แคเป็นต้นไม้พื้นบ้าน เป็นไม้เนื้ออ่อน นิยมปลูกเป็นรั้วบ้าน คันนา และริมถนน ปลูกได้ในทุกพื้ที่ทั้งดินเหนียว ดินร่วน สามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อปรับพื้นที่ให้มีปุ๋ย เนื่องจากใบแคที่ผุแล้วทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เมื่อแก่จะแพร่พันธุ์ด้วยฝักที่มีเมล็ดแก่จัด เติบโตได้ มีอายุไม่นาน จะยืนต้นตาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora Desv.
ชื่อวงศ์ : PAPILIONACEAE
ชื่อท้องถิ่น: แคขาว แคแดง (เหนือ) แค แคดอกแดง แคดอกขาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 เมตร โตเร็ว มีกิ่งก้านสาขามาก กิ่งเปราะง่าย เปลือกมีสีน้ำตาล มีรอยขรุขระหนา เปลือกในมีสีชมพู มีรสฝาด
- ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีขนาดเล็กเรียงคู่เป็นใบย่อยมี 30-50 ใบ
- ดอก ออกเป็นกระจุกออกที่ซอกใบ มีสีขาวคล้ายดอกถั่ว แต่ละช่อมี 2-4 ดอก ยาว 6-10 ซม. กลีบเกลี้ยงเป็นรูประฆังหรือถ้วย
- ผล เป็นฝักแบน ยาวประมาณ 8-15 เมตร ฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดเรียงอยู่ตรงกลางแถวเดียว
- เมล็ด คล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเล็ดประมาณ 5 มม. ลักษณะกลมแบน สีน้ำตาลอ่อน หนึ่งผลมีหลายเมล็ด เมล็ดแข็ง
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ยาว 8-10 เซนติเมตร มี 2 ชนิดคือ ดอกสีขาว และดอกสีแดง ผลเป็นฝักยาว
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ดอก ยอดอ่อน และฝักอ่อน
สารเคมีและสารอาหารสำคัญ
มีฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ ซี บี1 บี2 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และใยอาหาร
ในยอดแคมีสารอาหารมากกว่าดอกแคเสียอีก เพราะยอดแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีเส้นใย 7.8 กรัม แคลเซียม 395 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 8,654 ไมโครกรัม วิตามินเอ 1,442 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.28 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.33 มิลลิกรัม ไนอาซีน 2.0 มิลลิกรัม วิตามิซี 19 มิลลิกรัม
ดอกแคปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 33 แคลอรี
- แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 57 มิลลิกรัม
- เหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 0.51 ไมโครกรัม
- วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.19 มิลลิกรัม
- ไนอาซีน 0.5 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 35 มิลลิกรัม
สรรพคุณทางยาและวิธีใช้
ยอดอ่อน ใบอ่อน ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอก มีรสหวานออกขมเล็กน้อย สรรพคุณแก้ไข้หัวลม เปลือกต้น มีรสฝาด รักษาอาการท้องเดิน แต่ถ้ากินมากๆ จะทำให้อาเจียนได้ ราก น้ำจากรากนำมาผสมกับน้ำผึ้ง เป็นยาขับเสมหะ
- แก้ไข้หัวลม แก้ร้อนใน: ใช้ยอดแคอ่อน ดอกแคไม่แกะไส้ แกง หรือลวกเป็นผักจิ้ม
- แก้ท้องเดิน : ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ ต้มกับน้ำ หรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทาน 1-2 ช้อนโต๊ะ
- แก้แผลมีหนอง : ใช้เปลือกต้นแคที่แก่ ๆ ตากแห้ง ฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ทาแผล เช้า – เย็น ก่อนทายาควรใช้น้ำต้มเปลือกแคล้างแผลก่อน จะช่วยให้แผลหายไวขึ้น
- ยาล้างแผล : ใช้เปลือกแคต้มกับน้ำเดือดนาน 15 นาที เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ล้างแผล วันละ 3 ครั้ง
- แก้บิด แก้ท้องเสีย : ใช้เปลือกแค 2-3 ชิ้น ขนาดเท่าฝ่ามือ ต้มกับน้ำเดือดประมาณ 15 นาที โดยใช้น้ำ 2-3 ขัน ใช้หม้อดินต้ม กินยาขณะยังอุ่นอยู่ กิน 1-2 แก้ว วันละ 3 เวลา
- แก้ฟกช้ำ : ใช้ใบสดตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่เป็น
- ปวดฟัน รำมะนาด : ใช้เปลือกแคต้ม ใส่เกลือให้เค็มจัด นำมาอม
- ตานโขมย : ใช้แคทั้งห้าอย่าง ๆ ละ 1 กำมือ ใส่น้ำท่วมยาต้มให้เดือดนาน 5-10 นาที กินวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ ประมาณครึ่งเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
- แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
- ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
- แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล
วิธีการปลูกแค
ในการปลูกแคเพื่อเก็บดอกแคขาย จะต้องนําฝักแคที่แก่จัดนําฝักแคมาแกะเอาเมล็ดออก แล้วนํา
เมล็ดแคไปเพาะในแปลงเพาะดูแลรักษาต้นกล้าแคจนกระทั่งต้นกล้าแคมีความสูงประมาณ ๑๐ เซนติเมตร หรือเมื่อ แคมีอายุประมาณ ๑ เดือน จากนั้นจึงย้ายต้นกล้ามาปลูกลงในแปลงปลูกที่ยกร่องไว้เรียบร้อยแล้ว สําหรับระยะ ปลูกควรจะเป็น ๑.๕-๒ เมตร จากนั้นประมาณ ๓ เดือน หรือเมื่อแคมีความสูงต้นประมาณ ๑ เมตร ก็จะสามารถ เก็บดอกแคขายได้แล้ว
การดูแลรักษา
- ในขั้นตอนของการปฎิบัติดูแลรักษา มีคําแนะนําเกี่ยวกับการให้น้ําต้นแคว่าไม่ควรให้น้ําแก่ต้นแค
- มากเกินไป เพราะจะทําให้แคไม่ค่อยออกดอก ควรจะให้น้ําเพียงอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง ก็เพียงพอ ส่วนการให้ปุ๋ยควร
- จะให้ปุ๋ยทางใบและสารเร่งดอกไปพร้อม ๆ กับการใช้สารป้องกันกําจัดแมลงโดยผสมทั้งสามอย่างเข้าด้วยกัน แล้ว
- ฉีดพ่นประมาณ ๑๕ วันต่อหนึ่งครั้ง เมื่อต้นแคมีอายุได้ ๑ ปีให้ทําการตัดแต่งกิ่งข้างล่างและกิ่งที่พุ่งสูงขึ้นไปทิ้งให้หมด