แคนตาลูป เมลอนหวานน้อย

25 มกราคม 2560 ไม้เลื้อย 0

แคนตาลูปจัดอยู่ในสกุลเดียวกับแตงกวาและแตงไทย เปลือกของแคนตาลูปแต่ละพันธุ์จะต่างกัน มีทั้งแบบผิวเรียบ และผิวลายตาข่ายนูนชัดเจน เช่นพันธุ์ร็อกเมลอน ส่วนเนื้อในมี 2 แบบคือ เนื้อกรอบและเนื้อนิ่ม สีสันแตกต่างกันไปตามลักษณะของพันธุ์ เช่น พันธุ์ฮันนีดิวเนื้อสีเขียว พันธุ์ซันเลดี้เนื้อสีส้ม

โดยลักษณะของแคนตาลูปจะฉ่ำน้ำ ที่สำคัญแคนตาลูปจะมีกลิ่นหอมซึ่งไม่เหมือนกับผลไม้ชนิดใด ๆ มีฤทธิ์เย็น ช่วยทำให้ขับปัสสาวะล้างพิษ มักรับประทานแคนตาลูปเพื่อช่วยขับน้ำนมให้กับสตรีหลังคลอดบุตร และช่วยแก้ไข้ลดความร้อนในร่างกาย มีวิตามินวิตามินเอซึ่งมีผลเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และช่วยในการสร้างกระดูก มีเบตาแคโรทีน โดยผลการศึกษาพบว่าแคนตาลูปเป็นผลไม้หนึ่งในสิบอันดับแรกที่มีวิตามินเอและเบตาแคโรทีนสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ดีต่อสุขภาพและผิวพรรณ แม้แต่ฝรั่งก็ยังมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า กินแคนตาลูปแล้วจะทำให้สายตาดี มีสติ คิดและทำทำสิ่งใดจะได้ตามมุ่งหวัง วิตามินซีในแคนตาลูปช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายและลดการติดเชื้อ ส่วนโพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิตและการทำงานของกล้ามเนื้อ ดีต่อผูเป็นโรคความดันโลหิตสูง แถมแคนตาลูปยังมีเส้นใยอาหารสูงและแคลอรีต่ำ จึงดีต่อระบบขับถ่ายและเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างยิ่ง

วิตามินบี 6 ที่มีอยู่มากในแคนตาลูปสำคัญต่อการเผาผลาญอาหารและการสร้างพลังงาน ทั้งโฟเลตที่มีส่วนช่วยขยายในการผลิตเม็ดเลือดและสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ วิตามินบี 6 และโฟเลตนี้จะสามารถลดระดับสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ที่มีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันแล้วว่า การมีระดับโฮโมซิสเทอีนสูง สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้น วิตามินบี 6 และโฟเลตในแคนตาลูปจึงลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคดังกล่าวได้

ปริมาณสารอาหารในแคนตาลูปนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย จากผลการศึกษาพบว่า แคนตาลูปในฤดูจะมีสารอาหารจำพวกวิตามินบี 1 ,บี 2 โฟเลต วิตามินซี และโครเมียมสูงกว่าในแคนตาลูปนอกฤดูกาล วิธีเลือกซื้อแคนตาลูปที่ดี ควรเลือกลูกที่น้ำหนักพอเหมาะ ไม่มีรอยช้ำ ขั้วผลมีรอยปริเล็กน้อย หากมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แสดงว่าเริ่มสุกแล้ว ส่วนการเก็บรักษานั้น ควรวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง เพราะจะเสียคุณค่าทางอาหาร และเป็นการเพิ่มจำนวนเชื้อก่อโรคที่ติดมากับผลแคนตาลูปได้ ควรใช้พลาสติกสำหรับห่ออาหารหุ้มให้เรียบร้อย แล้วนำไปแช่ตู้เย็น

การปลูกแคนตาลูปให้ลูกใหญ่ รสชาติหวาน
คุณอัมพร เจ็ดจันทึก ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกแคนตาลูป บ้านซาด ตำบลตะโกอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา มีสมาชิกในกลุ่มรวม 9 คน ร่วมกันศึกษาอบรมและช่วยกันดูแล หาแนวทางการพัฒนา แคนตาลูป

การเตรียมต้นกล้า
การเพาะขยายพันธุ์ต้นแคนตาลูปนั้นขยายโดยการเพาะในหลุม โดยการหยอดเมล็ดแคนตาลูป โดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากท้องตลาด ในราคากระป๋องละ 600 – 800บาท ปลูกได้ 400 เมล็ด หยอดเมล็ดไว้ 7 วัน จะงอกใบออก 2-3 ใบ แล้วนำไปปลูกลงแปลง

การเตรียมแปลง
การปลูกแคนตาลูปในแปลง โดยการเตรียมแปลงขุดยกร่องแปลงและซื้อพลาสติกสำหรับการเกษตรโดยเฉพาะซึ่งทุกวันนี้มีขายทั่วไปตามร้านวัสดุการเกษตร จะมีการทำรูเพื่อให้ต้นพืชสามารถงอกออกมาสังเคราะห์แสง และต่อท่อน้ำแบบระบบน้ำหยดใต้พลาสติก ซึ่งก่อนที่จะคลุมด้วยพลาสติกนั้นต้องมีการเตรียมดินด้วยการไถตากดินไว้ 7 วัน โรยด้วยปูนขาว ป้องกันเชื้อรา แล้วใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ มูลสัตว์ซึ้งแปลงแคนตาลูปที่มีอายุประมาณ 1 เดือน ถือว่าเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ระหว่างที่รอการเก็บผลผลิตนั้นก็ตัดแต่งกิ่งต้นแคนตาลูปเพื่อเจริญเติบโตที่ดี

วิธีการตัดแต่งกิ่งยอดแคนตาลูปโดยการสังเกตดูยอดต้นแคนตาลูป ให้เด็ดยอดออกและหากดมีดอกเหลือง แขน ที่ยื่นก็ให้ทำการเด็ดออก เพื่อเป็นการไม่แย่งอาหารในระหว่างที่เราเลี้ยงดอก และผล ในยอดที่ 3 ขึ้นไป เพื่อรอการเก็บผลผลิต

สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกแคนตาลูปบ้านซาด ได้แนะนำการเด็ดยอดออกเชือกไนลอน เป็นการเตรียมไว้ยึด เคลือ แขน ของต้นแคนตาลูป ง่ายในการเก็บผลผลิต และยึดให้ลำต้นยืดตรงการเด็ดยอดแคนตาลูป เพิ่มน้ำหนักต่อผลมากถึง ลูกละ1 กิโลกรัมกว่าๆ

หลังจากการเด็กยอด หลังเด็ดแล้วทำการยืดแขน ของแคนตาลูปออกด้วย และนำเคลือตรงปลายยอดไปเกี่ยวกับเชือกและลำต้นต่อไป

การปฏิบัติ
– เพาะเมล็ดในกะบะเพาะ 12-15 วัน หรือมีใบจริง 2-3ใบ ลงปลูกในโรงเรือนหรือกลางแจ้ง
-หลังปลูกในโรงเรือน 10 วัน พันยอดขึันค้างและตัดแขนงข้อที่ 1-8 ออก
-หลังจากนั้นพออายุต้น 37-40 วันจะมีดอกตัวเมียผสมดอกข้อที่ 9-12 ช่วงเช้า 6 โมง-10 โมง
-ผสมดอก 3-5 วัน หลังผสมดอกประมาณ 7- 10วัน ลูกประมาณไข่ไก่คัดลูกดีที่ต้องการใว้แขวน เพียง 1 ลูก
-เมล่อนหลังผสมดอก 35-45 วัน (อายุตามสายพันธุ์นั้นๆ) เก็บเกี่ยวผลผลิต


การดูแลรักษา เมล่อนเป็นพืชล้มลุกตระกุลแตงโดยทั่วไปอายุประมาณ 85 วัน 40วันแรกเป็นการเจริญเติบโตทางลำต้นช่วงนี้ต้องเร่งน้ำเร่งปุ๋ยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่ทำให้โคนต้นแฉะออ่นแอต่อโรคหรืออากาศร้อนชื้นเป็นโรคโคนเน่าหรือต้นแตกยางใหลเกิดจากเชื้อราหรือปลูกต้นกล้าลึกจากวัสดูปลูกเกินไปต้องปลูกเสมอหรือนูนจากวัสดุปลูก ต้นเป็นโรคท่อน้ำเลี้ยงขาดหรือบิดเบี้ยว ต้นเหี่ยวตายใกล้เก็บเกี่ยวผลรสจืด เพราะพืชกินอาหารไม่ได้

โรคแมลง ระยะกล้าเต่าแตงกินใบ เพลี้ยไฟต่อยยอด เกิดเป็นไวรัสยอดหงิกเตี้ย โรคประจำคือเชื้อราอย่างเดียว จนเก็บเกี่ยวผลผลิต

ที่มา
ศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือโยทะกา

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น