายเท้าแนบกับกะลา

ท่าที่ 3 ท่าผ่อนคลาย
วางกะลา 2 ใบ บนพื้นราบ ห่างจากหลักยึดพอประมาณ ยืนเหยียบกะลาโดยให้หลังตรง มือทั้ง 2 ข้างจับหลักยึด เดินย่ำไปบนกะลาให้ทั่วฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง จุดไหนเจ็บให้กดแช่ไว้เท่าที่จะทนได้ จนครบ 3 นาที

ท่าที่ 4 ท่าสบายขา
วางกะลา 2 ใบ บนพื้นราบ ห่างจากหลักยึดพอประมาณ ยืนเหยียบกะลาโดยให้หลังตรง มือทั้ง 2 ข้างจับหลักยึด ใช้ส้นเท้าขวานวดบนหลังเท้าซ้าย นับ 1-5 หลังจากนั้นวางเท้าขวาบนกะลาเช่นเดิม ทำสลับอีกข้างเช่นเดียวกัน จนครบ 3 นาที

ท่าที่ 5 ท่ากะลาไชโย
วางตำแหน่งกะลาจำนวน 5 ใบ โดยให้กะลาจำนวน 4 ใบ วางเป็นคู่ขนานใยระยะพอประมาณสำหรับนั่ง กะลาใบที่ 5 วางที่ส่วนยอดตรงกลาง นั่งลงบนกะลาโดยให้ก้นกบอยู่บนกะลาส่วนยอดโคนขาใต้ก้นกบอยู่บนกะลาคู่บน ข้อพับเข่าอยู่ตรงกลางคู่ล่าง ขาข้างหนึ่งเหยียดตรง ขาอีกข้างไขว้มาตรงที่ต้นขาข้างที่เหยียบตรง พร้อมใช้มือทั้ง 2 ข้างนวดตามเท้า น่อง และขาประมาณ 1 นาที ทำ 2 ข้างสลับกัน จนครบ 3 นาที

kalayeabdern

อาจารย์วิสุทธิ์ โนจิตต์ หัวหน้าศูนย์ศึกษาผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท กล่าวว่า จากการที่วิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาลงไปเรียนรู้ในชุมชนื เพื่อศึกษาถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านว่ามีการพึ่งพาตนเองอย่างไรในด้านสุขภาพ โดเฉพาะคุณยายวิรุฬที่มีอาการของโรคไต มือเท้าบวมปวดเมื่อยตามร่างกาย และใช้วิธีผ่อนคลายด้วยการใช้กะลามานวดตัว ซึ่งเรียนรู้และมีรูปแบบของตนเองทั้งท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน หรือการนำกะลามะพร้าวมานวดศรีษะ นวดท้องแล้วทำให้สุขภาพดีขึ้น ถือได้ว่าเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ควรได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ จึงได้มีการศึกษาทำวิจัยทำเป็นคู่มือเผยแพร่ประกอบด้วย 12 ท่าพื้นฐาน ทั้งท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการแพทย์แผนไทยวิเคราะห์ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อร่างกาย

พบว่าการนวดตัวด้วยกะลาทั้ง 12 ท่า พื้นฐาน มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น เนื่องจากจะไปช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนดีขึ้น ช่วยรักษาและป้องกันการปวดเมื่อยต่างๆ ตามร่างกายและได้จัดเข้าไว้ในหลักสูตรหนึ่งของการเรียนการสอนในวิทยาลัย ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสืบทอดและเผยแพร่ต่อไป ให้เป็นทางเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุหรือของผู้ที่สนใจ

 

kalayeabsa

สำหรับการฝึกนวดตัวเองด้วยกะลามะพร้าวจะต้องเลือกใช้กะลามะพร้าวตัวผู้ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าส่วนหน้าลิงที่แหลมมากกว่าด้านอื่น

