แผนแม่บทชุมชน คือ วิธีคิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ นำไปสู่เป้าหมายร่วมกันของคนในชุมชน บนพื้นฐานความเชื่อว่าคนมีศักยภาพ เมื่อคนมีศักยภาพ รู้จักตนเอง รู้จักทรัพยากรโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทำให้เกิดความรู้ที่หลากหลายร่วมกัน เกิดการร่วมคิดและกำหนดเป้าหมายการทำงานเดียวกัน เช่น เป้าหมายคือการพึ่งตนเอง การเรียนรู้จะทำให้เกิดองค์ความรู้ การให้ชุมชนได้ศึกษาวิจัยจะทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือการรื้อฟื้นความรู้ที่อาจจะหายไปเมื่อ10 ปี 20 ปีคืนมา ในขณะเดียวกันก็สร้างองค์ความรู้แบบบูรณาการ โดยให้ภาคีต่าง ๆ มาทบทวนความรู้และความรู้ใหม่ร่วมกัน จะช่วยให้กำหนดเป้าหมายตรงกันได้ (ฉลาด จันทรสมบัติ. 2547 : 21-31)
สภาพการพัฒนาในปัจจุบัน มีรัฐเป็นผู้ดำเนินการหลัก ทั้งด้านการศึกษา การจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุล แม้แต่ในเรื่องศึกษาทุกวันนี้เกิดคำถามว่า ทำไปแล้วทำไมคนไม่พึ่งตนเอง ถ้าถามว่าทำไมต้องทำแผนแม่บทชุมชน เพราะความเชื่อมั่นต่าง ๆ ได้หายไป ภาครัฐเอาสิ่งต่าง ๆ ลงไปมากมาย แต่สิ่งต่าง ๆ นั่นชุมชนไม่ได้คิดเอง ทำยังไงชุมชนจึงจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเขาเอง แล้วปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทชุมชน จึงเป็นวิธีคิดที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ นำไปสู่เป้าหมายร่วมกันของคนในชุมชน บนพื้นฐานความเชื่อว่าคนมีศักยภาพ เมื่อคนมีศักยภาพ รู้จักตนเอง รู้จักทรัพยากร โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ทำให้เกิดความรู้ที่หลากหลายร่วมกัน เกิดการร่วมคิดและกำหนดเป้าหมายการทำงานเดียวกัน ในขณะเดียวกันก็สร้างองค์ความรู้แบบบูรณาการ โดยให้ภาคีต่าง ๆ มาทบทวนความรู้และความรู้ใหม่ร่วมกัน จะช่วยให้กำหนดเป้าหมายและปฏิบัติงานได้ตรงกัน
การจัดทำแผนแม่บทชุมชนกลุ่มองค์กรชุมชนเป้าหมาย
แนวคิดแผนแม่บทชุมชน
ภายใต้สภาพการพัฒนาในปัจจุบัน ที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการหลัก ทั้งด้านการศึกษา
การจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุล ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สมดุล แม้แต่ในเรื่องศึกษาทุกวันนี้เกิดคำถามว่า ทำไปแล้วทำไมคนไม่พึ่งตนเอง ไม่รู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น ถ้าถามว่าทำไม ต้องทำแผนแม่บทชุมชน เพราะความเชื่อมั่นต่าง ๆ มันหายไปหมดแล้ว ภาครัฐเอาสิ่งต่าง ๆ ลงไปมากมาย แต่สิ่งต่าง ๆ นั่นชุมชนไม่ได้คิดเอง ทำยังไงชุมชนจึงจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของเขาเอง แล้วปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทเรียนในการจัดทำแผนแม่บททำให้ทีมงานและผู้ร่วมวิจัยมีความเชื่อว่า ต้องถึงความเชื่อมั่นกลับคืนมาให้ได้ เชื่อว่าจุดเล็ก ๆ ในสังคมยังไม่ได้แตกทุกจุด ต้องดึงจุดเล็ก ๆ ที่ยังไม่แตกเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น เกิดความมั่นใจในการที่จะทำงานรวมกันระหว่างภาคี ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมด้านชุมชนและกลุ่ม/องค์กรชุมชน เพราะฉะนั้นแผนแม่บทชุมชนในความหมายของทีมงาน สค.