แมลงกระชอน

10 กรกฏาคม 2559 สัตว์ 0

แมลงกระชอน เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่คนนิยมทำไปทำเป็นเหยื่อสำหรับล่อปลา โดยขุดจากดินที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมงกระชอนหรือใช้วิธีล่อแมลงกระชอน โดยการนำเอาหลอดไฟนีออนที่มีสีม่วงไปติดตั้งไว้ในที่โล่งแจ้ง ส่วนมากจะนำแกลบมากองไว้บริเวณใต้ดวงไฟนีออน กลางคืนแมลงกระชอนก็จะมาเล่นไฟและตกลงไปในกองแกลบ ถึงเวลากลางวันชาวบ้านก็จะมาคุ้ยที่กองแกลบและจับแมลงกระชอนไปเป็นเหยื่อล่อปลา และนำไปประกอบอาหารก็ได้

ลักษณะทั่วไป
แมลงกระชอน เป็นแมลงที่มีปีกอ่อน ลำตัวยาวสีน้ำตาลมีขา ๖ ขา และขาคู่หลังจะใหญ่และมีความแข็งแรง มีปากเป็นเขี้ยว ขาคู่หน้า ใหญ่แบนคล้ายพลั่ว มีซี่แข็งที่ปลายเพื่อใช้สำหรับขุดดินทำรูอาศัย ปีก สีน้ำตาลยาวกว่าลำตัว ผิว เป็นกำมะหยี่ ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน แต่เสียงไม่ค่อยกังวาน เท่าที่ควร โตเต็มที่วัดขนาดของลำตัวยาวประมาณ 25-35 มิลลิเมตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gryllotalpa orientalis
อันดับ ORTHOPTERA
วงศ์ Gryllotalpidae
ชื่อสามัญ Mole Crickets
ชื่อพื้นบ้าน แมงซอน แมงจิซอน แมงกระซอน (นักธรณีวิทยาแห่งชายบึง)

แมลงจิซอน มีลำตัวกลมลักษณะคล้ายจิ้งหรีด แต่มีปีกสั้นมาก ขนาดความยาวลำตัวประมาณ3 – 4 เชนติเมตร หนวดสั้น ขาหน้ากว้างมีลักษณะคล้ายอุ้งมือของตัวตุ่น มีเล็บแข็งใช้ในการขุดดิน ชอบอาศัยตามที่ชื้นขุดรูอยู่ใต้ดินกินรากพืชและพืชต่างๆ เป็นอาหารแมลงชอนมีขาคู่หน้าดัดแปลงไปเป็นขาขุด เพื่อใช้ประโยชน์ในการขุดดินและมุดตัวอยู่ในดินตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียแตกต่างกัน จากการดูอวัยวะเพศที่ปลายท้องได้ ทั้งสองเพศมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันมาก ตัวผู้ท้องยาวเรียว แต่ที่แตกต่างคือเพศผู้สามารถทำเสียงได้เช่นเดียวกับจิ้งหรีดและตั๊กแตนแต่เสียงค่อยกว่ามาก โดยเพศผู้มีอวัยวะในการทำเสียงอยู่ที่ปีกคู่หน้า เป็นตุ่มทำเสียงที่เรียกว่าไฟล์ และสะแครปเปอร์ และมีพื้นที่เล็กๆ บนแผ่นปีกที่ใช้ในการทำเสียงซึ่งเพศเมียไม่มีตัวเมีย ท้องป้อมๆ ลำตัวสั้นกว่าตัวผู้เล็กน้อย

mangklachon

ลักษณะลำตัวของแมลงกระชอนมีสีน้ำตาล ส่วนหัวมีสีดำกว่าส่วนอื่นๆ หนวดสั้นเป็นแบบเส้นด้าย ปากเป็นแบบปากกัด แผ่นสันหลังอกแรกมีลักษณะเป็นแผ่นกลมแข็ง ร่างกายมีขนปกคลุม ขาหน้าค่อนข้างแข็งแรง ลักษณะแผ่กว้างและมีหนามแหลม เหมาะสำหรับการขุดดิน ปีกมีสีน้ำตาลยาวกว่าความยาวของลำตัว ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะวางไข่จากภายนอก แมลงกระชอนตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ปีกคู่หน้าสีกัน แต่เสียงไม่ค่อยกังวานเท่าที่ควร แมลงชนิดนี้ไม่กระโดด มีการออกหากินในเวลากลางคืน ขนาดของลำตัวยาวประมาณ 25-35 มม.

ลักษณะนิสัย
แมลงชนิดนี้จะไม่กระโดด ชอบอยู่เป็นฝูง หากมองเผินๆพวกมันจะคล้ายจิ้งหรีด โดยส่วน หัว มีสีดำกว่าส่วนอื่นๆ หนวด สั้นเป็นแบบเส้นด้าย ปาก ลักษณะเป็นแบบกัด แผ่นสันหลังอก แรกมีลักษณะเป็นแผ่นกลมแข็ง ร่างกาย มีขนปกคลุม

วงจรชีวิต
แมลงกระชอน วางไข่เป็นแท่งไข่แข็งซึ่งมี 30-50 ฟองอยู่ในดิน ไข่ใช้เวลาฟักตัว25-40 วัน ตัวอ่อนที่ฟักใหม่ๆมีสีขาว ส่วนอกและขาสีฟ้าอ่อน ตัวอ่อนเมื่อเติบโตขึ้นเปลี่ยนเป็นสีเทาถึงดำ มีแต้มสีขาว ตัวอ่อนวัยสุดท้ายลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยแต่มีปีกสั้นกว่าระยะตัวอ่อนนาน 3-4 เดือน ผสมพันธุ์และวางไข่ช่วงต้นฤดูฝน ช่วงฝนตกใหม่ๆ คือช่วงที่กระจายพันธุ์ โดยจะออกท่องเที่ยว บินหาแหล่งน้ำในตอนกลางคืน

mangklachonjab

แมงจิซอน ในโลกจำแนก เป็น 2 ชนิด ใหญ่ๆ คือ ชนิดที่พบทางซีกโลกตะวันออกและ ชนิดที่พบในแอฟริกาในประเทศไทยมีแมลงชนิดนี้ สายพันพันธุ์ตะวันออกชนิดเดียวเท่านั้น ส่วนแมลงกระจิซอนที่พบในแอฟริกามีหนาม 3-4 อัน (มักมี 4 อันดูจากตัวอย่างแมลงกระชอนจากอียิปต์ 2 ตัว) เขตแพร่กระจายพบในเอเชียและฮาวาย พืชที่พบแมลงกระชอนทำความเสียหาย เช่นข้าวไร่ อ้อย ยาสูบ หอม ทานตะวัน ผักกะหล่ำ ชา และมันเทศ เป็นต้น

ส่วนแมงจิซอนสายพันธุ์ไทย ไม่ปรากฏว่า ทำลายพืชไร่ ของเกษตรกรแต่อย่างใด เนื่องจากมันไม่กินพืชไร่

แหล่งที่พบ
อาศัยอยู่ตามพื้นดินที่เปียกมันจะชอบขุดรูอาศัยอยู่ในดินที่แฉะมากๆ ตามบริเวณรอบแหล่งน้ำ เช่น โคลน ตม หรือบางครั้งอาจพบขุดดินอาศัยอยู่ใต้แหล่งน้ำตื้น รูที่อาศัยจะลึกลงดินประมาณ 15-20 เซนติเมตร ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะทางเข้าออก ส่วนบริเวณระหว่างกลางจะทำเป็นห้องขนาดโตเท่าไข่ ไก่ จากนั้นมันจะอาศัยอยู่ในบ้านใต้ดินตลอดเวลา

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
แมลงกระชอนไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่ก็มีประโยชน์ทางนิเวศวิทยา

mangklachontod mangklachontodkin

ที่มา
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น