  • โดยเริ่มจากนำกะลา มือจับที่ยึดให้แน่นหลังตรงใช้ฝ่าเท้าเหยียบบนกะลาให้เต็มพร้อมกัน 2 ข้างหรือข้างเดียวก็ได้ ถ้าเหยียบแล้วเจ็บที่จุดไหนให้หยุด แล้วกดทาจุดนั้นแช่นิ่งไว้นับหนึ่งถึงสิบแล้วเหยียบต่อ
  • ท่าที่ 2 นวดหลังเท้า ใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบบนกะลา แล้วใช้ส้นเท้าอีกข้างหนึ่งนวดหลังเท้าที่เหยียบกะลากดแน่นตั้งแต่ข้อต่อนิ้วเท้าไปจนถึงหลังเท้า จุดไหนที่รู้สึกเจ็บให้กดแช่นิ่งไว้นับหนึ่งถึงสิบแล้วเปลี่ยนไปจุดอื่น นวดทั้ง 2 ข้าง ทำให้ได้รวมกัน 2 นาที
  • ท่าที 3 นวดหน้าแข้งดัดขา เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 2 โดยใช้ส้นเท้าข้างที่ไม่ได้เหยียบกะลานวดไปตามแนวหน้าแข้ง กระดูกหน้าแข้งด้านนอกขาที่เหยียบกะลา ใช้ส้นเท้ากดแช่ในแต่ละจุด ไล่ตั้งแตร่ข้อเท้าจนถึงเหนือเข่าแล้วเปลี่ยนข้าง
  • ท่าที่ 4 น่องตึง ให้ส้นเท้าชิดพื้นอุ้งเท้าแนบกับกะลาหลังตรงเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยจะรู้สึกปวดและตึงบริเวณน่อง ให้นิ่งอยู่ในท่านั้นนานนับหนึ่งถึงสิบ แล้วเอนตัวด้านหลังจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำอย่างน้อย 5รอบ
  • ท่าที่ 5 เขย่งเท้าขึ้นเหยียบกะลา เกร็งข้อเท้าและดันตัวให้ปลายเท้าทั้ง 2 ข้างเขย่งอยู่บนกะลา ให้เกร็งข้อรเท้าอยู่นิ่งๆ นานนับหนึ่งถึงสิบ แล้วผ่อนลงมาให้อุ้งเท้าอยู่ระนาบเดียวกับพื้นนับหนึ่งถึงห้าแล้วทำซื้ออย่างน้อย 5 รอบ
  • ท่าที่ 6 ท่านั่งก้มตัวนั่งชิดพื้นเหยียดเขา วางส้นเท้าบนกะลาข้างละใบโน้มตัวข้างหน้าพร้อมกับเหยียดมือออกไปแตะปลายเท้า ทำเท่าที่ความสามารถจะทำได้ หยุดนิ่งนานนับถึงสิบแล้วกลับมานั่งตรง ทำให้ได้ 5 รอบ
  • ท่าที่ 7 นั่งกะลา 2 ใบ นั่งทับกะลาให้อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางก้น หลังตรง นั่งแช่นิ่งๆ นานนับหนึ่งถึงสิบแล้วจึงขยับเปลี่ยนจุดนวด ใช้มือยันพื้นค่อยๆ ขยับกันถอยหลังโดยให้กะลาอยู่กับที่ ห่างจากจุดแรก 3 นิ้วมือ ใช้มือกดที่หัวเข่า ก้มตัวไปข้างหน้านังหนึ่งถึงสิบแล้วเลื่อนจุดมาที่จุดกึ่งกลางขาเอามือกดเข่า โน้มตัวไปข้างหน้านับหนึ่งถึงสิบ
  • ท่าที่ 8 นั่งกะลา 3 ใบ กะลาใบแรกนั่งทับให้เหนือกระดูกก้นย้อยเล็กน้อยอีก 2 ใบให้นั่งตรงจุดกึ่งกลางก้น เอามือขยับให้เหมาะและรู้สึกสบายขณะนั่งเอาเท้าข้างใดข้างหนึ่งขึ้นมาไขว่ห้าง เอามือหมุนนิ้วเท้าไปมาทุกนิ้ว นิ้วละ 10 รอบ แล้วหมุนข้อเท้า 10 รอบ ทำทั้ง 2 ข้าง
  • ท่าที่ 9 การนอนกะลา 2 ใบ ใช้กะลา 2 ใบ วางตามจุดข้างกระดูกหลังตรงเอวข้างละใบ นอนราบนับหนึ่งถึงสิบแล้วเลื่อนกะลาเปลี่ยนจุดให้สูงขึ้นไปอีก 3 นิ้ว นอนทับนานนับหนึ่งถึงสิบแล้วเลื่อนกะลาเปลี่ยนจุดให้สูงขึ้นไปอีก 3 นิ้วมือตรงใต้สะบักนอนราบนับหนึ่งถึงสิบ
  • ท่าที่ 10 นอนกะลา 5 ใบ ใช้กะลา 5 ใบวางในตำแหน่งข้างสะบักซ้ายขวาอย่างละใบที่ข้างกระดูกหลัง ตรงเอวซ้ายขวา หนุนศรีษะ 1 ใบ นอนราบขยับให้พอดี นอนนิ่งนานนับหนึ่งถึงสิบ ขยับกะลาคู่ที่อยู่ข้างสะบัก นวดรอบสะบักนานแต่ละจุดนับหนึ่งถึงสิบ
  • ท่าที่ 11 นอนกะลาเหยียดแขน นอกทับกะลา 2 ลูก วางข้างกระดูกสันหลังตรงเอว อีกคู่วางที่ข้างสะบักซ้ายขวาอีกลูกหมุนศรีษะเหมือนนอกกะลา หายใจเข้ายาวๆ พร้อมกับยกมือขึ้นให้สุดเหนือศรีษะ เอามือวางลงข้างตัวพร้อมกับหายใจ ออกทำ 10 รอบ
  • ท่าที่ 12 กะลานวดท้อง ให้นั่งขัดสมาธิ ใช้กะลาใบเดียวเอาด้านแหลมกดเหนือสะดือ 3 นิ้วมือ กดลงไปนับหนึ่งถึงสิบแล้วผ่อน เลื่อนลงมาให้เหนือสะดือเล็กน้อย กดลงไปแล้วนับหนึ่งถึงสิบแล้วผ่อน นวดให้รอบสะดือ ทำอย่างน้อย 2 รอบ ซึ่งท่านี้จะช่วยขับลมในช่องท้องได้เป็นอย่างดี

kalayeabdr

การนวดตัวเองด้วยกะลาใช้ว่าจะฝึกได้ทุกคน เพราะการฝึกต้องขึ้นไปเหยียบหรือนอนทับบรกะลา หากใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคไขข้อหรือโรคกระดูก รวมทั้งคนที่เป็นตาปลาที่เท้า ก่อนฝึกควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน ที่สำคัญการฝึกควรมีผ้ารองหรือที่ยึดจับให้แน่น เช่นขอบหน้าต่าง เสา หรือราว เพื่อป้องกันการลื่นล้ม และเมื่อเริ่มต้นฝึกก็ไม่ควรหักโหม แต่เมื่อชำนาญแล้วก็สามารถดัแปลงจากท่าพื้นฐานได้ตามต้องการ และไม่จำเป็นต้องฝึกให้ครบทุกท่า หากแต่ฝึกได้ตามความถนัดและตามสภาพของร่างกาย

ที่มา
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 273

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สุขภาพพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น