เห็ดเผาะ อาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ

20 ธันวาคม 2556 เห็ด 0

เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ(Astraeus hygrometricus(Pers.) Morgan) เป็นเห็ดเศรษฐกิจพื้นเมืองของไทยที่มีผู้นิยมบริโภคกันมากเนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่ดี ดอกเห็ดมีลักษณะกลม ขนาด1.5-4 ซม.ไม่มีก้านดอก ดอกอ่อนมีสีขาวหม่น(ราชบัณฑิตยสถาน, 2539) และกลายเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ มักพบเห็ดชนิดนี้ในช่วงต้นฤดูฝนในป่าไม้วงศ์ไม้ยาง เช่น ยางนา เต็ง รัง และเหียง เป็นต้น โดยเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซ่าของพืชเหล่านี้ เส้นใยส่วนใหญ่ของเห็ดเผาะเจริญบริเวณรอบปลายรากพืช ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้อยู่ในสภาพที่ดูดซึมไปใช้ง่ายทําให้พืชมีอัตราการเจริญสูงขึ้น ทนแล้งและต้านทานโรคมากขึ้น ส่วนเห็ดได้รับวิตามิน กรดอะมิโนและฮอร์โมนจากรากพืช

ชื่อ : เห็ดเผาะ
ชื่อสามัญ : Barometer Earthstars
ชื่อวิทยาศาตร์ : Astraeus hygrometricus(Pers.) Morgan
ชื่ออื่น : เห็ดถอบ เห็ดเหียง เห็ดหนัง เห็ดดอกดิน

เห็ดเผาะมีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ขนาด 1.5-3.5 ซม. ไม่มีลำต้น ไม่มีราก ชอบขึ้นตามดินร่วนที่ถูกไฟไหม้ เห็ดอ่อนมีสีนวล เปลือกนอกกรอบ ห่อหุ้มสปอร์สีขาวนวล เห็ดแก่เปลือกสีน้ำตาลถึงดำ สปอร์ข้างในเป็นสีดำ เมื่อแก่มากพื้นผิวจะขรุขระและแยกออกเป็นรูปดาวเห็นสปอร์ข้างใน มีมากช่วงต้นฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม ชอบขึ้นตามพื้นดินที่อยู่ใต้โคนไม้เต็ง ไม้พะยอม หรือต้นไม้อื่น ๆ ที่ถูกไฟเผาตามพื้นดินร่วนปนทราย ในช่วงฤดูฝน เฉพาะระยะที่อากาศร้อนอบอ้าวมากก่อนฝนตก เส้นใยของราชนิดนี้จะดันผิวดินให้แตกออก เมื่อฝนตกมีความชื้นที่เหมาะสม เห็ดเผาะจะโผล่ขึ้นมาพ้นผิวดิน นิยมกินเห็ดระยะที่อ่อน โดยนำไปแกงคั่ว และผัด หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก

hedpaodin

ลักษณะทั่วไปของเห็ด
เผาะที่นิยมนำมาทำอาหารรับประทานคือช่วงยังอ่อนมีลักษณะกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ผิวเรียบสีขาวนวล มีรอยเปื้อนดิน ไม่มีลำต้น ไม่มีราก เมื่ออายุมากขึ้นผิวนอกจะเป็นสีน้ำตาลหรือเกือบดำเนื้อเหนียว เห็ดเผาะมีเปลือก 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกจะแตกออก 5-9 แฉก มีรอยแยกลึกลงไปถึงฐานดอก ด้านบนแตกออกเป็นรูให้สปอร์ฟุ้งกระจายออกมาสปอร์รูปกลมสีน้ำตาลผิวขรุขระพบในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณที่เป็นป่าโปร่ง เช่น ป่าสน ป่าแพะ

hedpaokan

แหล่งกำเนิด
เห็ดถอบเป็นเห็ดพื้นบ้านที่ขี้นบางท้องที่โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณที่เป็นป่าโปร่ง เช่น ป่าสน ป่าแพะ เห็ดเผาะชอบขึ้นตามพื้นดินที่อยู่ใต้โคนไม้เต็ง ไม้พะยอม หรือต้นไม้อื่นๆ ที่ถูกไฟเผาตามพื้นดินร่วนปนทราย ในช่วงฤดูฝน เฉพาะระยะที่อากาศร้อนอบอ้าวมากก่อนฝนตก เส้นใยของราชนิดนี้จะดันผิวดินให้แตกออก เมื่อฝนตกมีความชื้นที่เหมาะสม เห็ดเผาะจะโผล่ขึ้นมาพ้นผิวดิน

