แตงโม จัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับ แคนตาลูป ฟักทอง แตงกวา ซึ่งนักพฤกษศาสตร์จัดให้อยู่ในวงศ์แตง (Family Cucurbitaceae) เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณมากจึงมีคุณสมบัติเย็น รับประทานแล้วหวานชื่นใจ สำหรับประโยชน์ของแตงโมนั่นก็เช่น ช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง รักษาแผลในปาก เป็นต้น และยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกด้วยเพราะอุดุมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่นวิตามินเอ ซี วิตามินบีรวม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีกระเพาะ ม้าไม่แข็งแรง กระเพาะลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด หลังป่วยหนัก หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย มีอาการท้องร่วงง่าย ไม่ควรรับประทานแตงโม
ชื่อสามัญ : Water Melon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrullus lanatus Mats & Nakai
ชื่ออื่น : หมากโม แตงอุลิด
แตงโมนั้นมีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ (สี่พันกว่าปีมาแล้ว) สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู สามารถปลูกแตงโมได้ตลอดปี และปลูกกันได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถปลูกในดินเกือบทุกชนิด เพราะเป็นพืชปลูกง่ายเจริญเติบโตเร็ว จึงเป็นพืชที่เหมาะสำหรับปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว
แตงโมเป็นพืชเป็นพืชในวงศ์ (Cucurbitaceae) เช่นเดียวกับบวบ ฟัก และแตงชนิดต่างๆที่นำเสนอไปแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Citrullus lanatus Mats. Et Nakai) ภาษาอังกฤษเรียก Water melon ภาคเหนือเรียก มะเต้า ภาคใต้เรียก แตงจีน
สารที่พบในแตงโม
แตงโมมีน้ำถึง 96.6% ในเนื้อจะมีวิตามินเอ, บี, ซี กรดนิโคตินิค กลูโคส ฟรุคโตส ซูโครส โปรตีน คาโรทีน กรดมาลิค กรดฟอสฟอริค กรดกลูตามิค แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เซลลูโลส เป็นต้น
แตงโม มีสารอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากนั่นก็คือ Citrulline (ซิทรูไลน์) ซึ่งจะพบสารนี้ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ดังนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนเปลือกขาวๆติดมาด้วยก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะกินแต่เนื้อสดๆ สำหรับประโยชน์ของสารนี้ก็คือ จะช่วยขยายเส้นเลือด ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย เพราะมีแคลอรีต่ำมาก อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทานควรจะล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อนเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลงศัตรูพืชต่างๆ ชาวสวนจึงนิยมที่จะฉีดยาฆ่าแมลงเป็นปกติ
ประโยชน์ของแตงโม
เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรี่ต่ำ
ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
สรรพคุณของแตงโมแตงโมมี ไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
สรรพคุณของแตงโม
ประโยชน์ของแตงโมช่วยแก้เบาหวานและดีซ่าน
ประโยชน์ของแตงโมในทรรศนะจีน
เนื้อแตงโมมีรสหวาน มีคุณสมบัติเย็น จึงจัดเป็นอาหารพวกยิน ในหนังสือเภสัชวิทยาที่สำคัญของจีน เช่น เปิ่นฉ่าวไป่เอี้ยว เปิ่นฉ่าวกางมู่ ได้บันทึกไว้ว่า แตงโมดับร้อนแก้กระหายน้ำ แก้อาหารเจ็บคอ แก้ร้อนกระวนกระวาน แก้พิษสุรา แก้บิดและขับปัสสาวะ
เมล็ดแตงโมไม่มีรสหวาน คุณสมบัติเป็นกลาง (ไม่ร้อน ไม่เย็น)
