ศัตรูพืชนับว่าเป็นปัญหาทางการกสิกรรมเป็นอย่างมาก มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของพืชจะต้องสูญเสียและถูกทำลายโดยแมลงศัตรูพืช ด้วยเหตุนี้เราควรศึกษาและทำความเข้าใจในวงจรชีวิตของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้ให้ดีเพื่อหาทางป้องกันและกำจัด เพื่อลดความสูญเสียต่อผลผลิตที่อาจเกิดขึ้น
แมลงศัตรูพืช จะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการเข้าทำลายพืช คือ
วิธีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชแบ่งออกได้ 5 วิธีคือ
* สำหรับการควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืชให้ได้ผลดีนั้น ควรใช้วิธีแบบผสมผสานกันทั้ง 5 วิธีที่กล่าวมาข้างต้น
ตัวอย่างแมลงศัตรูพืชที่พบมาก
1. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
จำพวกปากดูด อยู่ในอันดับ Homoptera วงค์ Delphacidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal) ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation)
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจาก เซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก อาการไหม้ ( hopperburn ) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ( generation ) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมี ความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น
2. ด้วงหมัดผัก (Flea Beetle)
ด้วงหมัดผักเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก มีวงจรชีวิตจะเริ่มจากตัวเมียวางไข่ในดิน ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ใต้ดินกัดกินรากพืช และส่วนของลำต้น เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นจากดินไปกัดกินใบและยอดอ่อนของผักทำให้ใบพืชเป็นรูพรุน รวมวงจรชีวิตประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ พืชที่ด้วงหมัดผักเข้าทำลายมากที่สุดคือพืชในกลุ่ม คะน้า, กวางตุ้ง, กะหล่ำ ฯลฯ
3. เพลี้ยอ่อน (Aphids)
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ผนังลำตัวอ่อนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดที่มีปีกและไม่มีปีก เจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 4 – 5 ครั้ง ขนาดตัวโตเต็มวัยประมาณ 1 มิลลิเมตร สีลำตัวสีเขียวอ่อนไปจนถึงสีดำเข้ม ที่ปลายทางจะมีท่อเล็กๆ ยื่นออกมา 2 ท่อ เพลี้ยอ่อน 1 ตัวสามารถออกลูกได้ประมาณ 20 – 30 ตัว มีระยะตัวอ่อนประมาณ 5 – 6 วัน และมีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 วัน เพลี้ยอ่อนสามารถเข้าทำลายพืชได้เกือบทุกชนิดโดยส่วนมากจะอาศัยอยู่ด้านใต้ใบพืช หรือส่วนยอดอ่อน เพลี้ยอ่อนจะมีศัตรูตามธรรมดชาติคือ แมลงช้างปีกใส, ด้วงเต่าทอง สำหรับฤดูที่พบการระบาดมากที่สุดคือในช่วงฤดูแล้ง ให้ใช้สารสกัดจากสะเดา หรือยาสูบฉีดพ่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
อาการที่เกิดจากการทำลาย
ส่วนใหญ่ชอบลำต้นพืช ใบพืช และดอกไม้ที่ยังอ่อนๆ มีปากลักษณะเจาะดูด หลังจากพืชถูกทำลายจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาและอาจถึงตาย มูลของแมลงชนิดนี้มีน้ำหวานทำให้พืชผักปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค
วิธีป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน
ควรป้องกันไม่ให้แมลงชนิดนี้เข้ามาในแปลงปลูก โดยวิธีการใช้พลาสติกสีเงินคลุมแปลงเพาะปลูก ควรมีการปลูกข้าวโพดสลับกับพืชชนิดอื่น เนื่องจากข้าวโพดไม่ใช่พืชอาศัยของแมลงชนิดนี้
4. เพลี้ยแป้ง (Mealy Bug)
เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงจำพวกปากดูด ที่มีลำตัวเป็นข้อปล้อง รูปร่างกลมรี มี 6 ขา ไม่มีปีก ลำตัวมีผงแป้งปกคลุม ขยายพันธุ์ได้ 2 แบบคือ แบบอาศัยเพสและไม่อาศัยเพศ ตัวเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้ประมาณ 600 – 800 ฟอง และจะฟักออกมาเป็นตัวประมาณ 10 วัน เพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้พืชหยุดชะงักการเจริญเติบโตและเป็นสาเหตุให้เกิดโรคราดำในพืชอีกด้วย ส่วนมากบริเวณที่มีเพลี้ยแป้งระบาดมากมักจะมีมดอาศัยอยู่เนื่องจากมดจะคาบเพลี้ยแป้งไปปล่อยบนต้นพืชเพื่อให้เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชแล้วถ่ายมูลเป็นน้ำหวานออกมาเพื่อมดจะได้กินน้ำหวานนั้น ดังนั้นควรกำจัดมดในบริเวณนั้นก่อน แล้วจึงกำจัดเพลี้ยแป้ง วิธีกำจัดทำโดยใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำเปล่า 2 – 3 ลิตรแล้วเติมน้ำยาล้างจานเล็กน้อยฉีดพ่นไปที่เพลี้ยแป้ง
