การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ จัดระเบียบความคิด จำได้ทนนานนักแล…
Mind Map คืออะไร
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือ ความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า
ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ผังความคิด (Mind Map)
ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป
การสร้าง แผนที่ความคิด หรือ Mind Map
ขั้นตอนการสร้าง Mind Map
- เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
- เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
- ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
- เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
- กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
- คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ
เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น
กฏการสร้าง Mind Map
- เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
- ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
- เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
- คำควรมีลักษณะเป็น “หน่วย” เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยืดหยุ่นได้มากขึ้น
- ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
- เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
วิธีการเขียน Mind Map โดยละเอียดอีกวิธีหนึ่ง
- เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
- วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
- คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
- แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
- แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
- การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน
- คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
- ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
การนำไปใช้
- ใช้ระดมพลังสมอง
- ใช้นำเสนอข้อมูล
- ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
- ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
- ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
สรุปและสังเคราะห์โดยคณะทำงาน KM กองวิจัยฯ
ที่มาของข้อมูล http://km.doae.go.th/bestpractice/uploadfile/bestresearch0002.doc
Mind Map
ผังความคิด (Mind Map) หมายถึง ความคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงออกมาในลักษณะการเขียนเรื่อง ต่อ โยง ของคำ ภาพ สัญลักษณ์ และสี
ผังมโนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mind map) คือ รูปจำลองที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กัน โดยปกติจะใช้รูปวงกลมแทนมโนภาพหรือความคิด และเส้นลูกศรแทนลักษณะและทิศทางของความสัมพันธ์นั้น มีคำกำกับไว้ว่าวงกลมแทนมโนภาพของอะไร เส้นลูกศรแทนความสัมพันธ์ในลักษณะและทิศทางใด ในบางครั้งมีการใช้การเน้นและแจกแจงเนื้อความด้วยและการวาดรูปประกอบ
ใครควรใช้ Mind Map
- ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับล่าง (Managers, Directors, Business Leaders)
- ครู อาจารย์ วิทยากร นักวิชาการ นักวิจัย นักเขียน (Teachers, Trainers, Research, Authors)
- ผู้รับคำปรึกษา (Consultants)
- ผู้จัดการโปรเจ็กซ์ (Project Managers)
- ผู้จัดการฝ่ายขาย (Marketing Professionals)
- ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer)
- ผู้คิดในเชิงประดิษฐ์ (Creative Thinkers)
- ผู้สรุปรายงานการประชุม-เลขานุการ (Lecturers)