อช. จึงมาจากการสรุปประสบการณ์หลากหลายของแต่ละจังหวัดพัฒนานำร่อง เกิดจากการตระหนักถึงความจำเป็นต้องทำ คือต้องการชนะความยากจนในชุมชน และต้องการเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันให้เกิดความรู้ คือ รู้จริงในสิ่งที่ชุมชนสนใจ
เมื่อมีแผนแม่บทชุมชน จะเกิดทุนต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าคน ทรัพยากร ที่สำคัญคือ เครือข่าย ซึ่งหากทำไปสักระยะจะกลายเป็นโรงเรียนของประชาชน ที่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนควรเร่งสร้างขึ้น เพราะการศึกษาตามอัธยาศัยยังไม่มีคนทำที่ชัดเจนนักขั้นตอนการทำจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การเรียนรู้ด้านทฤษฎี ได้แก่ การเรียนรู้จากบทเรียนที่อื่น ๆ และการเรียนรู้จากการกระทำ สรุปว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ชุมชน กลุ่มหรือภาคีต่าง ๆ ได้เรียนรู้ ได้รู้จักตนเองเช่น ข้อมูลรายรับรายจ่าย ของชุมชนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร ข้อมูลโลกเป็นอย่างไร จะทำอย่างไรให้เกิดแรงกระตุ้นหรือความตระหนักรู้ ตื่นตัวและริเริ่มที่จะทำเอง เช่น ทีมงานเคยเสนอให้ชุมชนทำข้อมูลรายรับรายจ่ายเดิมของตนเองถึง 3 ครั้ง แต่ 2 ครั้งแรกไม่สำเร็จ พอครั้งที่ 3 จึงเริ่มจากสมาชิกประมาณ 12 คน มาคุยกันว่าถ้าอยากจะได้ข้อมูลรายรับรายจ่ายที่เป็นจริงกลุ่มจะทำอย่างไร กลุ่มบอกไม่ยาก ให้กลุ่มไปคุยกันแล้วก็ถ่ายเอกสารแบบฟอร์มบนทึกข้อมูลไปไว้ที่ข้างฝาบ้านของสมาชิก สมาชิกจะบันทึกรายการค่าใช้จ่ายทุกวันจากความเป็นจริง จากวันที่ 1 จนถึงวันที่ 31 ให้ และสมาชิกได้เสนอบันทึกข้อมูลให้ 3 เดือน เพื่อจะเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ และมีรายละเอียดมากพอเชื่อถือได้
การวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดแนวทางพัฒนาตนเอง
เมื่อมีข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บโดยตนเองดังกล่าวแล้ว ก็จะนำมาวิเคราะห์ว่าศักยภาพและข้อจำกัดของตนเองเป็นอย่างไร กระบวนการวิเคราะห์จะทำให้คนในชุมชนรู้จักตนเองในเนื่องทุนที่มีอยู่ได้แก่ ภูมิปัญญา และจุดเด่น จุดแข็งของตนเองรู้จักจุดด้อยหรือข้อจำกัดจากนั้นให้เขาเลือกวิธีการในการที่แก้ปัญหาหรือข้อจำกัดรวมทั้งแนวทางพัฒนาส่งเสริมศักยภาพหรือของดีที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งชุมชนก็มีการกำหนดทางเลือกการพัฒนาของเขาเองโดยนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมาวางแผนเป็นแผนแม่บทชุมชน
ตัวอย่างกระบวนการสนับสนุนให้เกิดการจัดการจัดทำแผนแม่บทชุมชนของเครือข่าย เครือข่ายประชาพัฒนา
ขั้นตอนแรกการเตรียมแกนนำ : ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มแกนนำ มุ่งเรื่องการพึ่งตนเอง เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าประสงค์ว่าเราจะพึ่งตนเองอย่างไร
