เห็ดหอมเป็นเห็ดที่มีรสชาติดี นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายและมีราคาแพง เมื่อนำดอกเห็ดมาผึ่งลม หรือตากแห้ง ดอกเห็ดหอมจะมีกลิ่นหอมและรสชาติพิเศษเฉพาะตัว พบการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออก ตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี จนถึงประเทศแถบอินโดจีน แต่จะไม่พบในประเทศเขตหนาวและเขตร้อน เห็ดหอมเป็นที่นิยมและรู้จักกันดีในลักษณะของอาหารจีนและญี่ปุ่น มาเป็นเวลานานแล้ว คนไทยรู้จักเห็ดชนิดนี้ในรูปของเห็ดแห้งที่นำมาจากต่างประเทศ
ชาวจีนได้เพาะเห็ดหอมมานานประมาณ 800 ปี โดยเพาะเลี้ยงด้วยท่อนไม้ เช่น ไม้โอ๊คและเกาลัด และประมาณ 300 ปีที่ผ่านมาชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาวิธีการเพาะเห็ดหอมโดยเริ่มจากเพาะด้วยท่อนไม้ จนในปัจจุบันถือว่าเป็นประโยชน์ที่มีเทคโนโลยีสูงในการเพาะเห็ดหอม สามารถผลิตเห็ดหอมจำหน่ายเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาได้แก่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวันและเกาหลีตามลำดับ
ชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.
ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ หรือ ชิตาเกะ (Shi-ta-ke) เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่า เฮียโกะ หรือ “เฮียงคุ่ง” หรือ “เฮียงสิ่ง” ภูฏานเรียก ชิชิ-ชามุ อังกฤษเรียกว่าBlack Mushroom หรือ เห็ดดำ ชาวเอเชีย เชื่อกันมาแต่โบราณแล้วว่าเห็นหอมเป็นยาอายุวัฒนะทำให้ร่างกายแข็งแรงช่วย ชะลอความชราได้ คนจีนและคนญี่ปุ่นจึงนิยมรับประทานกันมาก
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์
หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขน รวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม
คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม
เห็ดหอมสด 100 กรัมให้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
เห็ดหอมแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 375 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางด้านเภสัช เนื่องจากพบว่าในเห็ดหอมมีสารประกอบที่มีสรรพคุณด้านเภสัชอยู่หลายชนิด การบริโภคเห็ดหอมจึงช่วยปองกันโรคที่เกิดกับคนได้เช่น
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
สายพันธุ์เห็ดหอม
เห็ดหอมประกอบด้วยหลายสายพันธุ์ กลุ่มบัณฑิตเกษตรก้าวหน้า (2538) ได้กล่าวถึงสายพันธุ์ของเห็ดหอมญี่ปุ่นว่า สามารถแบ่งออกเป็น 5 พันธุ์ ประกอบด้วย
ในทางการค้าทั่วไปแบ่งชนิดเห็ดหอมออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
รูปร่างของเห็ดหอมโดยทั่วไป มีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับเห็ดในอันดับ Agarics แต่จะมีขนรวมเป็นเกล็ดหยาบๆ (scale) สีขาวปกคลุมอยู่ทั่วไปอยู่บนผิวหมวกเห็ดด้านบน ขนละเอียดที่ปกคลุมอยู่นี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อนำดอกเห็ดมาผึ่งลมหรือตากแห้ง ดอกเห็ดมีสีน้ำตาลเมื่อบานเต็มที่ตรงกลางจะเว้าลงเล็กน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดประมาณ 5-10 ซม. แล้วแต่ความสมบูรณ์ของเห็ด เนื้อหมวกเห็ดหนาเล็กน้อยและมีสีขาว ครีบหมวกเห็ดมีสีขาวเรียงเป็นรัศมีรอบก้านดอกซึ่งอาจจะอยู่กึ่งกลางดอก ก้านดอกมีสีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 1-2 ซม. มีเนื้อละเอียดแน่นและเหนียวกว่า