- นักเรียน นักศึกษา (Students)
- ผู้สนใจทั่วไป (End Users)
การเริ่มต้นในการทำแผนที่ความคิดนั้น อาจเริ่มด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- Look for relationships (การค้นหาความสัมพันธ์) การเริ่มต้นทำแผนที่ความคิด เราควรจะต้องเตรียมกระดาษขึ้นมา 1 แผ่น โดยเขียนตามแนวนอนของหน้ากระดาษ(landscape) นอกจากนี้ ควรมีดินสอสี(หรือปากกาเมจิก)หลายๆสี เพื่อสะดวกต่อการสังเกตไอเดียต่างๆ ที่เราใช้ดินสอสีแต่ละสีบันทึกไอเดียแต่ละไอเดียของเราลงไป (ทั้งนี้เพื่อให้เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนและโดยทันทีถึงความสัมพันธ์กันของไอเดีย และเพื่อลากเส้นเชื่อมที่โยงกับไอเดียที่สัมพันธ์กัน ภายหลังจากที่เราได้จดบันทึกความคิดลงไปจนเกือบเต็มหน้ากระดาษแล้ว) ใช้เส้น, สี, ลูกศร, กิ่งก้านที่แผ่ขยายออกไปจากศูนย์กลางไอเดีย หรือวิธีการอื่นๆ ที่จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไอเดียที่เกิดขึ้นมาบนแผนที่ความคิดของเรา. ความสัมพันธ์กันเหล่านี้จะมีความสำคัญต่อความเข้าใจข้อมูลใหม่ๆ หรือช่วยในการก่อรูปโครงสร้างแผนงานต่างๆขึ้นมา. ในการสร้างแผนที่ความคิด เราอาจใช้รูปประกอบที่เราเขียนขึ้นมาเองเป็นสัญลักษณ์ก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็น และสร้างความเชื่อโยงทางความหมายระหว่างไอเดียต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราได้ระลึกถึงมันและเข้าใจมัน
- Draw quickly on unlined paper without pausing, judging or editing (เขียนอย่างรวดเร็วลงบนกระดาษโดยไม่หยุดหรือสะดุด, ไม่มีการตัดสินใจ หรือเรียบเรียง) ในกระบวนการเกี่ยวกับการใช้ความคิดทั่วๆไป เรามักจะคิดถึงอะไรในลักษณะที่เรียงลำดับกันไปในเชิงเส้น(linear thinking) แต่การทำแผนที่ความคิดนั้น จะต้องคิดอย่างสร้างสรรค์ และคิดในวิธีการที่ไม่ต้องเรียงลำดับกันไปในเชิงเส้น(non-linear manner) เราจะต้องปล่อยให้ไอเดียหรือความคิดพรั่งพรูออกมา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ามันแปลกประหลาด ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างอิสระโดยไม่ต้องมาคอยตรวจตราดูหรือเรียบเรียงมันแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะเรามีเวลามากมายเหลือเกินที่จะแก้ไขปรับปรุงข้อมูลต่างๆเหล่านี้ภายหลัง. แต่ ณ ขั้นตอนแรกนี้ มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะเก็บเอาความเป็นไปได้ทั้งหมด จดลงไปบนแผนที่ความคิด. ซึ่งบางครั้ง หนึ่งในความเป็นไปได้ที่คลุมเครือเหล่านั้น อาจกลายเป็นกุญแจสำคัญต่อความรู้ของเราเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ หรือการแก้ปัญหาที่มีอยู่
- Use Capitals (ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่หรือตัวหนากว่าปกติ) สำหรับหัวข้อกลางหน้ากระดาษที่เราทำแผนที่ความคิด และไอเดียสำคัญ(key point)ของแต่ละกิ่งที่กระจายออกไปจากศูนย์กลางคล้ายรัศมีของดวงอาทิตย์ แต่ละกิ่งนี้ให้ใช้อักษรตัวหนา เพราะจะง่ายต่อการสังเกตภายหลัง. อย่างไรก็ตาม เราอาจจะต้องเขียนอะไรลงไปเพื่อเป็นการขยายความ มีบางคนที่กระทำเช่นนี้เมื่อเขาได้กลับมาดูแผนที่ความคิดของตนเองอีกครั้ง
- Put Main idea in the center (วางไอเดียหลักเอาไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ)
คนส่วนใหญ่ จะวางกระดาษตามแนวนอน(landscape) ในการเขียนแผนที่ความคิด เพราะในเชิงจิตวิทยา กระดาษตามแนวนอนจะให้ความรู้สึกผ่อนคลายกว่าแนวตั้ง และไม่รู้สึกว่าถูกบีบด้วยความแคบของเนื้อที่กระดาษ. จากนั้นก็บันทึกไอเดียหลักหรือหัวข้อที่เราจะทำแผนที่ลงไปตรงกลางหน้ากระดาษ การทำเช่นนี้ จะช่วยให้เรามีพื้นที่ว่างมากมายอยู่รอบๆเพื่อจะขยายกิ่งก้านไอเดียที่เกิดจากศูนย์กลางต่อๆมาได้อย่างสะดวก แผ่ไปได้ทุกทิศทาง
- Leave lots of space (ปล่อยเนื้อที่ว่างกระดาษเอาไว้มากๆ)
แผนที่ความคิดที่มีประโยชน์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการเพิ่มเติมไอเดียหรือความคิดลงไปภายหลังหลายๆครั้งในแต่ละโอกาส. หลังจากการเขียนแผนที่ความคิดขึ้นมาครั้งแรกแล้ว เราอาจต้องหวนกลังไปหามันอีก ทั้งนี้เพราะ เราเกิดความคิดเพิ่มเติมขึ้นมาโดยบังเอิญ หรือไปสะดุดอะไรเข้าแล้วนึกถึงมันขึ้นมาได้ เราจึงอยากจะไปเพิ่มเติมหรือขยายแผนที่. ด้วยเหตุผลนี้ จึงเป็นความคิดที่ดีที่เราจะปล่อยให้มีพื้นที่ว่างมากๆ เพื่อสะดวกแก่การเพิ่มเติมเสริมแต่งในภายหลัง
แนวทางการเขียน mind map (ด้วยมือ)
- เริ่มที่ตรงกลางหน้ากระดาษด้วยรูปหรือหัวข้อ ใช้สีอย่างน้อย 3 สี
- ใช้รูป, สัญลักษณ์, รหัส, ความหนา ตลอดที่ทำ mind map
- ให้เขียนคำสำคัญโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
- คำแต่ละคำ หรือรูปแต่ละรูป จะต้องอยู่บนเส้นของตัวเอง
- เส้นแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตรงกลางภาพ เส้นที่อยู่ตรงกลางจะมีขนาดหนา และจะยิ่งบางลงเมื่อห่างจากศูนย์กลาง
- ขนาดความยาวของเส้นที่ลาก ยาวเท่ากับคำหรือรูป
- ใช้สี รหัสส่วนตัว ตลอดที่ทำ mind map
- พัฒนารูปแบบ mind map ของตัวเอง
- ใช้วิธีเน้นข้อความ และแสดงความเป็นกลุ่มก้อนใน mind map
- รักษา mind map ให้เข้าใจง่ายโดยการแบ่งความสำคัญเริ่มจากตรงกลาง ใช้การเรียงลำดับตัวเลข หรือใช้เส้นร่างเพื่อรักษาความเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละกิ่ง
การเขียนแผนที่ความคิดในปัจจุบัน (เขียนด้วยคอมพิวเตอร์)
หลังจากพอมองเห็นภาพการเขียนแผนที่ความคิดที่นิยมในอดีตแล้ว (ในปัจจุบันผู้เขียนคิดว่ายังมีผู้อ่านอีกหลายท่านยังคงใช้วิธีการเขียนแบบเดิมๆ ด้วยมืออยู่แบบเดิมๆ อยู่ เนื่องมาจากความชอบส่วนตัว เพราะสามารถนั่งเขียนที่ไหนก็ได้) ในการเขียนแผนที่ความคิดด้วยมือผ่านบนกระดาษค่อนค้างทำได้ช้า และแก้ไขข้อมูลจะยากลำบากกว่าการเขียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์มาก เทียบได้กับงานเขียนแบบเมื่อก่อนจะเน้นเขียนด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีโปรแกรม AutoCAD มาทดแทนการเขียนด้วยมือเกือบทั้งหมดแล้ว ในส่วนแผนที่ความคิดก็เช่นกันการเขียนแผนที่ความคิดด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันมีผู้คิดค้นโปรแกรมที่ใช้เขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping Software) ออกมาจำนวนมาก ทำให้การเขียนแผนที่ความคิดง่ายไปกว่าเดิมมาก อีกทั้งผู้เขียนสามารถเขียนและแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้อย่างอิสระในตัวโปรแกรมมีรูปแบบแผนที่ความคิด (Template) ไว้ให้ผู้ใช้เลือกใช้งานมากมาย
หัวเรื่องที่ต้องการสร้างแผนที่ความคิด โดยหัวเรื่องก็ขึ้นอยู่กับระดับของผู้เรียน และระดับการศึกษา
การนำไปใช้
- ใช้ระดมพลังสมอง
- ใช้นำเสนอข้อมูล
- ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
- ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
- ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้
ข้อดีของการทำแผนที่ความคิด
- ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
- ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
- สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
- กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
- สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