ขั้นตอนที่สองจัดตั้งคณะทำงาน : หลังจากเตรียมแกนแล้ว แกนจะไปเลือกคน ในหมู่บ้านมาประมาณ 5 – 7 คน เพื่อทำความเข้าใจ ขยายแนวคิดในเรื่องการพึ่งตนเองสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยการศึกษาดูงานเครือข่ายแม่ แล้วกลับมาทบทวนความคิดว่ามีประเด็นอะไร ที่น่าสนใจ เรือข่ายแม่เขาคิดและดำเนินการอย่างไร เปรียบเทียบกับตัวเราว่าแตกต่างกันอย่างไร ขั้นตอนนี้ค่อนข้างยาก เพราะทีมงานที่เลือกมามีลักษณะแกต่างกัน บ้างสนใจจริง บ้างมีความสนใจเฉพาะของตนเอง จึงเปรียบเหมือนการคัดคนไปในตัว
ขั้นตอนที่สามจัดทำแผนแม่บทชุมชนและโครงการ : หลังจากสร้างกระบวนการเรียนรู้ก็นำมาร่วมวิเคราะห์ในระดับตำบล เพื่อที่จะให้ได้ประเด็นที่ชุมชนสนใจแล้วจึงสนับสนุนให้แกนนำไปคิดวางแผนร่วมกันว่าจะทำอย่างไร คุยกันว่าจะเขียนโครงการอะไร แล้วให้นำมาเสนอ ช่วงนี้มีการทบทวนแก้ไขการเขียนโครงการถึง 3 ครั้ง กว่าจะได้ชุดโครงการที่จะเป็นการถักทอในชุมชนเป็นเครือข่าย และนำความคิดสู่การปฏิบัติจริงในอนาคตเครือข่ายหวังว่าจะขยายพันธมิตรเพิ่มขึ้นอีกได้ จุดนี้ต้องใช้เวทีชุมชนตามแนวคิดทฤษฎีของมูลนิธิหมู่บ้าน แต่เราไม่ได้ทำตามนั้นทั้งหมด แต่เรานำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับประสบการณ์ที่มีอยู่ เลือกใช้เทคนิคบางตัวที่ง่าย ชาวบ้านสามารถนำไปใช้ได้ ตัวอย่างเช่น
การสืบค้นว่าเวลาชีวิต 1 วันคุณไปทำอะไรมาบ้าง ให้ชาวบ้านไปทบทวนดึงออกมา เขาจะรู้ว่าทำอะไรบ้าง ทำเพื่อตัวเขาเองหรือเพื่อเพื่อน แล้วใช้เทคนิค Mind Mapping และเทคนิคต่าง ๆ อีกมากในการบันทึก และสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายที่เป็นจริง จนเกิดเครือข่ายประชาพัฒนาขึ้นประกอบด้วยแกนนำ 26 คน และสมาชิกจากหมู่บ้านอีก 80 คน เครือข่ายได้นำให้เกิดการพูดคุยกันว่า จะทำอะไรต่อไปตามศักยภาพที่มีอยู่ มีการกำหนดเป้าหมายว่าจะจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ภายในระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินโครงดาร โดยเฉพาะในเรื่องการจัดทำแผนแม่บท พอสิ้นปี 2547 คาดว่าจะเกิดกลไกในลักษณะสภา สำหรับคิด วางแผนอะไรต่าง ๆ ร่วมกัน สภาจะเกิดได้สมาชิกจะต้องรู้จักตนเอง รู้จักทรัพยากร ต้องมีการจัดการทรัพยากรร่วมกัน ต้องรู้ว่าชุมชนมีคนเก่งกี่คน มีภูมิปัญญาอะไร หรือว่ามีกลุ่มองค์กรอะไรที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ต้องรู้ในเรื่องคุณค่าของดิน น้ำ สิ่งต่าง ๆ แล้วคิดต่อว่าจะทำให้ทรัพยากรมีค่ามากขึ้นได้อย่างไร ตามอุดมการณ์ที่เขียนไว้
การพัฒนาประเทศกับปัญหามักมาคู่กันเสมอ เมื่อเกิดปัญหา กระบวนการแก้ปัญหามักมองกันคนละมุม ขาดความเคารพซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะภาครัฐและภาควิชาการมักไม่เคยไว้วางใจในแนวทางการทำงานของภาคประชาชนเลยสักครั้ง แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะระบุ และตอกย้ำเรื่องในเรื่องของการมีส่วนร่วม แต่ในทางปฏิบัติถ้าไม่เหลืออด เหลือทนภาครัฐและภาควิชาการ จะไม่เลือกภาคประชาชนขึ้นไปพูดคุยหรือ สอบถามกันแบบเป็นเรื่องเป็นราวในทำนองเดียวกัน ภาคประชาชนก็ยังขาดกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การมองปัญหา การแก้ปัญหา ยังเป็นลักษณะแก้ผ้าเอาหน้ารอด เมื่อคนในพื้นที่หนึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหา ทุกคนก็เอาอย่างกัน แบบไม่ลืมหูลืมตา ร่องรอยที่พอเหลือให้เห็นคือความล้อเหลว ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ภาครัฐเองก็พยายามให้ประชาชนเป็นไปในแบบที่ตนเองต้องการให้ได้ โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะคิดอย่างไร ไม่เข้าใจในความหลากหลายของพื้นที่ วิถีชีวิต หรือถ้าสอบถามรัฐเองก็มักมีคำตอบอยู่แล้ว เมื่อประชาชนคิดไม่ตรงกับรัฐ ก็มองว่าเขาโง่ คิดไม่เป็น ไม่มีวิสัยทัศน์ไปโน่น แม้ว่าวันนี้คำตอบของงานพัฒนาชุมชนบานล่าง จะอยู่ที่การใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา โดยยกพื้นที่ ที่ประสบความสำเร็จมาบอกเล่าต่อสังคม เช่นที่บ้านไม้เรียง แต่ถ้ามองลึกลงไปจะพบว่า บ้านไม้เรียงได้พัฒนากระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน โดยคนในพื้นที่ ลุกขึ้นมาจัดการของตัวเอง โดยเริ่มที่เรื่องยางพารามีราคาตกต่ำ การถูกเอารัดเอาเปรียบจากคนกลาง และพัฒนามาเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาด้วยตัวของชุมชนเอง แต่ถ้ารัฐยังมองการแก้ปัญหาแบบสูตรสำเร็จ และบอกว่าต้องนี้ถึงจะใช่ โดยไม่ใช้มิติของความแตกต่าง ความหลากหลาย การเคารพความคิดเห็นของคนในพื้นที่ การแก้ปัญหาสังคม ความยากจนที่รัฐบาลทุกรัฐบาลอยากเห็น คงเป็นเรื่องที่อยู่ไกลเกินเอื้อมถึง การใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ต้องเริ่มที่ ภาครัฐต้องยอมรับความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนเสียก่อน แล้วไปหนุนเสริมการจัดกระบวนการ ที่เป็นไปเพื่อเอื้อให้พี่น้องประชาชน ลุกขึ้นมาจัดการตัวเองให้ได้
ถ้ามองขบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนให้มีชีวิต ของเครือข่ายแผนแม่บทชุมชน ๔ ภาค มีการถอดบทเรียนการจัดทำแผนอยู่ประมาณ ๑๐ ขั้นตอน
๑. ค้นหาแกนนำและองค์กรท้องถิ่น
๒. จุดประกายความคิด
๓. ศึกษาประวัติชุมชน
๔. สำรวจ รวบรวมข้อมูล
๕. วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
๖.ยกร่างแผนแม่บทชุมชน
๗. ประชาพิจารณ์แผนแม่บทชุมชน
๘. นำแผนไปสู่การปฏิบัติ
๙. ทบทวนปรับปรุง
๑๐. ประเมินผล สรุปบทเรียนการทำงาน
เวทีเล็ก เวทีใหญ่ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ความคิดเห็นที่หลากหลาย มีคุณค่าต่อการทำงาน การเคารพความคิดเห็นของกันและกัน มีความสำคัญมาก การให้กำลังใจในการทำงาน การรอคอยผลของงานอย่างอดทน การเรียนรู้ร่วมกัน มีส่วนสำคัญที่จะทำให้แผนแม่บทชุมชนมีชีวยิต ประสบความสำเร็จได้ เมื่อแผนนำไปสู่การปฏิบัติการจริง ปัญหาจะได้รับการแก้ไข ความอยู่เย็นเป็นสุข จะกลัมคืนสู่ชุมชนและสังคมไทยอย่างแน่นอน ถ้าถามว่าเมื่อไรเล่า คำตอบอยู่ที่ว่าวันนี้คุณพร้อมที่จะลุกขึ้นมาจัดการตัวเองหรือยังต่างหาก
( ชาติชาย เหลืองเจริญ : บ้านจำรุง )