เห็ดตับเต่าจะขึ้นเองตามธรรมชาติจึงนับได้ว่าเป็นเห็ดที่ปลอดสารพิษ (แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการเพาะเห็ดตับเต่าขายแล้ว) หน้าตาของเห็ดชนิดนี้จะมีสีออกน้ำตาล น้ำตาลเข้ม ไปจนถึงสีดำ
เห็ดตับเต่า หรือ THAEOGYROPORUS PORENTOSUS (CBERK. ET BROOME) MC. NABB. อยู่ในวงศ์ BOLETACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ หมวกเห็ดทรงกระทะคว่ำ เมื่อบานเต็มที่หมวดเว้าเล็กน้อย ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มอมเหลือ ดูคล้ายเป็นสีดำ ด้านล่างหมวก มีณุกลมเล็ก ๆ สีเหลือเนื้อในเห็ดเมื่อผ่าถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ก้านหมวกอวบใหญ่ ยาว 4-8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. โคนก้านหมวกโป่งเป็นกระเปาะสปอร์ ค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ มีชื่อเรียกอีกคือ เห็ดห้า (ภาคเหนือ) เพราะจะขึ้นบริเวณใต้ต้นหว้า ซึ่งชาวเหนือเรียกต้นหว้าว่า ต้นห้า เห็ดตับเต่า มีขายเฉพาะฤดู ตามแหล่งขายพืชผักพื้นบ้านทั่วไป
เห็ดตับเต่า มีชื่อสามัญว่า Bolete หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Thaeogyroporus porentosus (berk. ET. Broome) อยู่ในวงศ์ Boletaceae ทางภาคเหนือจะเรียกกันว่า เห็ดห้า เพราะจะขึ้นบริเวณใต้ต้นหว้า ซึ่งชาวเหนือเรียกต้นหว้าว่า ต้นห้า ส่วนในภาคอีสานเรียกว่า เห็ดน้ำผึ้ง ถิ่นกำเนิดของเห็ดตับเต่าจะพบในแถบประเทศทีมีอากาศชื้น พบได้ในป่าทั่วไปตามภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ หรือจะพบในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
หมวกเห็ดเป็นรูปกระทะคว่ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-30 ซม. ดอกอ่อนมีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลเมื่อบานเต็มที่กลางหมวกเว้าเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองอ่อนปริแตกเป็นแห่งๆ ด้านล่างของหมวกมีรูกลมเล็กๆ สีเหลืองปากรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันเมื่อบานเต็มที่เนื้อจะเปลี่ยนเป้นสีเหลืองอมเขียวหม่นและเขียวหม่นอมน้ำตาล ก้านอวบใหญ่สีน้ำตาลอมเหลือง โคนก้านโป่งเป็นกระเปาะบางส่วนนูนและเว้าเป็นร่องลึกเมื่อตัดหรือหั่นถูกอากาศ เนื้อเห็ดตับเต่าจะสีน้ำเงินอมเขียว
ว่ากันว่าเห็ดนั้นเป็นอาหารสุขภาพชนิดหนึ่ง กินแล้วได้ประโยชน์ต่อร่างกาย (ยกเว้นจะไปกินเห็ดพิษเข้า) ให้พลังงาน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุต่างๆ ส่วนสรรพคุณทางยาของเห็ดตับเต่านั้นเป็น ยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง บำรุงตับ บำรุงปอด กระจายโลหิต และดับพิษร้อนภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยบำบัดอาการปวดหลัง ปวดข้อ ปวดเส้นเอ็นและกระดูก ป้องกันการชักกระตุก คนจีนใช้เป็นสมุนไพร แก้เคล็ดคัดยอก และปวดกระดูก
ในการปรุงเป็นอาหารส่วนใหญ่ นิยมใช้ทั้ง ดอกเห็ด ทำเป็นแกงลาวใส่ยอดฟักทอง หน่อไม้สด ใส่ใบแมงลักเพิ่มกลิ่นหอมเป็นชูรสให้ชวนรับ ประทานยิ่งขึ้น สำหรับเครื่องประกอบจะมีพริกขี้หนูสด หรือพริกขี้หนูแห้ง หอมแดง ข่า ตะไคร้ อย่างละ 1 แว่น โขลกให้ละเอียดต้มกับน้ำจนเดือดแล้วผ่าเห็ดตับเต่าครึ่งซีก ล้างน้ำ ให้สะอาดใส่ลงหม้อ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ถ้าไม่กินปลาร้า ใช้เกลือแทน น้ำตาลทรายเล็กน้อยโรยด้วยใบแมงลักตามที่กล่าวข้างต้น ตักรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ เนื้อเห็ดจะซับน้ำแกงกรุบอร่อยมาก สามารถใส่เห็ดเผาะ หรือเห็ดฟางลงไปทำเป็นแกงเห็ดรวมเพิ่มความอร่อยได้เต็มรูปแบบ
คุณค่าทางอาหารเมื่อรับประทานเห็ดตับเต่า 100 กรัม จะให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
ข้อสำคัญการจะเก็บเห็ดมากินนั้น ไม่ว่าจะเป็นเห็ดชนิดใดก็ตาม จะต้องให้แน่ใจได้ก่อนว่าไม่ใช่เห็ดพิษ เพราะในช่วงฤดูฝนไปจนถึง ฤดูหนาวนั้น เป็นช่วงที่มีเห็ดหลากหลายสายพันธุ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยเฉพาะ ในป่า ในไร่ หรือในสวน ซึ่งก็มีทั้งที่กินได้และไม่ได้ โดยเฉพาะเห็ดพิษบางชนิดก็มีสีสันสวยงามล่อตาล่อใจ บางชนิดก็มีหน้าตาคล้ายคลึงกับเห็ดที่ขายตามตลาดทั่วไป ซึ่งการจะพิสูจน์ได้ว่าเห็ดชนิดใดเป็นพิษหรือไม่ ต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น
มีวิธีการง่ายๆคือ หาต้นไม้ที่เห็ดตับเต่าหรือเห็ดห้าสามารถไปอาศัยเจริญเติบโตอยู่ที่รากและ สร้างดอกเห็ดได้ ต้นไม้เหล่านี้มีอยู่หลายชนิดเช่น หว้า ชมพู่ ลำดวน แค ทองหลาง โสน รำเพย ยี่โถ ชบา ชมพูพันธุ์ทิพย์ มะไฟ มะม่วง มะกอกบ้าน มะกอกน้ำ น้อยหน่า สะแกนา ส้มโอ ไทร ยางนา และพันธุ์ไม้ตระกูลยาง ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วงหิมพานต์ ยางพารา ฯลฯหลังจากนั้นใส่เชื้อเห็ดลงไปในส่วนของรากต้นไม้เหล่านั้น ทำได้หลายวิธีตามสะดวกและตามฤดูกาล ดังนี้
การเข้าอยู่อาศัยของใยเห็ด จะเจริญดีมากที่รากอ่อน ปลายราก แต่เราใส่เชื้อที่โคนราก เชื้ออาศัยโคนราก แล้วค่อยๆลามไปทั่วปลายราก เชื้อเห็ดจะใช้เวลาพัฒนา 1-3 ปี ต้นไม้ผ่านแล้งพอได้ความชื้นจะแตกใบอ่อน รากอ่อน เส้นใยเห็ดก็รวมตัวเกิดเป็นดอกเห็ด หลังจากนั้นตราบใดที่ต้นไม้ยังไม่ตายก็จะเกิดเห็ดได้ทุกปี ต้นยางนาอายุยืนมาก จึงสามารถเก็บเห็ดได้ชั่วลูกชั่วหลาน
การเพาะเห็ดตับเต่าใต้ต้นโสน
ประวัติความเป็นมา
เห็ดตับเต่ามีลักษณะดอกขนาดใหญ่ หมวกเห็ดมน ผิวมันเนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข็ม ก้านโคนใหญ่ เท่าที่พบดอกเห็ดตับเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม มีขึ้นตามธรรมชาติตลอดแนวที่ลุ่มริมคลองโพธิ์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวภาคเหนือและภาคอีสานจะนิยมรับประทาน ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อให้ราคาสูงกิโลกรัมละ 50-70-90 บาท มีความต้องการของตลาดสูงแต่เห็ดที่มีอยู่ในธรรมชาติไม่เพียงพอแก่ความต้อง การของตลาดมีเท่าไรขายหมดในหลายปีที่ผ่านมาชาวบ้าน ได้ลองผิดลองถูกพยายามเพราะเห็ดเต่าขายให้ทันตามความต้องการของตลาด เนื่องจากเห็ดตบเต่าไม่สามารถเพราะปลูกในโรงเรือนเหมือนกับเห็ดทั่วไป
เห็ดตับเต่าจะขึ้นตามธรรมชาติเฉพาะในพื้นที่ลุ่มริมคลองและต้องขึ้นปะปนอยู่ ในป่าโสนเท่านั้น ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้านเฝ้าศึกษาใช้พยายามกันอยู่นานหลายปี จนทราบเคล็ดลับการเพราะปลูกเห็ดตับเต่าวิธีธรรมชาติผสมผสานกับเทคนิค ที่เกิดจากความคิดของชาวบ้าน
สามารถบังคับให้เห็ดตับเต่าออกดอกสร้างกำไรได้สำเร็จเป็นแห่งแรก จากการสังเกตพบว่า เห็ดตับเต่าชอบขึ้นตามที่ลุ่ม ปะปนกับต้นโสนมีปริมาณน้ำฝนตกลงพอสมควร
ชาวบ้านจึงเริ่มด้วยการเก็บเผาวัชพืชตามพื้นที่ลุ่มริมคลองก่อน จากนั้นจะติดตั้งสปริงเกอร์ ให้น้ำสร้างความชื้นสันทัดเพื่อให้เมล็ดต้นโสน ที่จมฝังตามพื้นดินทีมีอยู่ตามธรรมชาติ งอกเจริญเติบโตเป็นป่าโสนเมื่อต้นโสนมีอายุประมาณ 1 เดือนเศษ จะมีความสูงท่วมหัว เป็นช่วงจังหวะที่ชาวบ้านจะเข้าทำความสะอาดกำจัดวัชพืชใต้ต้นโสน ด้วยการวิธีถอนหรือ ถากถางเท่านั้น จะไม่ใช้สารเคมี รอฝนตกลงมาสร้างความชื้นให้เห็ดเจริญเติบโต
ต่อมาชาวบ้านได้ทดลองติดสปริงเกอร์ให้น้ำแทนฝนตก พบว่าได้ผลเกิดคลาด เห็ดเจริญเติบโตออกดอกก่อนกำหนดฝนตก
ปัจจุบันชาวบ้านที่เพราะปลูกเห็ดตับเต่ามีรายได้จากเห็ดตับเต่ามากกว่าทำนำ ทำแปลงเห็ดตับเต่า 1 ไร่ มีกำไรมากและดีกว่าทำนา 50 ไร่ ราคาซื้อขายหน้าแปลงเห็ด กิโลกรัมละ 50-70- 90 บาท เกษตรกรที่ดูแลเอาใจใส่ดีใช้น้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมสม่ำเสมอ
จุดเด่น
เห็ดตับเต่ามีลักษณะดอกขนาดใหญ่ หมวกเห็ดมน ผิวมัน เนื้อแข็ง สีน้ำตาลเข็ม ก้านโคนใหญ่ เท่าที่พบดอกเห็ดตับเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักเกือบ 2 กิโลกรัม มีขึ้นตามธรรมชาติตลอดแนวที่ลุ่มริมคลองโพธิ์ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เคล็ดลับในการผลิต
เทคนิคผลิตเห็ดตับเต่านอกฤดูนี้ลุงออด ได้มาจากคุณลำไพซึ่ง ขั้นตอนการปฏิบัติเริ่มจากการโกยดินที่อยู่ในคลองจะนำเอาเมล็ดต้นโสนที่แช่น้ำอยู่ขึ้นมาด้วยเมล็ดโสนที่แช่น้ำอยู่พอเอาขึ้นมาก็จะขึ้น หว่านปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก (มูลโค มูลไก่) กระจายบางๆ ด้านบนทับทับดินที่ลอกคลองขึ้นมา รดน้ำให้ดินชุ่มชื้นเสมอ เมื่อรดน้ำต่อเนื่อง 10-15 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มแทงดอกขึ้นจากดิน การออกดอกเห็ดจะเร็วหรือช้าขึ้นกับความชื้นในดิน ถ้าดินแห้งเห็ดจะไม่ออกดอกเลย ดอกเห็ดตับเต่านอกฤดูมีคนมาซื้อถึงในสวน ดอกตูม กก.ละ 70-90 บาท ดอกบาน กก.ละ 50 บาท ไร่หนึ่งได้เห็ด 10-20 กก. ห้ามใช้สารกำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะเห็ดจะไม่ออกดอกเลย และมีผลต่อเนื่องอยู่นาน อนึ่งการผลิตเห็ดตับเต่าปีหนึ่งทำได้หลายรุ่น จึงกลายเป็นรายได้หลักไปแล้ว
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
กลุ่มผู้ผลิต : การเพาะเห็ดตับเต่าใต้ต้นโสน
สถานที่ผลิต : บ้านเลขที่ ๑๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๑๖๐
หมายเลขโทรศัพท์ : ๐๘ ๒๙๕๓ ๙๘๑๑
ป้ายคำ : เพาะเห็ด