เห็ดกระด้างหรือเห็ดลม เห็ดลมเป็นชื่อ ที่เรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือ เห็ดกระด้าง ในธรรมชาติมักพบขึ้นกับไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง รัง เหียง ตะเคียน และไม้กระบาก เป็นต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus polychrous Lev.
เห็ดลมเป็นชื่อเรียกกันทางภาคเหนือ ในภาคีอานเรียกเห็ดบด หรือเห็ดกระด้าง ในธรรมาชาติมักพบขึ้นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม่ตะเคียน และ ไม้กระบาก เป็นต้น เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองที่รสชาติดี เป็นเห็ดที่มี คลีป หมวดดอกขนาดใหญ่ กว้าง 5-12 เซนติเมตร ก้านสั้น 1-2 เซนติเมตร สีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนดำ มักพบเกิดนขึ้นใน ฤดูร้อน/ฝน ฤดูฝน/หนาว ที่อากาศกลางวันและกลางคืนอุณหภูมิจะต่างกันมากๆ เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่มเมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานข้ามปี เวลานำมาปรุงอาหารก้นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพ ราคาของเห็ดลม จะค่อนข้างสูงกว่าเห็ด ชนิดอื่นๆ แล้วแต่ฤดูกาล
เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพเหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ คือก รุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วยราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่น ๆ
วัสดุอุปกรณ์การเพาะเห็ดที่สำคัญ
การทำถุงก้อนเชื้อ
ควรเริ่มในเดือนกุมภาพันธุ๋ดีที่สุด เพื่อให้ทันช่วงที่อุณหาภูมิเหมาะสมกับการเจริญเติมโตของเห็ดบด การทำถุงก้อนเชื้อจะใช้ขี้เลื่อยยางพาราเป็นวัสดุเพราะ โดยใช้วัสดุอาหารอื่นๆผสมตามสูตร ดังนี้
สูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเห็ดกระด้าง :
สูตรที่ 1
** ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิดให้เข้ากัน ( หรือเพิ่ม น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม) ผสมน้ำ ปรับความชื้น 50-55 เปอร์เซ็นต์
สูตรที่ 2
** ผสมส่วนผสมทั้ง 3 ชนิด หมักกับน้ำประมาณ 2-3 เดือน กลับกอง ประมาณ 3-4 ครั้ง นำไปผสมกับรำละเอียด 3 กิโลกรัม (หรือเพิ่มน้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม)
** ปรับความชื้นประมาณ 50-55 เปอร์เซ็นต์
สายพันธุ์เห็ดกระด้าง
เบอร์ 1 ขนาดดอกบานเต็มที่กว้าง 10-15 ซม . สีน้ำตาลเข้ม อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยอยู่ระหว่าง 30-32 เซลเซียส ให้ผลผลิตเฉลี่ย 60 กรัมต่อวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม การออกดอกง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ
วิธีบรจุและรึ่งก้อนเชื้อ
การบ่มพักเส้นใย
เส้นใยที่เจริญเติบโตในถุงเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม เส้นใยใช้ประมาน 30-35 วัน จึงจะเดินเต็มถุงเพาะ เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วต้องพักบ่มเส้นใยโดยให้เส้นใยสีน้ำตาล โดยเฉลี่ยนจะใช้เวลาประมาณ 80-90 วัน จึงนำไป เปิดดอกได้ โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือน ที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ที่ 38-35 องศาเซลเซียส
การเปิดถุงและการกระตุ้นให้เกิดดอก
โรงเรือนเปิดดอก
โรงเรือนเปดิดอกเห็ดบดควรใก้มีอแสง ผ่านเข้าภายในโณงเรือนได้ประมณ 60-70% มีช่องเปิด/ปิด สำหรับอากาศถ่ายเทอาจใช้ตาค่ายำรางแสงมุงฟลังคา และด้านข้าง ในฤดูฝนมึงหลังคาทับด้วยหญ้าคาหรือวัสดุกันน้ำ
มีเกษตรกรที่ชำนาญการเพาะเห็ดลมในภาคอีสาน นิยมกระตุ้น ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอโดยปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเท ียงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจตายได้ หากอุณหภูมิขึ้นสูงมาก ก็จะระบายความร้อนโดยการรดน้ำด้วย สปริงเกอร์ ส่วนในเวลากลางคนจะเปิดโรงเปิดดอก ให้ได้รับความเย็นและอากาศ ถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้สนใจเห็ดลม ควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ
นอกจากนี้เกษตรกรบางราย อาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่ม แล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองไว้ 2-3 วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดกระด้างแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน 15-20 วันในแต่ละรุ่น
การเก็บผลผลิต
การเก็บดอกเห็ดในระยะที่ดอกเห็ด มีอายุ 2-3 วันหรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่ได้ ราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือแห้ง ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 100-250กรัม/ถุง เก็บได้ในระยะเวลา 100-120 วัน
ควรเก็บดอกขณะที่หมวกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 เซนติเมตร และเก็บส่วนต่างๆ ของดอก ให้หลุดออกจนหมด เพื่อป้องกันการเน่าเสียจากเศษหรือส่วนของดอกเห็ดที่เหลือติดค้างอยู่ที่ก้อนเชื้อ ขนาดของดอกเห็ดที่เก็บขึ้นกับความต้องการของผู้เพาะ ดอกเห็ดอ่อนจะมีราคาสูงกว่าดอกเห็ดที่บานเต็มที่ และมีความเหนียวน้อยกว่าเห็ดบาน
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกเลยระยะดังกล่าว จะทำให้ดอกเห็ดทีได้เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ที่มา กลุ่มงานจุลชีววิทยาประยุกต์ กรมวิชาการเกษตร
ป้ายคำ : เพาะเห็ด