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ใบ ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ มีมดเป็นพาหะ ช่วยพาไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลายจะแคระแกรนและเกิดราสีดำ โดยเฉพาะผลที่มีเพลี้ยแป้งทำลายอยู่มักจะเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค แม้ว่าจะไม่ทำให้เนื้อทุเรียนเสียหายก็ตาม
การป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง
5. เพลี้ยไฟ (Thrips)
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีปีกขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาล ลำตัวคาดขวางด้วยลายสีดำ มีขนาดประมาณ 1 x 3 มิลิเมตร วางไข่ครั้งละ 30 – 50 ฟอง ไข่จะมีสีขาวปนเหลือง ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 5 – 9 วัน ตัวอ่อนจะมีสีน้ำตาลปนเหลือง เมื่อเข้าดักแด้จะทิ้งตัวลงสู่พื้นและฟักเป็นตัวเต็มวัยภายใน 5 – 7 วัน สำหรับฤดูที่พบการระบาดมากที่สุดคือในช่วงฤดูแล้ง ให้ฉีดพ่นสารสกัดจากสะเดา, ยาสูบ หรือสารชีวภัณฑ์ต่างๆ เช่น เชื้อราบิวเวอร์เรีย, เชื้อแบคทีเรีย บี.ที. ฉีดพ่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
ลักษณะการทำลายและการระบาด
เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง
6. หนอนชอนใบ (Leaf Miner)
หนอนชอนใบเป็นตัวอ่อนของแมลงวันขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยตัวเมียจะวางไข่ลงบนเนื้อเยื่อบางๆ ของใบพืช ต่อมาเมื่อไข่ฟักตัวประมาณ 2 – 4 วัน จะเป็นหนอนขนาดเล็ก ลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน มองเห็นปล้องลำตัวไม่ชัดเจน ไม่มีขา เคลื่อนไหวโดยการดีดตัว และชอนไชกินเนื้อเยื้อภายในผิวใบ ระยะหนอนจะใช้เวลาประมาณ 7 – 10 วันจึงเข้าดักแด้ และใช้เวลาประมาณ 5 – 7 วัน จึงออกมาเป็นตัวเต็มวัย เป็นแมลงวันสีดำหรือมีสีเหลืองอ่อน ตลอดวงจรชีวิตมีอายุเฉลี่ย 3 – 4 สัปดาห์
หนอนชอนใบเป็นศัตรูพืชที่สามารถเข้าทำลายพืชได้เกือบทุกชนิด แต่พืชที่พบการระบาดมากสุดคือพืชในกลุ่มกะหล่ำ, มะเขือเทศ, พริก, พืชตระกูลถั่ว, ดอกดาวเรือง ฯลฯ วิธีกำจัดและลดการระบาดของหนอนชอนใบควรใช้วิธีผสมผสานคือ ทำลายเศษใบไม้ที่ล่วงหล่นจากการทำลายของหนอนเนื่องจากมักพบดักแด้ของหนอนติดอยู่ด้วย รวมถึงการฉีดพ่นสารสกัดจากสะเดา, ยาสูบ หรือสารชีวภัณฑ์ต่างๆ เช่น เชื้อราบิวเวอร์เรีย, เชื้อแบคทีเรีย บี.ที. ฉีดพ่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
7.หนอนกระทู้ผัก (Common cutworm)
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ลำตัวยาว 1.5 ซม. วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ตัวหนึ่ง วางไข่ได้ 200 340 ฟอง ระยะไข่ 3 7 วัน ระยะหนอน 14 21 วัน หนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ 3.5 -4.0 ซม. ดักแด้ 7 12 วัน
ลักษณะการทำลาย
หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แทะกินผิวใบพืชด้านล่าง เหลือไว้แต่ผิวใบด้านบน เมื่อผิวใบแห้งจะเกิดเป็นสีขาวๆ สังเกตได้ง่ายมากเมื่อหนอนอยู่ในวัยที่ 2-3 แล้วจะแยกกลุ่มกันออกมากัดกินใบพืช
8. แมลงหวี่ขาว (White Fly)
แมลงหวี่ขาว เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใต้ใบ ระบาดมากในเขตภาคเหนือและภาคกลาง โดยเฉพาะพืชที่ที่มีการปลูกถั่วเหลือง ตัวเต็มวัยจะเข้าดูดน้ำเลี้ยงจากพืชบริเวณใต้ใบ ทำให้พืชมีใบหงิกงอ ทำให้ต้นพืชแคระแกรน และยังถ่ายของเหลวออกมาซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคราดำในพืช เช่นเดียวกับเพลี้ยอ่อน
ลักษณะของตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีปีก 2 คู่เคลือบด้วยผงแป้งสีขาว ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 50 – 150 ฟอง ระยะไข่ฟักเป็นตัวอ่อน 4 – 8 วัน โดยตัวอ่อนจะมีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ แบน ขอบด้านข้างลาดลง สีเขียวอ่อน ตัวอ่อนจะลอกคราบประมาณ 3 ครั้ง ระยะตัวอ่อนนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน จึงเริ่มเข้าดักแด้ มีขนาดประมาณ 0.7 มิลลิเมตร มีสีเหลือง ประมาณ 1 – 2 วันจึงออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัย ศัตรูตามธรรมชาติคือแตนเบียนจะเข้าทำลายแมลงหวี่ขาวในระยะตัวอ่อนถึงดักแด้ วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขาวจากไข่ถึงตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ในช่วงอากาศอบอุ่น ถ้าเป็นฤดูหนาวอาจนานประมาณ 2 เดือน
แมลงหวี่ขาวสามารถเข้าทำลายพืชได้ทั่วไปเช่น มะเขือเทศ, ฝ้าย, ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วลิสง และวัชพืช ระบาดมากในช่วงฤดูร้อน
ป้ายคำ : ศัตรูพืช