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2517 บรรณาธิการข่าวต่างประเทศของหนังสือพิมพ์ ไทม์วีคลี่ ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนพร้อมกับ มาดามมากอส ในระหว่าเยือนจีน เขาเกิดป่วยขึ้นอย่างกะทันหันมีอาการรุนแรงมาก (ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคอะไร) หมอนอกจากจะให้กินยาแล้ว แตงโมก็มีส่วนร่วมในการรักษาโรคด้วย เขาหายอย่างรวดเร็ว หลังจากกลับฟิลิปปินส์ เขาได้เขียนบทความ 10 กว่าเรื่องกล่าวยกย่องแพทย์จีน อาทิเช่น นายแพทย์ชาวจีนได้ช่วยชีวิตผม แตงโมได้ช่วยชีวิตผมด้วย
ชาวจีนมักนิยมกินแตงโมโดยจิ้มกับเกลือ จะทำให้คลายร้อน แก้กระหายน้ำ กระชุ่มกระชวย
ข้อควรระวัง
แม้แตงโมจะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ แต่อย่ากินแตงโมมากเกินไป ทั้งนี้เพราะน้ำจากแตงโมซึ่งมีจำนวนมากจะทำให้น้ำย่อยในกรเพาะอาหารเจือจางลง ทำให้อาหารไม่ย่อย หรือท้องเสีย นอกจากนี้อย่ากินแตงโมดิบหรือเน่า เพราะจะทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ โดยเฉพาะท้องร่วง และอาเจียน
สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคเยื่อบุลำไส้อักเสบเรื้องรัง มักมีอาการท้องเสียบ่อยๆ หรือมีความดันโลหิตต่ำ มีร่างกายอ่อนแอ หรือมีอาการที่แพทย์จีนเรียกว่า ม้ามพร้อง คือมีอาการท้องอืดท้องแน่น อาหารไม่ค่อยย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหรมาก ไม่ควรกินแตงโม (อาจกินได้บ้างเล็กน้อย) โดยเฉพาะเด็กที่ชอบกินแตงโม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค ไม่ควรกินแตงโมแช่เย็น หรือกินมากเกินไป โดยเฉพาะเด็กที่มีอาการม้ามพร่องและมีเหงื่อออก เป็นหวัดและไอบ่อยตอนกลางคืน
สำหรับท่านที่มีอาการร้อนใน คือ มีไข้สูง ปวดหัว ท้องผูก คอแห้ง กระหายน้ำ ตัวร้อนเหงื่ออก ตาแดง ปากเหม็น ลิ้นแห้ง มีฝ้าสีเหลืองปัสสาวะสีเข้มและน้อย บางครั้งถ่ายจะแสบ ถ้ามีอาการดังกล่าวให้กินแตงโมมากๆ จะทำให้อาการไข้ลดลง หรือหายไป การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะจะเป็นปกติ และถ้าม้ามพร่องหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้กินน้อยๆ หรือห้ามกิน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกแตงโม
แตงโมปลูกได้ดี ในดินร่วนปนทราย ทั่วทุกภาคของประเทศ สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ที่ pH(พีเอช เค้าเขียนตัวพีเล็ก(p) กับตัวเอชใหญ่(H)นะ ตำราหลายเล่มยังเขียนผิดอยู่) ระหว่าง 5.5-6.8 สภาพแปลงควรระบายน้ำได้ดี
พันธุ์ที่ส่งเสริม
พันธุ์เบา คือพันธุ์ ซุการ์เบบี้ ลักษณะผลทรงกลม ผิวสีเขียวเข้ม เนื้อแดง เป็นพันธุ์ที่นิยมกันมานานแล้ว
พันธุ์ลูกผสมต่างๆ ได้แก่ แตงโมเหลือง แตงโมแดง เป็นแตงโมทรงผลกลม รสชาติหวาน สีเนื้อแดง หรือ เหลืองตาม ความต้องการของตลาด
ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม
แตงโมปลูกได้ ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม
การปลูกแตงโม
ให้แต่ละหลุมในแถวห่างกัน 90 เซนติเมตร ส่วนแถวของแตงให้ห่างจากกัน เท่ากับความยาวของราก ประมาณ 2-3 เมตร แล้วขุดหลุมในดินทรายให้ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนดินเหนียว ให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกคลุกเคล้า กับดินบน ใส่รองก้นหลุม 4-5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงปลูก โดยหยอดหลุมละ 5 เมล็ด
การดูแลรักษา
การให้น้ำ ให้น้ำตามร่องประมาณ 7 วัน 1 ครั้ง
การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกในพื้นที่ปลูก จริงอัตราไร่ละ 2-4 ต้น โดยคลุกเข้ากับดินก่อนปลูก ควรใส่ปุ๋ยเคมี อัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ปุ๋ย ปกติจะใช้ประมาณไร่ละ 120-150 กิโลกรัมต่อฤดูปลูก ใส่ในระยะ 15 วัน หลังจากปลูก หลังจากนั้น ทยอยใส่ทุกๆ 15-20 วัน
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญและวิธีการป้องกันจำกัด
การเก็บเกี่ยว
คาดคะเนการแก่ของแตงโมด้วยการนับอายุ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน