แว่นแก้วนิยมนำมารับประทานเป็นผัก สามารถปลูกเป็นพืชคลุมดินได้ โดยธรรมชาติแว่นแก้วจะชอบสภาพน้ำค่อนข้างกระด้าง ซึ่งจะเจริญเติบโตและแตกไหลแตกต้นอ่อนอย่างรวดเร็ว ถ้าแสงน้อยจะแทงยอดและแผ่กระจายไปตามผิวน้ำ สามารถอยู่ได้ทั้งใต้น้ำและลอยบนผิวน้ำ
ชื่อวิยาศาสตร์ Hydrocotyle umbellate L.
ชื่อวงศ์ APIACEAE (UMBELLIFERAE)
ชื่ออื่นๆ : บัวแก้ว ผักหนอกใหญ่ หรือผักหนอกเทศ บัวบก
แว่นแก้วเป็นไม้น้ำมีอายุหลายฤดู ลำต้นเป็นไหลทอดยาวตามพื้นดิน มีข้อปล้อง มีรากและใบงอกตามข้อทุกส่วน มีกลิ่นหอม ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมน้ำ พบมากในภาคเหนือ และภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
แว่นแก้วเป็นพรรณไม้น้ำในวงศ์ Apiaceae เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงคู่ขนาดเล็ก มีกิ่งยืดยาวเลื้อยไปตามพื้นหรือผิวน้ำ ใบค่อนข้างกลม ขอบใบหยักโค้ง โดยธรรมชาติ แว่นแก้วพันธุ์นี้จะชอบสภาพน้ำค่อนข้างกระด้าง ซึ่งจะเจริญเติบโตและแตกไหลแตกต้นอ่อนอย่างรวดเร็ว ถ้าแสงน้อยจะแทงยอด และแผ่กระจายไปตามผิวน้ำ สามารถอยู่ได้ทั้งใต้น้ำและลอยบนผิวน้ำ
มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ต้นแว่นแก้ว (ผักหนอกใหญ่ หรือผักหนอกเทศ) ใช้กินเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มกินกับลาบ ป่น จิ้มปลาร้าหลนก็ได้ หรือคั้นน้ำดื่ม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ช้ำในด้วย แก้บวม แก้พิษไข้ ท้องอืด ท้องเสีย และใช้เป็นไม้ประดับในอ่างปลาครับ ขึ้นง่ายทั้งในน้ำและดิน ขอเพียงให้ดินชุ่มน้ำหน่อย หรือบริเวณทางระบายน้ำใช้จากครัวเรือน แพร่พันธุ์ง่ายครับ ปลูกในน้ำจะเป็นพุ่มกลมๆสวยดี อยู่บนดินชุ่มน้ำใบจะใหญ่กว่า
ประโยชน์
Hydrocotyle umbellata L.หรือที่เรียกกันว่า แว่นแก้ว สิ่งที่มีเสน่ห์ของพืชชนิดนี้คือ ใบที่มีลักษณะกลม และมีสีเขียวเป็นมันวาว จึงถูกนำเข้ามาเพื่อเป็น ไม้ประดับตู้ปลาตั้งแต่เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน นับจากนั้นเป็นต้นมาพืชชนิดนี้ก็ี้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในบ้านเรา เนื่องจากมีการสืบพันธุ์ที่ง่ายโดยลำต้นจะแตกหน่อใหม่และสามารถเจริญได้จาก หน่อที่มีมากมายเหล่านี้ ปัจจุบันได้้มีการศึกษาถึงการเติบโต และการแก่งแย่งแข่งขันของแว่นแก้วเปรียบเทียบกับ Centella asiaitca ที่เป็นพืชพื้นเมือง ซึ่งแว่นแก้วสามารถโตได้ดีไม่เพียงในสภาวะที่อยู่ในน้ำเท่านั้น แต่รวมถึงในสภาวะแห้งแล้งอีกด้วย พืชชนิดนี้สร้างหน่อใหม่จากต้นและใบอ่อน ถ้าส่วนของลำต้นถูกตัดออกจากต้นเดิมส่วนที่ถูกตัดออกก็จะผลิตราก และสามารถอยู่รอดได้้ในน้ำ โดยแตกกิ่งใหม่ออกมาจากตาระหว่างลำต้นและก้านใบ ผลจากการศึกษาการเติบโตของแว่นแก้ว จากต้นที่มีเพียงหนึ่งใบ สามารถเจริญเติบโตได้ถึง 174 ใบ ภายใน 141 วัน และพืชชนิดนี้สามารถเติบโตได้ดีกว่า C. asiaitca และพืชในวงค์เดียวกัน และในพื้นที่ที่มีความชื้น และสารอาหารแตกต่างกัน (สูงและต่ำ) แว่นแก้วก็สามารถเติบโตได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น ในสภาวะแห้งแล้งสามารถผลิตเมล็ด ได้แต่ไม่พบการเจริญเติบโตจากเมล็ด (ในการทดลอง)
พืชชนิดนี้สามารถยับย้ังการเจิรญเติบโตของ Mimosa pigra, Echinocloa crus-galli, Pennisetum pedicellatum และ Trianthema portulacastrum (Pakjarurn, 2002) และอีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวยืนยันการรุกราน จากการประเมินเบื้องต้นในหลายพื้นที่ พบพืชชนิดนี้พบตามบึง บ่อ และคูน้ำข้างทางในหลายจังหวัด พืชชนิดนี้พบในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงอีกด้วย แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแก่งแย่งได้ดีเหนือพืชพื้นเมืองอื่นๆ และดูเหมือนว่าประเทศไทยจะไม่มีศัตรูตามธรรมชาติที่ส่งผลต่อแว่นแก้ว จากปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้แว่นแก้วมีแนวโน้มที่จะเป็นวัชพืชในอนาคตอันใกล้ นี้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม : ป่าเบญจพรรณ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นในที่ชื้นแฉะและริมน้ำ พบมากในภาคเหนือ และภาคกลาง
การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด และแยกต้นอ่อนตัดแยกไหลที่เกิดต้นอ่อนไปเพาะชำแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ
ดูแลรักษา
ชอบแสงแดดจัด ถ้าปลูกในร่มก้านใบจะหยักมีดอกเล็กๆ แว่นแก้วนิยมปลูกบริเวณที่มีน้ำตื้นหรือริมน้ำคลุมปากบ่อ หรือจะเลี้ยงในอ่างหรือกระถางก็ได้ หากเลี้ยงในกระถางต้องหมั่นดูแลปริมาณน้ำ ไม่ให้แห้งไป
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน