เห็ดนางนวลเป็นเห็ดในตระกูลนางฟ้า-นางรม มีสีสันที่สวยงาม แต่ด้วยสีสันที่ฉูดฉาดทำให้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเห็ดพิษ เกิดเป็นกลุ่มซ้อนกันบนท่อนไม้ และกิ่งไม้แห้งในป่า กินได้ สามารถเพาะในถุงพลาสติกเหมือนเพาะเห็ดทั่วไปได้ ออกดอกได้ตลอดปี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific classification
ชื่อสามัญอังกฤษ Pleurotus djamor
การจำแนกทางพฤกษศาสตร์
Kingdom: Fungi
Phylum: Basidiomycota
Class: Agaricomycetes
Order: Agaricales
Family: Pleurotaceae
Species: P. djamor
ลักษณะของเห็ดนางนวล
เห็ดนางนวลจะมีหมวกกว้าง 2-5 ซม. คล้ายรูปพัด หรือกรวยตื้นสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีครีมอมชมพู มีขนละเอียดบางๆ หรือเป็นวาวเล็กน้อย คลีบยาวลงไปติดโคน แคบเรื่องถี่ ครีบยาวไม่เท่ากัน ขอบเรียบ ขาวหรือครีม ก้านไม่มี หรือสั้น เนื้อฉ่ำน้ำเมื่อเปียกชิ้นเนื้อเหนียวเมื่อดอกแก่ ชอบอาศัยเป็นกลุ่มซ้อนกันบนท้อนไม้ และกิ่งไม่แห้งในป่า สามารถรับประทานได้ และนำมาเพาะในถุงพลาสติกเหมือนนำมาเพาะเห็ดทั่วไป ออกดอกได้ตลอดปี
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดน้ำตาลในเลือด ปรับสภาพความดันโลหิตให้เป็นปกติ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
สูตรอาหารเห็ดนางนวล
สูตร 1
สูตร2
สูตร3
ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ
การบ่มเชื้อ
เมื่อก้อนเชื้อเย็นแล้ว ใส่เชื้อเห็ดที่ต้องการเพาะลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มึดและอุณหภูมิประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส เพื่อ เร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุง 1-1.5 เดือน เมื่อเส้นใยเดิมเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนเปิดดอกต่อไป
เห็ดนางนวลเป็นเห็ดชอบความชื้นและเย็น อุณหภูมิสำหรับเปิดดอกไม่ควรเกิน 15-32o C รอบของการออกดอกประมาณ 1-2 อาทิตย์ อายุก้อนเชื้อประมาณ 4 เดือน
โรงเรือนสำหรับเปิดดอก
ควรเป็นสถานที่ๆ สอาดรักษาความชื้น และถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ร้อนภายในอาจจะวางชั้นวางเชื้อเห็ดได้ โรงเรือนเปิดดอกควรให้มีขนาดสัมพันธุ๋กันก้อนเชื้อ เพื่อรักษาความชื้นและถ่ายเทอากาศในโรงเรือน
การเปิดถุงเพื่อให้เกิดดอก
นำก้อนเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มถุง คัดเฉพาะที่ไม่มีการปนป้อนมาเปิดในโรงเรือนที่สะอาดมีอากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างพอสมควรโรงเรือนควรเก็บความชื้นได้ดีพอสมควรความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนประมาณ 70-90เปอร์เซน
การเก็บดอก: เก็บเมื่อดอกบานเต็มที่ขอบหมวกยังไม่บานย้วย
ป้ายคำ : เพาะเห็ด