hedpao

การเก็บเกี่ยว
เห็ดถอบในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านมีเครื่องมือเก็บเห็ดชนิดนี้โดยเฉพาะ บางคนทำเครื่องมือถาวร คือ ทำเป็นขอเหล็ก ส่วนด้ามเป็นไม้ยาวประมาณ 1 ศอก บางคนใช้กิ่งไม้ที่มีลักษณะเป็นขอเกี่ยวก็ได้ เวลาหาเห็ดชนิดนี้ต้องมองหาตามโคนต้นไม้ ตอไม้ที่ถูกไฟไหม้ เห็ดจะโผล่ดินขึ้นมา ให้มองเห็น คนหาเห็ดจะใช้ขอเหล็กหรือขอไม้ขูดไปตามดิน ต้องระมัดระวังไม่ให้ขอไปถูกเห็ดต้องพยายามให้ได้เห็ดที่เป็นลูกสมบูรณ์ เห็ดชนิดนี้ขึ้นเป็นหย่อม ถ้าขึ้นตรงไหนคนเก็บเห็ดจะจำได้ปีต่อไปก็จะไปหาตรงที่เดิม ภาชนะที่ใช้ใส่เห็ดก็คือ ใบพลวงทำเป็นกรวย เมื่อเก็บเห็ดได้พอสมควรก็จะเย็บปากกรวยด้วยกิ่งไม้เล็กๆ แล้วจะทำกรวย ใหม่และหาต่อไป วิธีนี้จะช่วยให้เห็ดสดและไม่แก่เร็ว เห็ดชนิดนี้ถ้าถูกแดดถูกลมจะทำให้แก่เร็ว คนไม่นิยมรับประทานเพราะเปลือก ที่หุ้มสปอร์จะเหนียวมาก

hedpaodok

ประโยชน์
การนำมาบริโภคทางด้านอาหารมีมากเพราะ เห็ดเผาะเป็นเห็ดที่สามารถรับประทานได้ทั้งดิบๆ และทำให้สุกแล้ว ถ้าเป็นเห็ดอ่อนล้างให้สะอาดแล้วรับประทานโดย จิ้มน้ำพริกตาแดง นอกจากนั้นยังสามารถนำมาผัดและแกงคั่วใส่หน่อไม้ดอง หรือผัดเฉพาะเห็ดล้วนๆ ก็อร่อย เวลาเคี้ยวแล้วให้ความรู้สึกกรอบ มัน เพราะเห็ดเผาะกรอบ ข้างในกลวง เวลาเคี้ยวแล้วดังเผาะทุกครั้ง นอกจากการรับประทาน โดยวิธีดังกล่าวแล้ว ยังต้มใส่เกลือให้มีรสเค็ม คนพื้นเมืองเหนือนิยมแกงใส่ยอดใบบ่าเหม้า ใบมะขามอ่อน ซึ่งขึ้นตามป่ามีรสออกเปรี้ยวๆ เห็ดชนิดนี้ ถ้าต้มเค็มไม่นิยมหั่นหรือซอยจะต้มทั้งลูก แต่ถ้าแกงหรือผัดจะซอยเป็นชิ้นบางๆ

hedpaoar hedpaopah hedpaotom

วิธีการกิน : ที่นิยมกัน คือ แกงเผ็ด เวลาเคี้ยวแล้วให้ความรู้สึกกรอบ มัน เพราะเห็ดเผาะกรอบ ข้างในกลวง เวลาเคี้ยวแล้วดังเผาะทุกๆครั้ง นิยมกินเห็ดระยะที่อ่อนอยู่ โดยนำไปแกงคั่ว และผัด หรือกินสดเป็นผักจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณทางยา : บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้ช้ำใน

เคล็ดไม่ลับแกงเห็ดเผาะ : ต้องใส่น้ำพอเหมาะ อย่าลืมน้ำปลาร้า ใบมะขามอ่อน แกงซดน้ำร้อนๆ อมเห็ดไว้ข้างกระพุ้งแก้ม แล้วค่อยคายขบเปลือกห่อหุ้มกินเนื้อนวลในขาวนุ่ม หวานลิ้น กินไม่เบื่อ เห็ดเผาะใหม่และสด จะเคี้ยวเสียงดังเผาะ เผาะ

คำเตือน : หากเคี้ยวเห็ดเผาะเพลินจนลืมอิ่ม อาจทำให้เกิดการผายลม เสียงดังเผาะ เผาะ เพราะท้องอืด

ข้อควรระวัง : ในการทานเห็ดเพราะมีเห็ดที่มีพิษ ลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดเผาะมาก คือ เห็ดไข่หงส์ โดยเมื่อรับประทานแล้วจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ข้อควรสังเกตอีกประการ หนึ่งเกี่ยวกับการเผาป่าเพื่อหวังจะได้เห็ดเผาะ เนื่องจากเห็ดเผาะชอบขึ้นตามพื้นดินที่อยู่ใต้โคนไม้เต็ง ไม้พะยอม หรือต้นไม้อื่นๆ ที่ถูกไฟเผาตามพื้นดินร่วนปนทราย ในช่วงฤดูฝน เฉพาะระยะที่อากาศร้อนอบอ้าวมากก่อนฝนตก เส้นใยของราชนิดนี้จะดันผิวดินให้แตกออก เมื่อฝนตกมีความชื้นที่เหมาะสม เห็ดเผาะจะโผล่ขึ้นมาพ้นผิวดิน ควรที่จะมีการทำการวิจัยและพัฒนาการเพาะเห็ดเผาะที่ไม่กระทบต่อสภาพแวดล้อม และทำลายป่าและทำให้เกิดผลเสียกับสภาพแวดล้อม

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด เห็ด

แสดงความคิดเห็น