วงจรชีวิตของเห็ดหอม
เห็ดหอมมีวงจรชีวิตแบบ Heterothallic life cycle โดยดอกเห็ดหอมเมื่อเจริญเต็มที่จะสร้างสปอร์เรียกว่า basidiospore ที่มีจำนวนโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid,n) สปอร์ที่ปลิวไปตกอยู่ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะงอกเส้นใยออกมา เส้นใยที่งอกออกมานี้จะมีการแบ่งเซลล์แบบ mitosis และยังคงมีจำนวนโครโมโซมเป็นชุดเดียวอยู่ เส้นใยที่งอกออกมาจากสปอร์เหล่านี้เรียกว่า เส้นใยขั้นที่ 1 (primary mycelium) เมื่อเจริญแล้ว มีการรวมตัวของเส้นใยที่เข้ากันได้ จากต่างสปอร์กันเป็นเส้นใยขั้นที่2
ต่อจากนั้น จะมีการรวมกันของเส้นใยที่เข้ากันได้ (compatible) จากเส้นใยต่างสปอร์กันการรวมตัวกันของเส้นใยจะเกิดขึ้นโดยกราวมตัวของผนังเส้นใยจะเชื่อมต่อกัน แล้วไซโตพลาสซึมในเซลล์จะไหลรวมเข้ากัน เส้นใยที่เกิดขึ้นใหม่จะมีนิวเคลียส 2 อันต่อ 1 เซลล์ นิวเคลียสทั้งสองไม่รวมกัน(รวมเฉพาะไซโตพลาสซึม) เรียกเส้นใยนี้ว่าเส้นใยขั้นที่ 2 หรือ Secondary mycelium เส้นใยขั้นที่ 2 จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการสร้าง clamp connection เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ ต่อมาเส้นใยขั้นที่ 2 จะขยายปริมาณเพิ่มมากขึ้น และรวมกลุ่มกันเป็นก้อนเรียกเส้นใยในระยะนี้ว่าเส้นใยขั้นที่ 3 หรือ tertiary mycelium การสะสมอาหารจะมีมากขึ้นจนเส้นใยพัฒนาไปเป็นดอกเห็ด
เมื่อดอกเห็ดพัฒนาจนถึงระยะแก่จะสร้างฐาน หรือ basidium ที่บริเวณครีบเป็นรูปกระบองนิวเคลียสใน basidium จะรวมตัวกันมีจำนวนโครโมโซมเป็น diploid หรือ 2n แล้วนิวเคลียสจะแบ่งตัวแบบ meiosis ลดจำนวนโครโมโซมลงเหลือครึ่งหนึ่ง ทำให้จำนวนโครโมโซมลดลงเป็น hapliod หรือ n เป็น 4 นิวเคลียส ฐานเบสิเดียมจะสร้างก้านชูสปอร์หรือ sterigma 4 อัน ที่นิวเคลียสทั้ง 4 อัน จะเคลื่อนไปอยู่ที่ส่วนปลายของสเตอริกมา ถือเป็นระยะการพัฒนาเป็นเบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) จำนวน 4 อันสปอร์เหล่านี้จะถูกปล่อยออกไป แล้วพัฒนาเป็นเส้นใยเมื่อได้รับสภาพแวดล้อมเหมาะสม
หมุนเวียนเป็นวงจรชีวิตเช่นนี้ต่อไป วงจรชีวิตของเห็ดหอมเป็นแบบ Heterothallic life cycle เมื่อดอกเห็ดเจริญเติบโต จะมีการสร้าง basidiospore ซึ่งมีจำนวนโครโมโซมเป็นชุดเดียว(n) สปอร์จะงอกเป็นเส้นใยขั้นที่ 1 จะมีการรวมตัวเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 โดยเส้นใยที่เจริญมาจากสปอร์อื่นรวมตัวกันเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 แล้วพัฒนาไปเป็นดอกเห็ดในที่สุด
สภาพแวดล้อมที่เห็ดหอมต้องการ
ขั้นตอนการผลิตเห็ดหอม
