แสยกเป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1-3 ม. ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านเป็นสีเขียวมัน อวบน้ำ มียางสีขาวข้น ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยวรูปรีแกมไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจัก ก้านใบยาว เนื้อใบแข็ง อวบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันทั้ง 2 ด้าน ดอกช่อสีแดง เกิดที่ปลายกิ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pedilanthus tithymaloides (L.) Poit.
ชื่อสามัญ: Redbird Cactus, Slipper-Flower, Jew-Bush
วงศ์: EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น : แสยกสามสี (ภาคกลาง) ว่านสลี (แม่ฮ่องสอน) ย่าง มหาประสาน นางกวัก เคียะไก่ไห้ (ภาคเหนือ) กะแหยก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ผลัดใบ แตกกิ่งก้านเป็นกอแน่น สูง 1-3 ม. ลำต้นอวบน้ำ หักงอไปมา รูปซิกแซก สีเขียว ผิวเรียบ มียางสีขาวข้น
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ใช้น้ำยางจากต้นกัดหูด โดยการนำน้ำยางสีขาวไปทาโดยตรงบนหัวหูด ทาบ่อยๆ หูดจะค่อยๆ หายไปได้เอง
ในสมัยก่อน ชาวบ้านตามชนบทนิยมเอาต้นแสยกแบบสดทั้งต้นกะจำนวนตามต้องการ ทุบพอแตกไปแช่น้ำตามหนองบึง หรือบ่อที่มีปลาอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้าบ่อหรือหนองไม่กว้างนัก ปลาที่อยู่ในน้ำจะเกิดอาการเมาหรือตาย สามารถจับหรือช้อนขึ้นมาได้อย่างสบาย มีฤทธิ์เหมือนกับต้นหาง-ไหล หรือต้นโล่ติ้นของชาวจีน ยางของแสยกมีพิษแรงมาก ขนาดนำเอาทั้งต้นทุบพอแตก ใส่ลงในวังน้ำหรือลำธารที่มีจระเข้ อาศัยอยู่ มันจะหนีไปที่อื่นจนหมด เหลือ เชื่อมาก แพทย์ตามชนบทนิยมเอาใบและยอดของแสยกโขลกละเอียดพอกแผลสด เป็นยาประสานเนื้อดียิ่งนัก มีชื่อเรียก ในประเทศไทยอีกคือ มหาประสาน
การใช้งานและอื่นๆ ระยะปลูก 15-30 เซนติเมตร หรือ 16 ต้น/ตารางเมตร ปลูกหน้ารั้วหรือเรียงเป็นแถวเพื่อกำหนดขอบเขตในสวน
ป้ายคำ : ไม้ประดับ