เห็ดตะไคลมีกลิ่นหอม เนื้อแน่นกรอบ รสออกหวานนิดๆ นำไปย่างจิ้มน้ำพริก ยำเห็ด ต้มยำเห็ด แจ่วเห็ดตะไคล หรือผัดเห็ดตะไคล เห็ดตะไคลพบได้ท้องถิ่นตามธรรมชาติ บริเวณหนองน้ำ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง แถบภาคอีสาน เหนือ
ชื่อท้องถิ่น: เห็ดตะไคล เห็ดตะใค เห็ดใค เห็ดตะใคร่ เห็ดใคร่ หรือเห็ดไค
ชื่อสามัญ: เห็ดตะไคลเขียว
ชื่อวิทยาศาสตร์: Russula virescens (schaeff.) fr.
ลักษณะ
เห็ดไค มีลักษณะ คล้ายเห็ดก่อ ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม ชอบขึ้นตามป่าที่เปียกชื่นเวลาฝนตกใหม่ๆแหล่งธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นต่างๆส่วนมากทางภาคอีสาน เห็ดไคส่วนมากนิยมมาประกอบอาหารทางอีสานเรียกว่า เห็ดไค ทางเหนือเรียกเห็ดหล่ม ทางภาคกลางเรียกเห็ดตะไคร เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาติคนท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะแก้โรคต่างๆได้มากมายตามความเชื่อของคนโบราณซึ่งได้ชืบทอดกันมา
หมวกขนาด 3-12 ซม.ดอกอ่อนโค้งเป็นรูปทรงกลม มีสีเขียวออกเหลือง สีเขียวหม่น ผิวเรียบแล้วปริแตกเป็นเกล็ดเห็นเนื้อภายในสีขาวเมื่อแก่ ดอกบานริมขอบจะโค้งงอลงแล้วยกขึ้นเมื่อบานเต็มที่ ริมขอบจะแตกเป็นร่อง ตรงกลางเว้าตื้น ครีบถี่ สีขาวหรือขาวนวล ยึดติดก้าน ก้านสีขาว รูปทรงกระบอก ขนาด4-6*1-2 ซม. ผิวค่อนข้างเรียบ โคนก้านจะเรียวกว่าเล็กน้อย
วิธีทำซุปเห็ดไค หรือ แจ่วเห็ดไค
ที่มา ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
ป้ายคำ : เพาะเห็ด