การผลิตหัวเชื้อเห็ดหอมใช้วิธีการผลิตคล้ายคลึงการผลิตหัวเชื้อเห็ดนางรม นางฟ้าและเป๋าฮื้อ
ขั้นตอนการเพาะเห็ดหอม
การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ประสบความสำเร็จมาตั้งแต่ พ.ศ 2521 โดยไม่ต้องใช้ท่อนไม้ก่อ(ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมอีกทางหนึ่ง
การเพาะเห็ดหอมมีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1 – 3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้ ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนก็ได้ อาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะก้อนเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้
มีขั้นตอนการผลิตหัวเชื้อโดยสรุป ดังนี้
1. การผลิตเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
ได้จากการเพาะเลี้ยงสปอร์ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของเห็ดหอม บนอาหารวุ้น PDA หรืออาหารเหลว (liquid media)
2. การผลิตหัวเชื้อเห็ด
การผลิตหัวเชื้อหรือ การขยายเชื้อในเมล็ดธัญพืช นิยมใช้เมล็ดข้าวฟ่างเพื่อเป็นอาหารแก่เส้นใยเห็ดหอมให้มีปริมาณมากขึ้น โดยเขี่ยเชื้อเห็ดหอมลงในขวดข้าวฟ่าง เส้นใยเห็ดหอมจะเจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างในเวลาประมาณ 30 วัน
3. การเพาะเห็ดหอม
การเพาะเห็ดหอมหรือการผลิตเห็ดหอม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการ คือ การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก (cultivation on plastic bags) กับการเพาะเห็ดหอมในท่อนไม้ (cultivation on wood logs)
3.1 การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติกประสบความสำเร็จมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 เป็นวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้ท่อนไม้หรือใช้ไม้ที่ควรสงวนและรักษา ช่วยแก้ปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง โดยใช้หลักการที่ว่าเห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยถือเป็นวัสดุที่ใกล้เคียงที่สุดจึงถูกนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยง
4. การเตรียมก้อนเชื้อ (การผสมวัสดุบรรจุและนึ่งฆ่าเชื้อ) วัสดุเพาะประกอบด้วย
สูตรที่1
สูตรที่2
สูตรที่3
เพิ่มดีเกลือ 0.2 0.5 กก. ในสูตรที่2
ผสมวัสดุเพาะและอาหารเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้ง หรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออกส่วนผสมต้องไม่แตกร่อน บรรจุผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อนอัดให้แน่นพอประมาณถุงละ 0.8-1 กก. ใส่คอขวดปิดจุกสำลี หรือฝาครอบกันไอน้ำ นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันด้วยความดันไอน้ำ 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว นาน 30 นาที หรือหม้อนึ่งลูกทุ่งความร้อน 85-100 ํซ นาน 2-4 ชม. แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
5. การเขี่ยต่อเชื้อเห็ด
แกะฝาครอบออก เปิดจุกสำลีและใส่เชื้อเห็ด ควรปฏิบัติในบริเวณที่สะอาดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
6. การบ่มเชื้อ (การบ่มเส้นใย)
ระยะเวลาในการบ่มเส้นใยประมาณ 3-4 เดือน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุเพาะที่ใช้เพื่อให้เชื้อเห็ดหรือเส้นใยเจริญอย่างเต็มที่ ควรรักษาอุณหภูมิในระยะนี้ที่ 25 ํซ อาจมีการให้น้ำภายนอกและภายในโรงเรือนที่ส่วนพื้นที่ของบริเวณเพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 25 ํซ
แสง ช่วยกระตุ้นให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด สร้างแผ่นสีน้ำตาล และเจริญเป็นดอกเห็ดได้เร็วกว่าที่มืด
ความชื้น ในระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศที่ระดับปกติ 70-80 % หลังการบ่มเส้นใย อาจใช้วิธีการกระตุ้นการเกิดดอกโดยใช้น้ำเย็นโดยแช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็นนาน 2 ชม. หรือทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อกระตุ้นการเกิดดอกหรือโดยในช่วงฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำ นำก้อนเชื้อมาแช่น้ำเย็น 10-15 ํซ นาน 15 นาที ก่อนที่จะนำไปกรีดถุงเปิดดอก
7. การเปิดดอก
หลังจากที่เส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว ต้องทิ้งไว้ 1-2 เดือน เพื่อรอให้เส้นใยรัดตัวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลประมาณ 50% ของก้อน ควรกระตุ้นการเกิดดอกแล้วนำไปกรีดพลาสติกออกให้เหลือเฉพาะส่วนก้นถุงประมาณ 1-2 นิ้ว เมื่อก้อนเห็ดสัมผัสกับอากาศจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ที่อุณหภูมิ 25 ํซ และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% จะเกิดดอกเห็ดขึ้นและอีกประมาณ 7-10 วัน จะเก็บผลผลิตได้ หลังการเก็บผลผลิตรุ่นแรกแล้ว ก้อนเห็ดจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน ระยะนี้จะมีการกระตุ้นด้วยความเย็นโดยใช้สปริงเกลอร์รดน้ำแบบฝนเทียม 1 วัน 1 คืน (ช่วงนี้ก้อนเห็ดต้องเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากกว่า 70%) หลังจากนั้นถ้าอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมจะให้ผลผลิตรุ่นที่ 2 ให้ทำการกระตุ้นเช่นเดียวกันในการเก็บผลผลิตในรุ่นต่อๆ ไป ผลผลิตในรุ่นที่ 1 และ 2 ดอกเห็ดมักจะไม่ค่อยสมบูรณ์แต่หลังจากรุ่นที่3 แล้วดอกจะสมบูรณ์ดีผลผลิตดอกเห็ดสดจะได้ 50-400 กรัม ต่อก้อนเชื้อ 0.5-1 กก. ขึ้นอยู่กับความใส่ใจและเทคนิควิธีการของผู้เพาะเห็ด
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ต้องปฏิบัติในระยะการให้ดอก คือการรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมประมาณ 24-30 ํซ การรักษาความชื้นที่ระดับ 70-80% หากที่ดอกเห็ดได้รับลมในขณะดอกเห็ดเจริญจะทำให้หมวกเห็ดแตก ควรมีการระบายอากาศเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญ และลดการสะสมเชื้อโรค หากมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงจะทำให้เห็ดมีก้านดอกยาว และหมวกเห็ดไม่เจริญ หรือมีลักษณะผิดปกติในด้านของแสงนั้น หากมีแสงที่เหมาะสมหมวกเห็ดจะมีสีเข้มไม่ซีดจาง
8. การเก็บเกี่ยว ควรเก็บดอกเห็ดขณะที่หมวกเห็ดยังไม่บานเต็มที่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ ควรลดการให้น้ำก่อนเก็บผลผลิตเพราะจะเน่าเสียหายง่ายหากมีความชื้นในดอกเห็ดสูงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยบรรจุในถุงพลาสติก นำเก็บในตู้เย็นได้นาน 3-4 สัปดาห์
การเพาะเห็ดหอมในท่อนไม้
การเตรียมท่อนไม้
ไม้ที่เหมาะต่อการเพาะเห็ดหอมคือ ไม้ก่อเดือย (Castanopsis acminatissima) และไม้ก่อแป้น(Quercus indica) ที่อยู่ในกลุ่มไม้โอ๊ค เนื่องจากเป็นไม้ในป่าต้นน้ำลำธาร จึงไม่ควรโค่นล้มทั้งต้น ควรใช้วิธีแต่งกิ่งก้านของลำต้นแล้วนำท่อนไม้มาใช้จะเป็นการรักษาป่าต้นน้ำลำธารให้คงอยู่ต่อไปหรือใช้ไม้ชนิดอื่นแทนไม้ก่อได้ ฤดูกาลที่ควรจะตัดกิ่งเพื่อมาใช้เป็นท่อนไม้เพาะเห็ดหอม ควรเป็นระยะท่อนไม้มีการสะสมอาหารมากที่สุดได้แก่ระยะฤดูใบไม้ผลิต้นไม้เริ่มมีการแตกตาและใบใหม่ อาหารสะสมในท่อนไม้จะถูกนำมาใช้ประโยชน์แก่เห็ดหอมได้มากที่สุด ความยาวของท่อนไม้ประมาณ 80-150 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-15 ซม. และไม่ควรให้เปลือกไม้แตกเสียหาย เพราะจะเป็นทางที่เชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายได้
การเตรียมเชื้อเห็ดหอม
หัวเชื้อที่นำมาใช้นิยมใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็ง หากเป็นไม้ในสกุลไม้ก่อจะให้ผลดี หรือใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน ใช้ขี้เลื่อยผสมกับรำละเอียดประมาณ 5-10% แล้วปรับความชื้นให้เหมาะสม นำบรรจุลงในขวดแล้วนึ่งฆ่าเชื้อรอให้ส่วนผสมเย็นลง แล้วเขี่ยหัวเชื้อเห็ดหอมลงไป และนำไปบ่มในร่มที่อุณหภูมิ 24-28 ํซ ส่วนการเพาะเห็ดหอมในท่อนไม้แบบอุตสาหกรรม มีวิธีทำหัวเชื้อจากเนื้อไม้ซึ่งอยู่ในรูปลิ่ม หรือรูปทรงกระบอกชิ้นเล็กๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม. ยาว 2 ซม. นำชิ้นไม้นึ่งฆ่าเชื้อ เมื่อชิ้นไม้เย็นลงจึงใส่เชื้อเห็ดหอมลงไปเพื่อให้เชื้อเจริญเข้าไปในเนื้อไม้
วิธีการเพาะเห็ดหอม
การทำให้เห็ดหอมออกดอก
การกระตุ้นให้เห็ดหอมออกดอกจะกระทำในช่วงฤดูหนาว และมีอุณหภูมิทั่วไปอยู่ในระดับต่ำระหว่าง 12-20 ํซ มีความชื้นสูงและมีร่มเงา มีการปฏิบัติดังนี้
ขั้นตอนการเพาะเห็ดหอมในท่อนไม้
ที่มา : กลุ่มบัณฑิตเกษตรก้าวหน้า (2538)
การจัดวางท่อนไม้สามารถจัดวางได้หลายรูปแบบ วิธีการวางท่อนไม้แบบหมอนรถไฟ (บน) และการวางท่อนไม้แบบเผาข้าวหลาม (ล่าง)
ดอกเห็ดหอมจะทยอยให้ผลผลิต และสามารถเลือกเก็บได้ตามขนาดที่ต้องการ หลังการเก็บผลผลิตควรมีการพักท่อนไม้ให้เส้นใยเห็ดเจริญ และรอการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด
การทำเห็ดหอมแห้ง สามารถทำได้2 วิธีคือ
โรคและศัตรูเห็ดหอม
วิธีกระตุ้นการออกดอกและการพักตัวของเห็ดหอม
เห็ดหอมเป็นเห็ด ที่มีรสชาติดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและใช้เป็นยา
รักษาโรคได้ หลายขนานทั้งในตำรายาไทยและตำรายาจีนแผนโบราณ ตลาดมีความต้องการต่อ เนื่อง สามารถเก็บรักษาไว้ในรูปของเห็ดหอมแห้งที่ยังคงประโยชน์ได้นานแต่ ด้วยความที่เป็นเห็ดที่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเมืองหนาว จึงชอบอุณหภูมิต่ำใน การเจริญเติบโต กระนั้นก็ยังสามารถเพาะปลูกในประเทศไทยได้ช่วงฤดูหนาว ใน พื้นที่ที่มีความหนาวเย็น เช่น ทางภาคเหนือของไทย
เนื่องจากเส้นใยเห็ดหอมจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และจะออกดอกได้ดี ก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิอยู่ในระดับ 15 องศาเซลเซียสเท่านั้น ทั้งยังต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะในการกระตุ้นให้ออกดอก ทั้งก่อนเปิดดอก และ ระยะพักตัวก่อนจะเกิดดอกรุ่นต่อๆไป (ประมาณ 15-30 วัน) ภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส
วิธีกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอม
การที่เห็ดหอมจะสามารถออกดอกในครั้งแรก ก่อนการเปิดดอกและหลังจากการพักตัว จำต้องอาศัยเทคนิคการกระตุ้นก้อนเชื้อเห็ด ด้วยน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส เสียก่อน เส้นใยของเห็ดหอมจึงจะพร้อมพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ และนอกจากจะใช้น้ำเย็น 10-ารกระตุ้นการออกดอกเห็ดในแต่ละรอบแล้ว ยังสามารถกระตุ้นการออกดอกของเห็ดหอมได้อีกหลายวิธีดังนี้
กระตุ้นการออกดอกเห็ดหอมด้วยการให้น้ำระบบสปริงเกอร์
เกษตรกรผู้เพาะ เห็ดหอมหลายคนมีปัญหาเรื่องที่เห็ดหอมนั้นชอบอากาศเย็นและทำให้ไม่สามารถ ปลูกในพื้นที่อุณหภูมิที่อากาศร้อนจัดได้ ส่วนมากการปลูกเห็ดหอมจะมีมากใน แถบภาคเหนือ และส่วนภาคอีสานเองก็มีที่จังหวัดเลย ซึ่งอุณหภูมิค่อนข้าง หนาวและอากาศคล้ายกัน และปัญหามากที่ทำให้เกษตรกรขาดทุน ในการเพาะคือ เห็ด หอมมักไม่ออกดอก เนื่องจากอุณหภูมิเป็นเหตุ ซึ่งปัญหานี้คุณวิชัย ชาว นา ประธานกลุ่มผู้เพาะเห็ดหอมบ้านหนองบง ต.หนองบัว อ.ภูเรื่อ จ.เลย มี ทางออกให้สำหรับเกษตรกร ด้วยเทคนิคง่ายคือ ปรับอุณหภูมิโดยใช้น้ำนั่นเอง
วิธีการทำ
เพียงเท่านี้สามารถทำให้เห็ดออกดอกได้ดีขึ้น แทนต้นทุนในการควบคุมความเย็นโดยระบบอัตโนมัติ ที่ต้องลงทุนสูงในแต่ละโรงเรือน
กระตุ้นดอกเห็ดหอมด้วยวิธีการคบน้ำแข็ง
จากการลงพื้นที่ หาข้อมูลในพื้นที่บ้านช้างกลาง ได้พบกับเกษตรกรกลุ่มชุมชนคนรักเห็ด นำโดย คุณสุรินทร์ รอดพ้น ประธานกลุ่มชุมชนคนรักเห็ด ชุมชนนี้ได้ผลิตถุงเพาะ เชื้อเห็ดทุกชนิดจำหน่าย พร้อมทั้งจำหน่ายในรูปแบบมีแพคเก็จของตัวเอง
เห็ดหอมซึ่งเป็นเห็ดที่เกษตรที่ทำการเพาะเห็ดคิดว่าทำผลิตออกมายาก คุณ สุรินทร์ รอดพ้นได้พิสูจน์ว่าไม่ได้ยากอย่างที่ใครๆบอก เราเลยได้รับทราบ ข้อมูลจากคุณสุรินทร์ ถึงเรื่องการบังคับให้เห็ดหอมออกผลผลิตในช่วงที่ตลาด มีความต้องการ ราคาสูง ได้ด้วย วิธีการน๊อคน้ำแข็ง รายละเอียดและวิธีการทำ ดังต่อไปนี้
วัสดุ-อุปกรณ์
วิธีการทำ
ที่มา :
กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://blog.taradkaset.com
ป้ายคำ : เพาะเห็ด